Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46116
Title: ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในการดำเนินชีวิตและมีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติผ่านการทำสวน
Other Titles: PSYCHOLOGICAL EXPERIENCE OF OLDER ADULTS WITH ACTIVE AGING ANDCONNECTEDNESS TO NATURE THROUGH GARDENING
Authors: ทิวาพร หงษ์ร่อน
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Nattasuda.T@Chula.ac.th,nattasuda.t@chula.ac.th
Arunya.T@Chula.ac.th
Subjects: การทำสวน
นันทนาการบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
จิตวิทยาการปรึกษา
Gardening
Recreational therapy for older people
Exercise for older people
Counseling psychology
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจและความหมายของความเชื่อมโยงกับธรรมชาติผ่านการทำสวนในผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในการดำเนินชีวิต โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุจำนวน 8 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบ 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การเห็นประโยชน์ของต้นไม้และการทำสวน ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อยคือ การรับรู้ว่าต้นไม้มีประโยชน์ต่อชีวิต การทำสวนเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายผู้สูงอายุ ต้นไม้และการทำสวนสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล และการปลูกต้นไม้มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (2) ความรู้สึกรักและผูกพันกับต้นไม้ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อยคือ ความรัก ความผูกพันกับต้นไม้ การใส่ใจดูแลอย่างเข้าใจ และการดูแลตระหนักถึงคุณค่าของต้นไม้ (3) ความสุขที่เกิดจากต้นไม้และการทำสวน ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ เป็นสุข คลายทุกข์ ขณะที่อยู่กับต้นไม้ สุขใจจากความงอกงาม และต้นไม้เป็นเพื่อนใจ คลายเหงาและปรับทุกข์ (4) มีต้นไม้เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ เรียนรู้ที่จะดูแลตนเอง เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเข้าใจและยอมรับ และเรียนรู้การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ และ (5) ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คน ชีวิต และธรรมชาติ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อยคือ การระลึกถึงเรื่องราวและบุคคลที่สำคัญในชีวิต สานสัมพันธ์กับคนใกล้ตัว และการเข้าถึงธรรมะและสัจธรรม มีการอภิปรายถึงแนวทางการนำไปใช้สำหรับนักจิตวิทยาการปรึกษาและผู้ที่ทำงานด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
Other Abstract: This qualitative study aimed to examine psychological experience and meaning of connectedness to nature through gardening in older adults with active aging. Interpretative phenomenological analysis (IPA) was employed in this research. Eight key informants selected by purposive sampling were interviewed and data were collected via in-depth interview. Finding revealed five main themes which are (1) Perceiving beneficial of horticulture and gardening, consisted of perceived how tree are useful for life, gardening is a suitable aerobic activity for aging, horticulture and gardening can fulfilled individual needs, and gardening has economic benefits (2) Feeling love and engage with horticulture, consisted of love and bond with horticulture, taking care with understanding, and taking care with appreciation in horticulture (3) Happiness derived through horticulture and gardening, consisted of feeling happy and relieving distress while being with horticulture, delightful from growth, and horticulture can be friend and help decrease loneliness and distress (4) Living a life like a tree, consisted of learn how to take care of themself, learn how to live with others peacefully, and learn how to live a useful life, and (5) Connecting to others, life and nature, consisted of reminding significant life story and people, enhancing relationship with others, and understanding dhamma and truth of life. Applications for counselors and mental health practitioners who work with older adults were discussed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46116
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.837
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.837
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577607638.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.