Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45911
Title: การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา
Other Titles: RESEARCH AND DEVELOPMENT OF A COACHING PROCESS BASED ON TRANFORMATIVE LEARNING THEORY FOR CHANGING THE MINDSET IN INSTRUCTION OF ELEMENTARY SCHOOL TEACHERS
Authors: มิลินทรา กวินกมลโรจน์
Advisors: ชาริณี ตรีวรัญญู
สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Charinee.T@Chula.ac.th,charinee.t@hotmail.com
tsumlee@yahoo.com
Subjects: การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง
การสอน
ครูประถมศึกษา
Transformative learning
Teaching
Elementary school teachers
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาและ 2) ศึกษาผลของกระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครู การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนินการวิจัย มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครู ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา ระยะที่ 3 การนำกระบวนการชี้แนะฯ ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ ระยะที่ 4 การนำเสนอกระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา ฉบับสมบูรณ์ ระยะเวลาทดลองใช้กระบวนการชี้แนะฯ 1 ภาคการศึกษา ครูผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รวม 13 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอน มีลักษณะเป็นกระบวนการที่นำมาใช้ในการปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครู โดยเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การไตร่ตรองทางความคิด การลงมือปฏิบัติ และการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง จนกระทั่งทำให้ครูเกิดการเปลี่ยนแปลงชุดความคิดและแสดงออกเป็นพฤติกรรม มีผู้ชี้แนะทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือหรือจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดระยะเวลาของการเรียนรู้ โดยมีหลักการ ดังนี้ 1) การสร้างปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่นำไปสู่การเรียนรู้ของครู 2) การทำให้ครูเปิดใจยอมรับนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในของครู 3) การสร้างให้ครูเกิดแรงเสริมภายในช่วยให้เกิดพลังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 4) การแก้ปัญหาด้วยการวิพากษ์ประสบการณ์ในอดีตนำไปสู่การค้นพบ 5) การทำให้ครูเกิดการชี้นำตนเองจะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจ 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์นำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมสู่การปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ก่อนการชี้แนะ เป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ชี้แนะกับครูเพื่อให้เกิดความไว้วางใจร่วมกันในการแก้ปัญหาและการสร้างเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อการปรับเปลี่ยนชุดความคิดร่วมกัน ระยะที่ 2 การชี้แนะเพื่อสร้างการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การตระหนักรู้ชุดความคิดของครู ประกอบด้วย 1.1) การสร้างความตระหนักรู้ในชุดความคิดของตนเองของครู 1.2) การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการสอนและเห็นคุณค่าของการปรับเปลี่ยนชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นครูที่เน้นการพัฒนาตนเอง (2) การเปิดประสบการณ์เรียนรู้ชุดความคิดใหม่สู่การพัฒนาตนเอง (3) การประเมินเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนของตนเองภายใต้กรอบชุดความคิดใหม่ (4) การดำเนินการจัดการเรียนการสอนภายใต้กรอบชุดความคิดใหม่ ประกอบด้วย 4.1) การวางแผนการปรับวิถีการทำงานของตนเอง 4.2) การนำแผนสู่การปฏิบัติและประเมินผลย้อนกลับ 4.3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อปรับปรุงและปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานตามบทบาทใหม่ (สามารถดำเนินการซ้ำในขั้นที่ 4 ได้หลายครั้ง) (5) การส่งเสริมให้ครูนำชุดความคิดใหม่ที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และระยะที่ 3 หลังการชี้แนะเป็นการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และบูรณาการแนวปฏิบัติงานใหม่ตามกรอบชุดความคิดใหม่เพื่อปรับใช้กับการเรียนการสอนครั้งต่อไป 2. ผลการดำเนินงานตามกระบวนการชี้แนะเพื่อปรับชุดความคิดครูฯ ก่อนเข้าร่วมกระบวนการชี้แนะฯ มีครู 1 คน มีชุดความคิดด้านการเรียนการสอนเติบโต ครู 12 คน มีชุดความคิดเติบโตแต่ความคิดบางอย่างยังจำกัด ไม่มีครูที่มีชุดความคิดจำกัดแต่ความคิดเติบโตหรือชุดความคิดจำกัดเลย หลังเข้าร่วมกระบวนการฯ ครูมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นครูที่มีชุดความคิดเติบโต 7 คน ชุดความคิดเติบโตแต่ความคิดบางอย่างยังจำกัด 6 คน โดยมีคะแนนพัฒนาการสูงขึ้นทุกคน เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนที่ครูเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านแนวคิดหรือกลุ่มความคิดที่ครูมีต่อความสามารถ สติปัญญาและศักยภาพของตนเองในฐานะครู ในด้านพฤติกรรมของครู พบว่า ครูทุกคนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงนักเรียนมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The objectives of this research were: 1) to develop a coaching process based on transformation learning theory for change the mindset instruction of elementary school teachers. 2) To study result of coaching process based on transformation learning theory for change the mindset instruction of elementary school teachers. This research consisted of 4 phase: Phase 1: Research on condition and problem of teachers’ instructional arrangement. Phase 2: Research and development of coaching process based on transformative learning theory for changing the mindset in instruction of elementary school teacher. Phase 3: Research for experiment of coaching process based on transformative learning theory for changing the mindset in instruction of elementary school teacher. Phase 4: Improvement and development of coaching process based on transformative learning theory for changing the mindset in instruction of elementary school teacher (final). The implementation period is one semester. The samples of this study were 13 teachers from the basic education commission and teacher of the private education commission. The results were as follow: 1. The coaching process based on transformative learning theory for changing the mindset in instruction of elementary school teachers. The process consists of three phases: 1.Pre-coaching, which was to build and maintain trust, to study teachers’ instructional conditions, and to observe instruction to identify coaching direction. 2. Coaching to create learning, consisting of 5 steps including (1) self-recognition and aspired to be a teacher, (2) opening new learning opportunity, (3) self-comparative assessment of own teaching competency, (4) creating new mindset covering work adjustment planning, practicing, and information sharing, and (5) promoting teachers to apply new mindset to their instruction, and 3.Finalization and post-coaching evaluation, which was to identify coaching direction further and collect thoughts to synthesize learning lessons to lead teachers to achieve their desired targets. 2. The implementation process can help to change teachers’ mindset in instruction. Prior to beginning the process, there was only one teacher with a growth mindset of ​​teaching. The other twelve teachers had a growth mindset with some ideas that are fixed. There weren’t any teachers that had an entirely fixed mindset nor were there any teachers that had fixed mindset with some growth ideas. After the process was complete, it was determined that all thirteen of the participating teachers have a growth mindset. However, six of them still had some fixed ideas. Overall, all teachers have produced higher scores. Teachers have changed most in their concept of ability, Intelligence, and potential as educators. It was found that teachers’ behavior improved further in the presence of their students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45911
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.657
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.657
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384243727.pdf6.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.