Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45764
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณภัควรรต บัวทองen_US
dc.contributor.authorอนุสสรา ฤทธิ์วิชัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:05:02Z
dc.date.available2015-09-17T04:05:02Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45764
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractภาวะกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร (Sick building syndrome; SBS) ถือเป็นภาวะกลุ่มอาการที่ไม่มีลักษณะเฉพาะของโรคและไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทำงานในอาคารสำนักงาน โดยภาวะอาการเจ็บป่วยต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นกับ ร่างกายนั้น มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางจิตสังคมในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่าง SBS กับความเครียด ของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน ยังไม่ได้มีการศึกษาในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของ SBS และความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน และศึกษาความสัมพันธ์ของ SBS ความเครียด และปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิด SBS โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง วิธีการศึกษา มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน เอสเอ็มทาวเวอร์ จำนวน 273 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม 2557 โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) ข้อมูลด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในสถานที่ทำงาน 3) ข้อมูลด้านภาวะกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร หรือ SBS 4) แบบสอบถามวัดความเครียด (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-Square และ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษา พบอัตราความชุกของ SBS ในพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน ร้อยละ 37.4 และพบอัตราความชุกของพนักงานที่มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย ปานกลาง สูง และรุนแรง ร้อยละ 14.4, 29.3, 44.3 และ 15.0 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Logistic Regression) พบว่ามีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด SBS ของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเครียดระดับรุนแรง(OR=4.90, 95%CI= 1.55-15.48) จำนวนชั่วโมงในการใช้คอมพิวเตอร์ที่มากกว่า 8 ชม.ต่อวัน (OR=2.53, 95%CI=1.28-5.00) ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำพื้นห้องที่ทำมาจากพีวีซีหรือพลาสติก (OR=2.13, 95%CI=1.15-3.95) และการใช้อุปกรณ์สำนักงานขนาดเล็กที่มีไอระเหยและมีกลิ่นเหม็น อาทิ น้ำยาลบคำผิดและกาว (OR=1.97, 95%CI=1.09-3.57) สรุป หน่วยงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยควรให้ความสำคัญ ไม่เพียงแต่ในภาวะด้านความปลอดภัยและปัจจัยทางสภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคารที่ทำงานแต่ยังต้องมีวางแผนเชิงกลยุทธ์ในวิธีการจัดการกับความเครียดสำหรับพนักงานในองค์การ เพื่อลดภาวะการเกิด SBS ของพนักงาน อีกทั้งยังถือเป็นการสนับสนุนการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพนักงานen_US
dc.description.abstractalternativeSick Building Syndrome (SBS) is defined with non – specific symptoms among office workers of certain building. Many of the symptoms seem to be associated with environmental factors and psychosocial at workplace factors exposed to physical status of office workers. However, the association between SBS and stress has not been studied in Thailand. Objective: To estimate the prevalence of SBS and stress among office workers and to determine the association between SBS and stress their related factors. Design is cross sectional descriptive study. Methods: Data were obtained from the office workers in SM tower office building from July to October 2014. A total of 273 participants were recruited. Participants completed four questionnaires regarding to demographic characteristic, environmental in working condition, SBS questionnaires and Suanprong Stress Test-20 (SPST-20), the data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, chi-square test and multiple logistic regression. Results: The prevalence of SBS was 37.4 %. The prevalence of mild, moderate, height and severe stress status were 11.4, 29.3, 44.3 and 15.0 percent respectively. In multivariate analysis, the statistically significant factors with SBS were severe stress status (OR=4.90, 95%CI=1.55-15.48), duration of using computer more than 8 hours per day (OR=2.53, 95%CI=1.28-5.00), materials of office flooring from PVC or plastic (OR=2.13, 95%CI= 1.15-3.95), and using the effluvium office equipment such as correcting fluid and glue (OR=1.97, 95%CI=1.09-3.57). Conclusion: The occupational health and safety unit should emphasize not only the condition of safe and healthy environmental factors in the office building but also planning the strategy for coping with stress for their staff in order to reduce the SBS and to promote the quality of life among office workers.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.588-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคแพ้ตึกth
dc.subjectมลพิษทางอากาศในอาคารth
dc.subjectสภาพแวดล้อมการทำงานth
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)th
dc.subjectความเครียดในการทำงานth
dc.subjectความเครียด (สรีรวิทยา)th
dc.subjectSick building syndromeen_US
dc.subjectEnvironmentally induced diseasesen_US
dc.subjectWork environmenten_US
dc.subjectStress (Psychology)en_US
dc.subjectJob stressen_US
dc.subjectStress (Physiology)en_US
dc.titleภาวะกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร และความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานen_US
dc.title.alternativeSICK BUILDING SYNDROME AND STRESS AMONG OFFICE WORKERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNapakkawat.B@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.588-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674263930.pdf6.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.