Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45363
Title: | การพัฒนาต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF THE PROTOTYPE AND STRATEGIES OF SPORT UNIVERSITY IN THAILAND |
Authors: | รัฐพันธ์ กาญจนรังสรรค์ |
Advisors: | อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Arunee.ho@chula.ac.th Pansak.P@Chula.ac.th |
Subjects: | พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) พลศึกษา -- ไทย Physical education and training -- Study and teaching (Higher) Physical education and training -- Thailand |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัจจุบัน ทิศทางและแนวโน้มการจัดการศึกษาด้านกีฬาของประเทศไทยและต่างประเทศ 2)ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย 3)พัฒนาต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานด้านกีฬาและอุดมศึกษา และคณาจารย์ทางด้านการกีฬาจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ตรวจสอบและรับรองต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย โดยใช้วิธีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 1ศึกษาสภาพปัจจุบัน ทิศทางแนวโน้มการจัดการศึกษาด้านกีฬาในประเทศไทยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย โดยใช้หลักการ TELOSH สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงด้านการกีฬาและการอุดมศึกษา และสอบถามความคิดเห็นจากอาจารย์ที่สอนทางด้านการกีฬาในสถาบันอุดมศึกษา ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และ 2 มาร่างต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย วิเคราะห์ SWOT และ TOWS Matrix เพื่อให้ได้กลยุทธ์และกลไกของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย และจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบต้นแบบ กลยุทธ์และกลไก ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัยกีฬา : บางแห่งพัฒนามาจากวิทยาลัยพลศึกษา บางแห่งเป็นมหาวิทยาลัยจัดตั้งใหม่ ในประเทศไทยส่วนใหญ่จัดตั้งเป็นระดับคณะในมหาวิทยาลัย มีพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เปิดสอนระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา มีหลักสูตรเฉพาะด้านกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา คณาจารย์ส่วนใหญ่มีวุฒิป.ตรี และป.โท ปัจจัยด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีสนับสนุนด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ นักศึกษาที่เข้าศึกษา อย่างน้อยเป็นผู้ที่เล่นกีฬาเป็น หรือ เป็นนักกีฬา มีแนวโน้มการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทยในช่วงเวลาไม่เกิน 5 ปีนับจากปีปัจจุบัน 2. ความเป็นไปได้ : มีความเป็นไปได้อย่างมากในการจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทยที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอยู่นอกเมือง มีอาคารสถานที่และภูมิสถาปัตย์ตามแบบมหาวิทยาลัยกีฬา มีเป้าหมายเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง ผลิตนักกีฬาและบุคลากรกีฬาที่มีคุณภาพ เป็นหนทางให้การกีฬาของประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นเลิศได้ในระดับนานาชาติ ประสบผลสำเร็จในการแข่งขันในระดับโลกหรือโอลิมปิก สนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานโดยเฉพาะด้านการกีฬา สุขภาพ รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพ 3. ต้นแบบมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย โครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัย หลักสูตรและการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารจัดการทางการเงิน นักศึกษาและบัณฑิต ทรัพยากรบุคคล และภูมิสถาปัตย์ กลยุทธ์มหาวิทยาลัยกีฬา ประกอบด้วย 1.พัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและการกีฬาของนักกีฬาและบุคลากรวิชาชีพสู่ความเป็นมืออาชีพ 2.พัฒนาสมรรถนะหลักของนักกีฬาและบุคลากรวิชาชีพบนพื้นฐานของคุณธรรม 3.เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการกีฬาในอาเซียน 4.สร้างกลไกการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการกีฬาให้เกิดการเคลื่อนย้ายทางความคิด 5.สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยด้านการกีฬาทั้งในและต่างประเทศ 6.พัฒนากีฬาเพื่ออาชีพ 7.สร้างเครือข่ายนักวิจัยในการวิจัยและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการกีฬา 8.สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในการพัฒนาสุขภาพและสุขภาวะที่ดี 9.สร้างวัฒนธรรมกีฬา 10.จัดหลักสูตรกีฬาพื้นบ้านและกีฬาประจำชาติ 11.จัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และ 12. สร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ |
Other Abstract: | This research aims were 1. studied the current conditions, directions and trends of educational management in sport area in Thailand and foreign countries. 2. studied the feasibility of establishing sport university in Thailand 3. developed the prototype and strategies of sport university in Thailand. The process of the study comprised 3 steps. The population included the senior administrators of sport and higher education organization, and the university staffs in the area of sport, sport science, sport management and physical education from public and private universities. The prototype and strategies of sport university in Thailand was verified by the connoisseurship. The tools for the research included content analysis, interview, and questionnaire. The collected data were analyzed through content analysis, frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. Results were as follows: 1. the current conditions of Sport University: some Sport Universities developed from Physical Education College, some newly established and most are Faculty level, especially in Thailand. University’s mission are: teaching, research academic services and art and culture preservation. There are undergraduate and graduate program specialized in sports, sports science; and most university instructors are qualified Bachelor and Master degree; equipment and technology are supported teaching, research and academic services. Students who attended at least can perform sports or were athletes. Establishing trend was less than 5 years from this year. 2. Establishing feasibility : It is very likely possible to establish sport university in Thailand under the Ministry of Tourism and Sports. Location of the university is located outside the city, building and landscape architecture in the form of sports. The goal is to be the special university and to , produce athletes and sports personnel quality. Lead the sport of Thailand to sport excellence and international level. Successfully compete in a World or Olympic Games. Meet the needs of the labor market, particularly in sports, health and rehabilitation. 3. The components of the prototype of sport university consist of rationale, philosophy, vision, mission, goals, university administration structure, curriculum and Instruction, research and academic services, art and culture preservation, financial management, undergraduate and graduate students, human resources, and landscape architecture. The strategies of the sport university in Thailand were: 1) developing the potential of professional athletes and sport personnel in academic and sports to professionalism, 2) developing core competencies of professional athletes and sport personals on the basis of merit, 3) to be Sport Hub of ASEAN, 4) creating a mechanism for developing of professional athletes and sport personnel in order to the mobility of thought, 5) Strengthening of collaboration with universities in sports both domestics and abroad 6) developing sports for professional, 7) creating researchers network in research and development of sports innovation, 8) creating a cooperation network between the university and the communities to improve health and well-being, 9) Creating sport culture, 10) providing a Thai traditional sport programs, 11) establishing sports science and technology information centers, and 12) strengthening the management system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45363 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.884 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.884 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5184283627.pdf | 8.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.