Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45933
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทศพล ปิ่นแก้วen_US
dc.contributor.authorพงศธร อร่ามวัดen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:20:52Z
dc.date.available2015-09-18T04:20:52Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45933
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการหาน้ำหนักรถบรรทุกขณะเคลื่อนที่บนสะพาน เพื่อนำข้อมูลน้ำหนักบรรทุกที่ทราบค่าไปใช้ประโยชน์ในด้านวิศวกรรมและการควบคุมน้ำหนักบรรทุก ในอดีตมีนักวิจัยนำเสนอการคำนวณหาค่าน้ำหนักบรรทุกจากผลตอบสนองของสะพานด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งจากผลการศึกษาในอดีตได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการหาน้ำหนักของอัลกอริทึมต่างๆ แต่ยังขาดการศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำระหว่างแต่ละวิธี ในการศึกษานี้จะเปรียบเทียบอัลกอริทึมการคำนวณหาน้ำหนักรถบรรทุกด้วยเส้นอิทธิพลแบบต่างๆ 3 แบบได้แก่ เส้นอิทธิพลจากทฤษฎีแบบสถิต เส้นอิทธิพลจากทฤษฎีแบบพลวัต และเส้นอิทธิพลจากการตรวจวัดโดยตรง โดยการเปรียบเทียบอาศัยผลตอบสนองของสะพานด้วยการทดสอบสะพานจริงในภาคสนาม จากผลการทดสอบในภาคสนามทั้งหมดจำนวน 18 การทดสอบ พบว่าการคำนวณหาค่าน้ำหนักรถบรรทุกของทั้ง 3 วิธีให้ความถูกต้องในระดับที่น่าพอใจ โดยพบว่าทุกวิธีมีความคลาดเคลื่อนสูงขึ้นหากรถบรรทุกแล่นข้ามสะพานด้วยความเร็วที่มากขึ้น โดยผลการหาน้ำหนักรถบรรทุกพบความคลาดเคลื่อนในเพลาหน้า เพลาหลัง และน้ำหนักบรรทุกรวมของแต่ละวิธีมีค่าเท่ากับ ±71%, ±10% และ±9% สำหรับวิธีเส้นอิทธิพลจากทฤษฎีแบบสถิต ±85%, ±12% และ±10% สำหรับวิธีเส้นอิทธิพลจากทฤษฎีแบบพลวัต ±57%, ±6% และ±10% สำหรับวิธีเส้นอิทธิพลจากการตรวจวัดโดยตรง แม้ทั้ง 3 วิธีให้ค่าความเคลื่อนของน้ำหนักบรรทุกรวมที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักบรรทุกรวมในทุกกรณีที่ทดสอบมีค่าไม่เกิน ±10% แต่จากผลการศึกษาเปรียบเทียบพบค่าความคลาดเคลื่อนในเพลาหน้าและเพลาหลังนั้นวิธีเส้นอิทธิพลจากการตรวจวัดโดยตรงให้แนวโน้มความคลาดเคลื่อนต่ำกว่าอีกสองวิธี จากผลการศึกษาที่ได้รับในงานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวิธีการหาน้ำหนักรถบรรทุกทั้ง 3 วิธี ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบแม้ไม่พบความแตกต่างในประสิทธิภาพที่มีนัยสำคัญ แต่หากพิจารณาถึงความสะดวกในการประยุกต์ใช้พบว่าวิธีเส้นอิทธิพลจากการตรวจวัดโดยตรงจะมีข้อดีเหนือกว่าวิธีการอื่น เพราะสามารถสะท้อนพฤติการณ์แท้จริงของสะพาน เช่น สภาพของฐานรองรับสะพาน ได้ถูกต้องกว่าวิธีการอื่นและมีแนวโน้มที่จะให้ค่าน้ำหนักบรรทุกในแต่ละเพลาที่ถูกต้องกว่าen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis studies on the weight identification of a truck while it is moving on bridge by field testing. The strain signals at bridge mid-span are used as input data. Although many identification methods have been proposed, their comparisons based on actual bridge data are not clearly addressed especially their accuracy. This study compares identification methods using 3 different influence lines including the theoretical static influence line, the theoretical dynamic influence line and the influence line from direct measurements. From 18 cases of field tests on an actual bridge, it is found that the 3 methods provide sufficient accuracy on truck weight identification. The identification errors become larger as the truck’s speeds increase. The errors of front axle, rear axle and total truck weights are found to be, respectively, within ±71%, ±10% and ±9% for the theoretical static influence line, ±85%, ±12% and ±10% for the theoretical dynamic influence line, ±57%, ±6% and ±10% for the influence line from direct measurements. Although the errors of total truck weight identifications are all within ±10% without significant differences. The errors of front and rear axles are smaller using the influence line from direct measurements. These obtained results indicate the effectiveness of the three methods for truck weight identification. Although the significant differences of identification effectiveness are not clearly noticed. The application of the weight identification using the influence line from direct measurement seems to be more attractive since it can take into account real behavior of bridges such as support conditions. In addition, the method tends to provide higher accuracy of axle weight prediction.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.669-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความเครียดและความเค้น
dc.subjectสะพาน -- น้ำหนักจร
dc.subjectเส้นอิทธิพล
dc.subjectStrains and stresses
dc.subjectBridges -- Live loads
dc.subjectInfluence lines
dc.titleการเปรียบเทียบวิธีการหาน้ำหนักรถบรรทุกจากผลตอบสนองของสะพานด้วยการทดสอบภาคสนามen_US
dc.title.alternativeCOMPARISON OF TRUCK WEIGHT IDENTIFICATIONS METHODS FROM BRIDGE RESPONSE BY FIELD TESTINGen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortospol.p@chula.ac.th,tospol.pink@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.669-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470282921.pdf6.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.