Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45308
Title: การพัฒนาคู่มือเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ขาดแรงจูงใจ : การวิจัยแบบผสมวิธี
Other Titles: Development of a handbook to motivate unmotivated secondary school students : mixed methods research
Authors: สุกิจ ทวีศักดิ์
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th
Subjects: การจูงใจ (จิตวิทยา)
นักเรียนมัธยมศึกษา
วิจัยแบบผสมผสาน
Motivation (Psychology)
High school students
Mixed methods research
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจของนักเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตามภูมิหลังและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดแรงจูงใจของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ใน การเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ขาดแรงจูงใจ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ขาดแรงจูงใจ โดยใช้ข้อมูลจากประสบการณ์ของครูที่มีการปฏิบัติดี และประเมินความเหมาะสมคุณภาพคู่มือเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ขาดแรงจูงใจ ตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 348 คน และครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทาง และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.นักเรียนมัธยมศึกษามีแรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยเพศกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน กล่าวคือ นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ามีระดับแรงจูงใจสูงกว่านักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่า ในเฉพาะกลุ่มนักเรียนหญิง และนักเรียนชายมีระดับแรงจูงใจสูงกว่านักเรียนหญิงในเฉพาะบางระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดแรงจูงใจของนักเรียน คือ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน และปัจจัยภายใน 2.กลยุทธ์ในการเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับนักเรียนที่ขาดแรงจูงใจ สามารถจำแนกกลยุทธ์ได้ 13 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การให้รางวัลที่เป็นรูปธรรม กลยุทธ์การให้รางวัลนามธรรม กลยุทธ์ภาวะผู้นำ กลยุทธ์ การฝึกฝนและการลงโทษ กลยุทธ์การสร้างความเชื่อมั่น กลยุทธ์การตั้งระดับความคาดหวัง กลยุทธ์การสื่อสาร กลยุทธ์การจัดการในชั้นเรียน กลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การแข่งขันและความร่วมมือ กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ กลยุทธ์การค้นหาความรู้ด้วยตนเอง และกลยุทธ์ในการร่วมมือกับผู้ปกครอง 3.ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือ พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบครบถ้วน สามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ขาดแรงจูงใจได้
Other Abstract: The purposes of this research were : (1) to study and compare between the levels of motivations of secondary school students by sorting the students by educational backgrounds and to examine the factors of lacking motivation, (2) to develop strategies of motivation for unmotivated students, and (3) to print a handbook of reinforcing motivation for unmotivated students by providing teachers’ experiences in dealing with unmotivated students and to evaluate the quality of the handbook. The sample of this study consisted of 348 secondary school students from OBEC schools in Bangkok and 18 teachers from OBEC schools. The research data were collected by using survey questionnaires, interview questionnaires, opinion questionnaires and suitability assessment questionnaires of a handbook. The research data were then analyzed by using descriptive statistics, Three-way ANOVA, and content analysis. The research findings were as the followings: 1)The secondary school students had the medium level of motivation. The study found that gender interacted with the level of academic achievement. That is the students who got higher academic achievement had higher level of motivation than the students, especially, the female students, who got lower academic achievement. The study further revealed that at some the level of academic achievement, the male students had higher level of motivation than the female students did. The factors of unmotivated students were sociocultural factor, classroom environmental factor, and internal factor. 2)The strategies of motivation for unmotivated students could be divided into 13 strategies ; tangible reward strategy, intangible strategy, leadership strategy, discipline strategy, confidence strategy, level of expectation strategy, communication strategy, class management strategy, instructional strategy, competition and cooperation strategy, building relationship strategy, learning by yourself strategy, and cooperation with parents strategy. 3)The results of evaluating the handbook of reinforcing motivation for unmotivated students was revealed that the handbook was qualified and could be applied to unmotivated secondary school students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45308
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1333
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1333
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukit_th.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.