Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45730
Title: OPTIMIZATION OF RADIATION DOSE AND IMAGE QUALITY IN CHEST RADIOGRAPHY USING DIGITAL MOBILE X-RAY SYSTEM AT KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL
Other Titles: ปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพที่เหมาะสมในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Authors: Piyatas Sangdao
Advisors: Anchali Krisanachinda
Kitiwat Khamwan
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Anchali.K@Chula.ac.th,anchali.kris@gmail.com
Kitiwat.K@chula.ac.th
Subjects: Chest -- Radiography
Radiography, Medical -- Digital techniques
Radiation dosimetry
Radiography, Medical -- Exposure
Radiography, Medical -- Image quality
ทรวงอก -- การบันทึกภาพด้วยรังสี
การบันทึกภาพด้วยรังสีทางการแพทย์ -- เทคนิคดิจิทัล
การวัดปริมาณรังสีที่ได้รับ
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Digital Radiography (DR) has become an important imaging modality at Department of Radiology, King Chulalongkorn Memorial Hospital. In September 2013, the digital mobile x-ray system has been in service on the patient ward for patients who could not move to the Department of Radiology. Chest radiography is the most common examination performed on the patient ward. Some patient was exposed several times during treatment, result in increasing the radiation dose. As the DR produces less patient radiation dose than the CR and conventional radiograph, the exposure parameters use for DR must be determined. The purpose of this study is to optimize the radiation dose and image quality for digital mobile chest radiography. Lung Phantom was firstly used to study the appropriate exposure parameters to optimize the radiation dose at surface of the phantom and image quality based on the Commission of European Communities (CEC) and the qualitative noise evaluated by three observers. The exposure parameters obtained will be further used for patients. The proper exposure parameter for chest radiography was kVp 90 and mAs 0.63 for the patient chest thickness equal to or less than 23 cm. 50 patients were exposed by optimal parameters, then the patient dose had been calculated and the image quality has been assessed by three observers. The average patient dose was 0.076 mGy and the average of patient chest thickness was 19.70 cm. 88% of the images showed the image criteria score equal to or more than 3 where the acceptable score range from 3 to 6, 70% and 30% of the images showed the qualitative noise scores was 2 and 3 respectively where the acceptable score range from 2 to 3. The patient dose for routine chest study was 0.192 mGy. Therefore, the patient dose using optimal protocol was 60% less than routine study and also lower than the International Atomic Energy Agency dose reference level of 0.4 mGy for chest radiography.
Other Abstract: ปัจจุบันเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอล เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีการนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในงานด้านรังสีวิทยาของฝ่ายรังสีวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีการนำเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลมาใช้ในการให้บริการผู้ป่วยในหอพักผู้ป่วยซึ่งไม่สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อมารับบริการที่ฝ่ายรังสีวิทยาได้ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 การถ่ายภาพรังสีทรวงอกเป็นการตรวจที่แพทย์สั่งตรวจมากที่สุด และในบางรายมีการสั่งตรวจหลายครั้งในช่วงที่ทำการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับปริมาณรังสีมากขึ้นตามไปด้วย เครื่องถ่ายภาพรังสีระบบดิจิตอลใช้ปริมาณรังสีในการถ่ายภาพรังสีน้อยกว่าระบบซีอาร์และระบบเดิม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงค่าเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีให้เหมาะสม วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความเหมาะสมระหว่างปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับกับคุณภาพของภาพรังสีทรวงอกที่ถ่ายภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล ด้วยเลือกใช้ค่าเทคนิคต่างๆ โดยจะทำการศึกษาจากหุ่นจำลองก่อนเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริมาณรังสีที่ผิวของหุ่นจำลองได้รับกับคุณภาพของภาพซึ่งประเมินจากจำนวนองค์ประกอบของภาพรังสีทรวงอกตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการประชาคมยุโรป และระดับของสัญณาณรบกวน โดยผู้ประเมินผล 3 ท่าน จากนั้นจึงเลือกค่าเทคนิคที่เหมาะสมทั้งค่าปริมาณรังสีที่ผิวและคุณภาพของภาพ เพื่อนำใช้กับผู้ป่วยต่อไป ผลของงานวิจัยนี้พบว่าค่าเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพรังสีทรวงอกโดยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คือ ค่าเควีพี 90 และค่าเอ็มเอเอส 0.63 สำหรับผู้ป่วยที่มีความหนาของทรวงอกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 23 เซนติเมตร นำไปใช้กับผู้ป่วยจำนวน 50 คน โดยคำนวณค่าปริมาณรังสีที่ผิวตามความหนาของทรวงอกผู้ป่วยและการประเมินคุณภาพของภาพโดยผู้ประเมิน พบว่าปริมาณรังสีที่ผิวของผู้ป่วยโดยเฉลี่ยมีค่า 0.076 มิลลิเกรย์ โดยผู้ป่วยมีความหนาของทรวงอกเฉลี่ย 19.70 เซนติเมตร คะแนนขององค์ประกอบของภาพรังสีทรวงอก พบว่าร้อยละ 88 ของภาพทั้งหมดมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 3 โดยค่าที่ยอมรับได้อยู่ในช่วง 3 ถึง 6 คะแนน, ร้อยละ 70 ของภาพทั้งหมดมีคะแนนของระดับสัญญาณรบกวนเท่ากับ 2 และ ร้อยละ 30 ของภาพทั้งหมดมีคะแนนของระดับสัญญาณรบกวนเท่ากับ 3โดยค่าที่ยอมรับได้อยู่ในช่วง 2 ถึง 3 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีที่ผิวของผู้ป่วยก่อนทำการศึกษา ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 0.192 มิลลิเกรย์ พบว่าปริมาณรังสีที่ผิวของผู้ป่วยจากการใช้ค่าเทคนิคที่เหมาะสมจากการวิจัยนี้ มีค่าลดลงร้อยละ 60 และปริมาณรังสียังมี่ค่าต่ำกว่าระดับรังสีอ้างอิงที่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศกำหนดไว้ที่ 0.4 มิลลิเกรย์
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Imaging
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45730
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.237
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.237
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674047730.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.