Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45723
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤชา จิรกาลวสานen_US
dc.contributor.authorชุลีกร โสอุดรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:04:46Z
dc.date.available2015-09-17T04:04:46Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45723
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractที่มา: การใช้อุปกรณ์ทำความชื้นด้วยไอน้ำชนิดความร้อนเสริมในเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น มีข้อมูลว่าช่วยลดอาการข้างเคียงทางด้านจมูกและช่องคอ แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนในการช่วยเพิ่มอัตราการใช้เครื่อง รวมถึงไม่มีข้อมูลในประเทศแถบเขตร้อนชื้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าการใช้อุปกรณ์ทำความชื้นด้วยไอน้ำชนิดความร้อนเสริมในเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องจะสามารถเพิ่มอัตราการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องในผู้ป่วยไทยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่มีอาการทางจมูกและช่องคอได้หรือไม่ วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบทดลองไปข้างหน้าเชิงสุ่มและเป็นการศึกษาแบบไขว้ โดยผู้ป่วยทุกรายได้รับการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางหรือระดับรุนแรง จากการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการ และมีอาการข้างเคียงทางด้านจมูกและช่องคอภายหลังจากการทำ Split - night polysomnography ผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมการรักษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ได้รับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องที่มีอุปกรณ์ทำความชื้นด้วยไอน้ำ และ กลุ่มที่ไม่มีอุปกรณ์ทำความชื้น โดยจะติดตามภายหลังการใช้เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะทำการเปลี่ยนเป็นอีกกลุ่ม ติดตามต่อเนื่องอีก 4 สัปดาห์ โดยจะติดตามผลการใช้เครื่อง แบบสอบถามประเมินอาการข้างเคียงทางด้นจมูกและช่องคอ รวมถึงคุณภาพชีวิต ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 20 ราย ทำการศึกษาตั้งแต่ มกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่าจำนวนชั่วโมงการใช้เครื่องเฉลี่ยในวันที่ใช้ ในกลุ่มที่ได้รับอุปกรณ์ทำความชื้นด้วยไอน้ำชนิดความร้อนเสริมในเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนชั่วโมงการใช้เครื่องได้นานกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุปกรณ์ทำความชื้นที่ 5.51 ± 1.5 และ 5.17 ± 1.4 ; p = 0.033 สำหรับค่า AHI และการรั่วของหน้ากากไม่พบความแตกต่างกันในระว่างทั้งสองกลุ่ม ในส่วนของอาการข้างเคียงของจมูกและช่องคอ พบว่ามีคะแนนลดลงในกลุ่มที่ได้รับอุปกรณ์ทำความชื้นด้วยไอน้ำชนิดความร้อนเสริมในเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (5 (5.5)) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุปกรณ์ทำความชื้น (6 (5.5) ; p = 0.185) แต่เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละอาการที่เกิดอาการข้างเคียงนั้นพบว่าอาการ ปากแห้ง คอแห้ง มีความแตกต่างในระหว่างทั้งสองกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = <0.001) สำหรับคุณภาพชีวิตในการนอนประเมินจากแบบสอบถาม FOSQ พบว่าคะแนนดีขึ้นในกลุ่มที่ได้รับอุปกรณ์ทำความชื้นด้วยไอน้ำชนิดความร้อนเสริมในเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (16.84 ± 2.6) ซึ่งสูงกว่าในกลุ่มเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องไม่มีอุปกรณ์ทำความชื้น (16.17 ± 3.1; p = 0.029) สรุป: ในการศึกษานี้ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้อุปกรณ์ทำความชื้นด้วยไอน้ำในเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP with heated humidification) สามารถเพิ่มอัตราการใช้เครื่องและเพิ่มคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจอุดกั้นขณะหลับระดับปานกลางและรุนแรง ที่มีอาการข้างเคียงทางด้านจมูกและช่องคอภายหลังจากการทำ Split-night polysomnography นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดอาการข้างเคียงทางด้านจมูกและช่องคอ โดยเฉพาะอาการแสบคอ คอแห้งen_US
dc.description.abstractalternativeStudy Objectives: Addition of heated humidification to continuous positive airway pressure (CPAP) has been shown to improve nasal side effects in obstructive sleep apnea (OSA) patients. However, current data regarding improvement in CPAP compliance is conflicting. Furthermore, there is no data from tropical climate area with high humidity level. Methods: In this prospective randomized cross - over study conducted in Thailand, patients with moderate to severe OSA with nasopharyngeal symptoms post split - night study were enrolled in the study. Patients were randomly assigned to receive CPAP with or without heated humidification for 4 weeks and then crossed over. Information on CPAP compliance, quality of life assessed by Functional Outcomes of Sleep Questionnaire (FOSQ), nasopharyngeal symptoms assessed by modified XERO questionnaire, and bedroom ambient humidity and temperature data were obtained. Results: Data were collected on 20 OSA patients during the period of January - December 2014. Addition of heated humidification improved CPAP compliance on the days on therapy (5.51±1.5 hours/night) compared to conventional CPAP (5.17±1.4 hours/night); p=0.033. Quality of life was also improved according to FOSQ score (16.84 ± 2.6) in heated humidification group compared to conventional CPAP (16.17 ± 3.1); p = 0.029. Significant reduction in dry throat/sore throat symptom was noted in only CPAP with heated humidification group. Conclusions: Even in tropical climate area, CPAP compliance and quality of life were improved when heated humidification was employed in moderate to severe OSA patients with nasopharyngeal symptoms post split - night polysomnography. The improvement may be related to reduction in dry throat/sore throat symptom.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1074-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ -- การรักษา
dc.subjectภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ -- ผู้ป่วย -- ไทย
dc.subjectเครื่องอัดอากาศ
dc.subjectSleep apnea syndromes -- Treatment
dc.subjectSleep apnea syndromes -- Patients -- Thailand
dc.subjectAir-compressors
dc.titleผลของอุปกรณ์ทำความชื้นด้วยไอน้ำชนิดความร้อนต่ออัตราการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องในกลุ่มผู้ป่วยไทยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่มีอาการทางจมูกและช่องคอen_US
dc.title.alternativeEFFECT OF HEATED HUMIDIFICATION ON CONTINUOUS POSITIVE AIRWAY PRESSURETHERAPY COMPLIANCE IN OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA PATIENTS WITHNASOPHARYNGEAL SYMPTOMS AMONG THAI PATIENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNaricha.C@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1074-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674026530.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.