Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46177
Title: การกำจัดไอออนของเหล็กและนิกเกิลจากน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (สายพันธุ์ออสซิลลาทอเรีย)
Other Titles: Removal of iron and nickel ions from industrial wastewater by using blue green algae (Oscillatoria sp.)
Authors: ปารวีย์ ถนอมทรัพย์
Advisors: ณัฐพร โทณานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nattaporn.T@Chula.ac.th,Nattaporn.t@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (สายพันธุ์ออสซิลลาทอเรีย) ที่เจริญเติบโตได้ดีในระบบน้ำหล่อเย็นของโรงงานอุตสาหกรรมถูกใช้เป็นตัวดูดซับในกระบวนการกำจัดไอออนของเหล็กและนิกเกิลจากน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดไอออนของเหล็กและนิกเกิลด้วยสาหร่ายทั้งแบบสดและแบบแห้ง วัดความเข้มข้นของประจุโลหะในน้ำตัวอย่างด้วยเครื่อง ICP-OES วิเคราะห์โครงสร้างภายในเซลล์ ลักษณะพื้นผิวและหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิวด้วยเครื่อง TEM, SEM และ FTIR ตามลำดับ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณตัวดูดซับ ความเข้มข้นเริ่มต้นที่เหมาะสมของโลหะแต่ละชนิดและเวลาที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการกำจัดโลหะด้วยสาหร่ายแบบแห้งคือ 5, 1 กรัมต่อลิตร, 30 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 1 ชั่วโมง ตามลำดับ ร้อยละการกำจัดเหล็กและนิกเกิลด้วยสาหร่ายที่แบบแห้งคือ 63.20 และ 8.47 ตามลำดับ สำหรับการกำจัดโลหะหนักด้วยสาหร่ายแบบสด เวลาที่เหมาะสมคือ 6 ชั่วโมงและความเข้มข้นเริ่มต้นที่เหมาะสมของโลหะแต่ละชนิดคือ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละการกำจัดเหล็กและนิกเกิลด้วยสาหร่ายที่มีชีวิตคือ 99.83 และ 75.27 ตามลำดับ
Other Abstract: The blue green algae (Oscillatoria sp.) that thrive in the cooling water system of the industrial factory was used as absorbent in the process of iron and nickel ions removal from synthetic and industrial wastewater in order to study the optimum conditions of iron and nickel ions removal by using algae both living and dead cells. The concentrations of metal ions were measured in the aqueous samples by using ICP-OES. For intracellular structure, surface morphology and surface functionality were analyzed by TEM, SEM and FTIR, respectively. The optimum pH, biosorbent dosage, initial concentration of each ion and contact time for metal removal process by dead cell are 5, 1 g/L, 30 mg/L and 1 hour, respectively. The percentages of iron and nickel ions removal by dead cell are 63.20 and 8.47, respectively. For living cell, the optimum contact time for metal removal process is 6 hours and the suitable initial concentration of each ion is 10 mg/L. The percentages of iron and nickel ions removal by living cell are 99.83 and 75.29, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46177
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670280821.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.