Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45707
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ | en_US |
dc.contributor.author | ปุณยวัฒน์ อังสุโวทัย | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:04:38Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:04:38Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45707 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | หลังคาเป็นวัสดุเปลือกอาคารส่วนที่ได้รับอิทธิพลความร้อนจากแสงอาทิตย์มากที่สุด การติดตั้งฉนวนความร้อนเหนือฝ้าเพดานเป็นหนึ่งในวิธีลดอิทธิพลความร้อนที่ถ่ายเทผ่านวัสดุมุงหลังคาที่มีประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบัน การติดตั้งฉนวนความร้อนเหนือฝ้าเพดานใช้วิธีปูฉนวนทับฝ้าเพดานมีปัญหาจากการติดตั้งไม่ครอบคลุมพื้นที่ฝ้าเพดานทั้งหมด ส่งผลให้ความร้อนสามารถถ่ายเทเข้าสู่ภายในอาคารผ่านฝ้าเพดานในตำแหน่งที่ไม่มีฉนวนความร้อนปกคลุมได้ ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาวัสดุฝ้าเพดานให้มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อน แต่ระบบการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดานที่เป็นฉนวนความร้อนในท้องตลาด ยังคงเกิดปัญหาการรั่วซึมของความร้อนผ่านรอยต่อระหว่างแผ่นฝ้าเพดาน ส่งผลให้ความร้อนบางส่วนสามารถถ่ายเทลงสู่ภายในอาคารผ่านช่องรอยต่อระหว่างการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดาน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอระบบฝ้าเพดานฉนวนกันความร้อนที่แก้ไขการรั่วซึมความร้อนระหว่างรอยต่อของแผ่นฝ้าเพดาน โดยการดำเนินงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก เป็นการศึกษาคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียของระบบฉนวนกันความร้อนที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจะนำไปใช้ในการออกแบบระบบฝ้าเพดานฉนวนกันความร้อนที่แก้ไขการรั่วซึมความร้อนระหว่างรอยต่อของแผ่นฝ้าเพดาน ในส่วนที่2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านการลดการถ่ายเทความร้อนผ่านระบบฝ้าเพดานฉนวนกันความร้อนยิปซั่มบอร์ด 9 มม. กรุ EPS foam หนา 2”ระบบอุดรอยรั่วในการติดตั้ง (ค่า R = 8.02 h ft2 oF / Btu.) ที่ออกแบบใหม่กับระบบฝ้าเพดานฉนวนกันความร้อนในท้องตลาด ได้แก่ ฝ้าเพดานฉนวนใยแก้ว หนา 19 มม.ขนาดแผ่น 60 x 60 ซม. ระบบ T-bar (ค่า R = 3.3 h ft2 oF / Btu.)และฝ้าเพดานแผ่น EPS foam หนา 25.4 มม.ขนาด 60 x 60 ซม. ระบบ T-bar (ค่า R = 3.85 h ft2 oF / Btu.) โดยการเก็บข้อมูลอุณหภูมิจากโมเดลจำลองที่ติดตั้งฝ้าเพดานฉนวนกันความร้อนแต่ละกรณีศึกษาจากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์และสรุปผล จากผลการวิจัยนี้ ในช่วงเวลาที่โมเดลจำลองได้รับอิทธิพลจากการถ่ายเทความร้อนมากที่สุดของวันจากการหน่วงเหนี่ยวความร้อน (Time lag) ระบบฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด 9 มม. กรุ EPS foam หนา 2” ที่แก้ไขการรั่วซึมความร้อนระหว่างรอยต่อของแผ่นฝ้าเพดาน มีอุณหภูมิห้องใต้ฝ้าเพดานต่ำกว่า ฝ้าเพดานฉนวนใยแก้ว หนา 19 มม. ระบบ T-bar 2.2oC ต่ำกว่าฝ้าเพดาน EPS foam หนา 25.4 มม. ระบบ T-bar 0.8oC นอกจากนั้นมีอุณหภูมิผิวล่างแผ่นฝ้าเพดานต่ำกว่า ฝ้าเพดานฉนวนใยแก้ว หนา 19 มม. ระบบ T-bar 2.5oC ต่ำกว่าฝ้าเพดาน EPS foam หนา 25.4 มม. ระบบ T-bar 1.1oC เมื่ออุณหภูมิผิวล่างฝ้าเพดานมีค่าต่ำกว่าฝ้าเพดานฉนวนกันความร้อนกรณีศึกษาจากท้องตลาด ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโดยรอบ (MRT) ของห้องจำลองที่ติดตั้งฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด 9 มม. กรุ EPS foam หนา 2”ระบบอุดรอยรั่วระหว่างรอยต่อของแผ่นฝ้ามีค่าต่ำที่สุด ผู้ใช้อาคารจึงรู้สึกเย็นกว่าเมื่ออยู่ในห้อง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The roof is the most influential by solar heat. The ceiling installation is the way to reduce heat transferred through the roofing material efficiency. Nowadays, the ceiling installation was using a ceiling insulation covered but the installation does not cover the entire ceiling. As a result, the heat can flow into the building through the ceiling where it would not be insulated cover. Even today it has developed ceiling material to qualify as insulation. However, installation of ceiling insulation and heat in market space still faces with the leakage of heat between the ceiling tiles which let some heat flow into the building through the joints between the ceiling tile installations. This research aims to present ceiling board system which Fix leaking heat between the seams of ceiling boards. This research was divided into two parts. Firstly, to study features, advantages and disadvantages of insulation systems for applying in the ceiling insulation design to fix the leakage of heat between the boundaries of ceiling tiles. Secondly, to compare heat transfer efficacy of each system. Comparing, a newly designed Leak-proof 9 mm. gypsum board padded with 2-inch-thick EPS foam( R = 8.02 h ft2 oF / Btu.), with ceiling insulation systems that exist in the market including 19 mm.-thick, 60x60 cm. fiberglass ceiling insulation T-bar system (R = 3.3 h ft2 oF / Btu.), and EPS foam ceiling plate 25.4 mm-thick. Size 60 x 60 cm T-bar system (R = 3.85 h ft2 oF / Btu.). Models of each system were built to collect data of temperatures for comparison and analysis. The finding revealed that at the time the models experience peak heat transfer from the time lag effect, the leak-proof 9mm. gypsum board padded with 2-inch EPS Foam had lower air temperature under the ceiling than the other systems. Air temperature is lower than the 19 mm.-thick, 60x60 cm. fiberglass ceiling insulation, T-bar system by 2.2oC. Air temperature is lower than EPS foam ceiling plate 25.4 mm-thick. Size 60 x 60 cm, T-bar system by 0.8oC. Furthermore, the underside surface of the insulation panel is lower than the 19 mm.-thick, 60x60 cm. fiberglass ceiling insulation, T-bar system by 2.5oC, and is lower than EPS foam ceiling plate 25.4 mm-thick. Size 60 x 60 cm, T-bar system by 1.1oC. Because the new insulation system has lowest surface temperature when compared with the other models, the Mean Radiant Temperature (MRT) of the leak-proof 9mm. gypsum board padded with 2-inch EPS Foam model will make users feel cooler when they are in the room. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1063 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความร้อน -- การถ่ายเท | |
dc.subject | การหุ้มฉนวนความร้อน | |
dc.subject | วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง -- สมบัติทางความร้อน | |
dc.subject | Heat -- Transmission | |
dc.subject | Insulation (Heat) | |
dc.subject | Building materials -- Thermal properties | |
dc.title | การอุดรอยต่อฝ้าเพดานสำเร็จรูปเพื่อกันความร้อน | en_US |
dc.title.alternative | THERMAL INSULATION OF GAP FOR PREFABRICATED CEILING. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Vorasun.B@Chula.ac.th,vorasun1@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1063 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5673332325.pdf | 7.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.