Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45533
Title: ผลของไกลคอลอีเทอร์ต่อคุณสมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์มโดยวิธีไมโครอิมัลชัน
Other Titles: Effect of glycol ether on fuel properties of micromulsion-base biofuel from palm oil
Authors: ศศิวิมล วิชาดี
Advisors: สุธา ขาวเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sutha.K@Chula.ac.th
Subjects: พลังงานชีวมวล
เชื้อเพลิงน้ำมันพืช
น้ำมันปาล์ม
อิมัลชัน
สารลดแรงตึงผิว
เอทานอล
Biomass energy
Vegetable oils as fuel
Palm oil
Emulsions
Surface active agents
Ethanol
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากวิกฤตการณ์ด้านพลังงานส่งผลให้ทรัพยากรด้านปิโตรเลียมลดลงและราคามีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต จึงได้มีการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันจากพืชที่นิยมนำมาใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามน้ำมันพืชมีความหนืดสูงจึงต้องมีการลดความหนืดก่อนนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล วิธีไมโครอิมัลชันเป็นวิธีหนึ่งในการลดความหนืดของน้ำมันพืชโดยการผสมน้ำมันพืชกับเอทานอลร่วมกับสารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วมเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำวิธีไมโครอิมัลชันมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยศึกษาผลของการใช้สารเติมแต่งกลุ่มไกลคอลอีเทอร์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์มด้วยวิธีไมโครอิมัลชันให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชีวภาพที่ไม่ได้เติมสารเติมแต่ง ซึ่งใช้น้ำมันพืชผสมน้ำมันดีเซลอัตราส่วน 50:50 โดยปริมาตร อัตราส่วนโดยโมลของสารลดแรงตึงผิวต่อสารลดแรงตึงผิวร่วมต่อสารเติมแต่ง และเอทานอล ในปริมาณร้อยละ 60 20 และ 20 โดยปริมาตร ตามลำดับ สารเติมแต่งที่ใช้ได้แก่ เอทิลีนไกลคอลบิวทิลอีเทอร์ ไดเอทิลีนไกลคอลเอทิลอีเทอร์ โพรพิลีนไกลคอลเอทิลอีเทอร์ ไดโพรพิลีนไกลคอลเมทิลอีเทอร์ และเอทิลอะซิเตท ผลการศึกษาพบว่า การเติมสารเติมแต่งสามารถปรับปรุงคุณสมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพไมโครอิมัลชันได้ อีกทั้งการเติมสารเติมแต่งทุกชนิดที่อัตราส่วน 1:3:5 มีผลทำให้เชื้อเพลิงชีวภาพมีค่าความหนืดลดลง อัตราส่วนของสารเติมแต่งในเชื้อเพลิงชีวภาพแปรผกผันกับค่าความหนืด นอกจากนี้สารเติมแต่งยังช่วยลดอุณหภูมิของจุดขุ่นและจุดไหลเทของเชื้อเพลิงชีวภาพอีกด้วย ส่วนเขม่าในรูปปริมาณเถ้าและค่าความร้อนของเชื้อเพลิงชีวภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จากการศึกษาการปล่อยก๊าซไอเสียพบว่า เชื้อเพลิงชีวภาพที่เตรียมจากสารเติมแต่งชนิด ไดเอทิลีนไกลคอลเอทิลอีเทอร์และเอทิลอะซิเตท มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเชื้อเพลิงดีเซล ดังนั้นจึงสามารถนำเชื้อเพลิงชีวภาพไมโครอิมัลชันที่ทำการเติมสารเติมแต่งมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกได้
Other Abstract: Depletion of petroleum resources lead to the increasing energy price and the need for renewable energy development. Direct use of vegetable oils in the engine is usually limited because of the high viscosity of the oils. Microemulsion is one of the methods that can be used to reduce the viscosity of vegetable oils. Microemulsion biofuel is the mixture of vegetable oils and ethanol in the present of surfactants and co-surfactants. This research study the effect of the addition of glycol ethers, fuel additives, on the properties of microemulsion based biofuel from palm oil. Vegetable oils blend with diesel at a ratio of 50:50 (v/v), surfactant, cosurfactant mixed with additives and ethanol volume of 60 20 and 20 percent by volume respectively. 5 additives, Ethylene glycol butyl ether, Diethylene glycol ethyl ether, Propylene glycol ethyl ether, Dipropylene glycol methyl ether and Ethyl acetate were used in the study. The results show that the addition of glycol ether can improve the properties of microemulsion based biofuel. These additives at ratio 1:3:5 can improve the properties of the biofuel by decreasing the viscosity, and decreasing pour point and cloud point. Ash content and gross heat of combustion were not met standard. According to the exhaust emissions study, it is found that carbon monoxide emissions and nitrogen oxide emissions released from biofuel derived from additives, Diethylene glycol ethyl ether and Ethyl acetate were met the diesel standard. Therefore, it is possible to produce biofuel with microemulsion containing additives as an alternative energy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45533
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.969
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.969
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570392321.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.