Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45952
Title: ผลของสารสกัดกวาวเครือขาว Pueraria mirifica ต่อเนื้อเยื่อกระดูกของกบนา Hoplobatrachus rugulosus ระยะโตเต็มวัย
Other Titles: EFFECTS OF WHITE KWAO KRUA Pueraria mirifica EXTRACT ON BONE TISSUE OF ADULT RICE FIELD FROG Hoplobatrachus rugulosus
Authors: ชัญญาพัชญ์ แสนเทศธัญวัฒน์
Advisors: วิเชฏฐ์ คนซื่อ
นพดล กิตนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: wichase.k@chula.ac.th
Noppadon.K@Chula.ac.th
Subjects: กบ
กระดูก -- โรค
สารสกัดจากพืช
Frogs
Bones -- Diseases
Plant extracts
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันมีการศึกษาผลของสารสกัดหยาบกวาวเครือขาว Pueraria mirifica (PM) ต่อเนื้อเยื่อกระดูกของสัตว์เลือดอุ่นได้แก่ หนูและลิงเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่พบการศึกษาในสัตว์เลือดเย็น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดหยาบกวาวเครือขาวต่ออัตราส่วนเพศ การเติบโต ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนและความหนาแน่นและเนื้อเยื่อกระดูกของกบนา Hoplobatrachus rugulosus โดยสกัดผงกวาวเครือขาวด้วย 95% เอทานอลด้วยวิธีซอกซ์เลต ซึ่งได้เปอร์เซ็นต์การสกัดเท่ากับร้อยละ 4.79 เมื่อนำไปวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อหาปริมาณสารไฟโตเอสโตรเจนด้วยเครื่องโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงและตรวจสอบฤทธิ์เชิงเอสโตรเจนด้วยวิธี vaginal cytology assay และ uterotrophic assay พบว่ามีสาร puerarin, daidzin, genistin, daidzein และ genistein ปริมาณ 7.49, 0.71, 0.56, 0.78 และ 0.00 มิลลิกรัมต่อสารสกัดหยาบ 100 กรัมตามลำดับ และมีฤทธิ์เชิงเอสโตรเจนต่อหนูแรทเพศเมียที่ตัดรังไข่ หลังจากนั้นนำสารสกัดหยาบกวาวเครือขาวเคลือบลงบนอาหารที่ใช้เลี้ยงกบนา 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม control, กลุ่ม positive control (E2), PM10 (10 ppm), PM100 (100 ppm) และ PM1000 (1000 ppm) ตั้งแต่ระยะเมตามอโฟซิสสมบูรณ์ (complete metamorphosis) จนอายุ 3 เดือนใน 2 ช่วงฤดูกาลคือในฤดูสืบพันธุ์ (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม) และนอกฤดูสืบพันธุ์ (เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม) ผลการศึกษาพบว่า 1) สารสกัดหยาบกวาวเครือขาวทำให้เกิดภาวะเพศกำกวม (intersex) ในกบนาทั้งในและนอกฤดูสืบพันธุ์ และทำให้น้ำหนักและความยาวจากปลายปากถึงรูทวารของกบนาเพศเมียในกลุ่ม PM100 ที่เลี้ยงในฤดูสืบพันธุ์มีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังมีผลทำให้ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือดของกบนาเพศเมียในกลุ่ม PM1000 มีค่ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในฤดูสืบพันธุ์และปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือดของกบนาเพศเมียในกลุ่ม PM100 นอกฤดูสืบพันธุ์มีค่าน้อยอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบกวาวเครือขาวสามารถกระตุ้นหรือยับยั้งให้มีการผลิตเอสโตรเจนภายในร่างกายจากแหล่งต่าง ๆ ให้มากขึ้นหรือน้อยลงได้ 2) สารสกัดหยาบกวาวเครือขาวมีผลอ่อนต่อความหนาแน่นกระดูก โดยพบว่า ความหนาแน่นของกระดูกต้นขาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในและนอกฤดูสืบพันธุ์ ในขณะที่ความหนาแน่นของกระดูกปลายขาของกบนาเพศเมียในกลุ่ม PM10, PM100 และ PM1000 ที่ตำแหน่ง metaphysis มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในฤดูสืบพันธุ์ โดยพบว่าสารสกัดหยาบกวาวเครือขาวมีผลทำให้ความหนาแน่นกระดูกปลายขาของกบนาเพศเมียมีค่าน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจากการทดลองทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ผลของสารสกัดหยาบกวาวเครือขาวนั้นจะมีผลต่อกบนาเพศเมียมากกว่ากบนาเพศผู้ทั้งในและนอกฤดูสืบพันธุ์
Other Abstract: At present, effects of Pueraria mirifica (PM) crude extract on bone tissue has been well studied in endotherms such as rat and monkey, while little or no information is available for ectotherms. The current research thus aims to examine effects of the PM crude extract on sex ratio, growth, plasma estradiol level, bone mineral density (BMD) and bone tissue of the rice field frog Hoplobatrachus rugulosus. PM powder was extracted with 95% ethanol by a Soxhlet extractor. The extraction yield of PM was 4.79%. The crude extract was analyzed for phytoestrogens using high performance liquid chromatography and analyzed for estrogenic activity using vaginal cytology and uterotrophic assays. Chemical analyses showed that the crude extract composed of puerarin, daidzin, genistin, daidzein and genistein at the amounts of 7.49, 0.71, 0.56, 0.78 and 0.00 mg in 100 g of PM, respectively. The PM also showed positive estrogenic activity in ovariectomized rats. The extract was then coated onto commercial food pellets and fed to 5 experiment groups as follows: control (no crude extract), positive control (E2), PM10 (10 ppm crude extract), PM100 (100 ppm crude extract) and PM1000 (1,000 ppm crude extract) groups. Treatment started from a completed metamorphosis stage until the fully-grown stage for a period of 3 months in both breeding season (May to August) and Non-breeding season (September to December). The result showed that, firstly, the PM crude extract could induce the intersex in frogs in both seasons, significantly decrease the body weight and snout-to-vent length of female frogs in breeding season, significantly increase plasma estradiol level of female PM1000 frogs in breeding season, and significantly reduced plasma estradiol level of female PM100 frogs in non-breeding season. This suggested that effect of the PM crude extract on estradiol secretion in frog body could be both stimulation and suppression. Secondly, the result showed that the PM crude extract showed mild effect on bone mineral density with no significant effects on femoral bone in both seasons. Significant effects of the PM extract was found only in metaphysis of tibiofibular bone in female frogs in breeding season when treatment with PM10, PM100 and PM1000 significantly reduce BMD of the frogs. Overall, the PM crude extract showed greater effect in female frogs compared to male frogs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45952
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.681
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.681
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5471940323.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.