Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45783
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลพิชญ์ โภไคยอุดมen_US
dc.contributor.authorปานฤทัย เห่งพุ่มen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:05:09Z
dc.date.available2015-09-17T04:05:09Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45783
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบรายการโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียน และเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ ตามระดับการศึกษาและรายได้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชากรไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและเคยชมรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเนื้อหาหลักเกี่ยวกับอาเซียน จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รับชมโทรทัศน์ในช่วงเวลา 20.01 – 24.00 น. รูปแบบรายการโทรทัศน์ที่รับชมมากที่สุด คือรายการข่าว และรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเนื้อหาหลักเกี่ยวกับอาเซียนที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รับชมมากที่สุดคือ รายการเอเชียคอนเน็ค (Asia Connect) ออกอากาศทางช่อง 3 องค์ประกอบรายการโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูล เนื้อหาบทรายการ ด้านเทคนิคการผลิตรายการ ด้านรูปแบบรายการ วิธีการนำเสนอ ด้านผู้นำเสนอรายการ และด้านเวลาของรายการ ตามลำดับ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนอยู่ในระดับมากทุกข้อ ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียน จำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นในการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นในการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนที่ไม่แตกต่างกัน และผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบรายการโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนพบว่า มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.359 สรุปผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกันว่าองค์ประกอบรายการโทรทัศน์ทุกด้านส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนในระดับมาก และพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบรายการโทรทัศน์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study television program components affecting ASEAN tourism decision-making along with opinions towards ASEAN tourism decision-making regarding differences in demographics, educational levels and incomes. The samples were 400 Thai residents (who currently live in Thailand) who have ever watched television programs that contributed their main contents relevant to ASEAN. The sampling method was a Multi-stage Sampling. During the research method, questionnaires were used for data collection and data analysis. Data were additionally analysed in percentage, standard deviation, One-way ANOVA and Pearson Product Moment Correlation. According to the result, it revealed that most of the respondents have watched television programs during 20.01 - 24.00 and the most popular television program samples indicated was news. The ASEAN-content-based television program that they have watched the most was Asia Connect on Channel 3. The components affecting ASEAN tourism decision-making were high in all aspects which were information content and programed plots, production-technique, approaches of presentation, host and airing time. The opinions towards ASEAN tourism decision-making were also high in all items. The comparative results on opinions towards ASEAN tourism decision-making were classified by educational levels and incomes. Overall in ASEAN tourism decision-making, there was a significant difference at 0.05 level in the respondents who had different educational levels. However, the respondents who had different incomes did not have different opinions. The result on the relationship between opinions towards television program components affecting ASEAN tourism decision-making indicated positive correlation with correlation coefficient of 0.359 at the statistical significance level 0.01. In summary, respondents had direct opinions towards television program components affecting their ASEAN tourism decision-making in high level. Moreover, the results revealed the correlation between television program components and ASEAN tourism decision-making.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.597-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรายการโทรทัศน์ -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้th
dc.subjectการท่องเที่ยว -- การตัดสินใจth
dc.subjectการท่องเที่ยว -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้th
dc.subjectการตัดสินใจth
dc.subjectTelevision programs -- Southeast Asiaen_US
dc.subjectTourism -- Decision makingen_US
dc.subjectTourism -- Southeast Asiaen_US
dc.subjectDecision makingen_US
dc.titleองค์ประกอบของรายการโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มอาเซียนen_US
dc.title.alternativeTHE COMPONENTS OF TELEVISION PROGRAMS EFFECTING DESTINATION CHOICES MAKING IN THE ASEAN MEMBER COUNTRIES VISITATIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorgulapish.p@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.597-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678319139.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.