Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45640
Title: บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์: สยามดุริยลิขิต
Other Titles: DOCTORAL MUSIC COMPOSITION: SIAM DURIYA LIKHIT
Authors: พิมพ์ชนก สุวรรณธาดา
Advisors: ณัชชา พันธุ์เจริญ
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Natchar.P@Chula.ac.th,natcharpan@gmail.com
Narongrit.D@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ “สยามดุริยลิขิต” เป็นผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยสำหรับเดี่ยวเปียโน 5 บท เลือกมาจากเพลงไทยต่างประเภทกัน ได้แก่ เพลงโหมโรงไอยเรศ สามชั้น เพลงแสนคำนึง เถา เพลงตับวิวาหพระสมุท เพลงสุดสงวน สามชั้น และเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้น วัตถุประสงค์หลักของการเรียบเรียงคือเพื่อสร้างสรรค์วรรณกรรมเปียโนที่มีเอกลักษณ์ และเพิ่มพูนวรรณกรรมเปียโนของชาติ ในกระบวนการเรียบเรียง ผู้วิจัยได้ศึกษาเทคนิคการประพันธ์เพลงของบทเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับเดี่ยวเปียโนผลงานของนักดนตรีต้นแบบ 2 คน คือครูสุมิตรา สุจริตกุล นักเปียโนต้นแบบของการเดี่ยวเปียโนเพลงไทย และพันเอกชูชาติ พิทักษากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ประจำปีพุทธศักราช 2553 วิธีการเรียบเรียง ใช้เทคนิคการประพันธ์เพลงตะวันตก เป็นการทดลองแนวคิดใหม่ แต่อยู่ภายใต้ขอบเขตสำคัญคือการรักษาทำนองดนตรีไทยไว้ครบถ้วน สามารถบรรเลงตามขนบของดนตรีไทยได้ กรอบแนวคิดที่ใช้ คือแนวคิดเกี่ยวประเภทของบทประพันธ์เพลงคลาสสิกสำหรับเดี่ยวเปียโน ใช้กระบวนการสร้างสรรค์แบบวรรณกรรมเปียโนคลาสสิก โดยนำบทเพลงประเภทสอดประสาน บทเพลงโซนาตา บทเพลงประเภททำนองหลักและการแปร บทเพลงคาแร็กเตอร์ของยุคโรแมนติก บทเพลงในแนวคิดกระแสชาตินิยม และบทเพลงเดี่ยวเปียโนที่เรียบเรียงมาจากบทเพลงขับร้องตะวันตก มาใช้เป็นแนวทางในการตีความและสร้างบุคลิกให้แก่เพลงไทยทั้ง 5 เพลง การใช้แนวคิดของวรรณกรรมเปียโนตะวันตก ทำให้บทเรียบเรียงมีเนื้อหาสาระเชิงบทประพันธ์เพลงที่ผสมผสานสำเนียงดนตรีของตะวันตกและตะวันออก สามารถสร้างสรรค์ให้เพลงไทยสำหรับเดี่ยวเปียโนเป็นวรรณกรรมเปียโนของไทยให้มีความเป็นสากลมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการต่อยอดจากบทเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับเดี่ยวเปียโนที่มีมาแต่เดิมให้มีพัฒนาการด้านวิชาการดนตรียิ่งขึ้นต่อไป
Other Abstract: The doctoral composition “Siam Duriya Likit” is an arrangement of five selected traditional Thai music — Aiyares Overture, Saen Khamnueng in Thao Variations, Vivahaphrasamut Suite, Sut- sa-nguan Sam-chan, and Phra Athit Ching Duang Sorng Chan — for piano solo. The purpose of the arrangement is to create an exclusive compositional style and enlarge the solo piano repertoire for traditional Thai songs. In the arranging procedures, two significant Thai musicians are used as models: Sumitra Sujaritkul and Col. Choochart Pitaksakorn (2010 National Artist in Western Performing Arts). The arranging methodology is based on western composition techniques together with innovative ideas of Thai melodic preservation, to enhance Thai performance potential. Along with western composition techniques, the composition framework is designed in the scope of classical solo piano repertoire including sonata, theme and variations, Romantic character piece, nationalistic repertoire, as well as piano arrangement from vocal repertoire. Variety in styles, contrapuntal techniques, along with the characteristics derived from the study, are implemented in the arrangement of these five traditional Thai songs for a better musical interpretation and a unique style. By constructing the composition like western piano literature, this arrangement can bring forth the sonority of both western and eastern music. Hence, the result is Thai traditional songs in a solo piano composition that conveys international style while generating further development of Thai national musical heritage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45640
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586813035.pdf26.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.