Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46250
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์en_US
dc.contributor.authorพรรณธิภา บริกัปปกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:28Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:28Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46250
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัจจัยที่อาจมีผลต่อความแม่นยำในการทำนายวันคลอด โดยใช้สูตรทำนายจากการวัดขนาดกะโหลกลูกสุนัขด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในสุนัขสายพันธุ์เล็ก (น้ำหนักต่ำกว่า 11 กิโลกรัม) ของ Luvoni and Grioni (2000) ทำการศึกษาในสุนัข 95 ตัว ประกอบด้วย 9 สายพันธุ์ จากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง 138 ครั้ง เพื่อประเมินปัจจัยทางด้านสรีรวิทยา ได้แก่ อายุแม่สุนัข น้ำหนักตัวแม่สุนัขในช่วงปกติ จำนวนลูกต่อครอก และอายุการตั้งท้องในขณะที่ทำการตรวจ รวมถึงปัจจัยทางเทคนิคในการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ได้แก่ ความสามารถในการวัดซ้ำในตัวผู้ตรวจคนเดียวกัน 2 ครั้ง ความสามารถในการวัดซ้ำระหว่างผู้ตรวจ 2 คน และจำนวนลูกที่ทำการวัด (1 ตัว หรือ มากกว่า 1 ตัว) ผลการศึกษาพบความคลาดเคลื่อนในการทำนายวันคลอดเพียงเล็กน้อย (1.22±1.37 วัน) และมีเพียงปัจจัยจากอายุเท่านั้นที่มีผลต่อจำนวนวันที่คลาดเคลื่อนในการทำนายวันคลอด (r=0.225 และ p=0.008) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์ความสามารถในการวัดซ้ำในตัวผู้ตรวจคนเดียวกัน 2 ครั้ง (p=0.542) ความสามารถในการวัดซ้ำระหว่างผู้ตรวจ 2 คน (p=0.591) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการตรวจวัดขนาดกะโหลกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความเชื่อถือได้สูง รวมถึงจำนวนลูกที่ทำการวัดก็ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p=0.521) จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อหาสมการทำนายวันคลอดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆกับจำนวนวันก่อนคลอด พบว่ามี 3 ปัจจัย ที่มีผลต่อจำนวนวันก่อนคลอด ได้แก่ ขนาดกะโหลกลูกสุนัข (p<0.0001) น้ำหนักแม่สุนัขในช่วงปกติ (p<0.0006) และอายุการตั้งท้องในขณะที่ทำการตรวจ (p<0.0001) ถึงแม้ว่าการวัดขนาดกะโหลกลูกสุนัขเพื่อทำนายวันคลอดมีความน่าเชื่อถือสูงและสูตรคำนวณของ Luvoni and Grioni (2000) ที่ใช้ในการศึกษานี้สามารถใช้ทำนายวันคลอดได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจัยด้านอายุของแม่สุนัขก็มีผลต่อความคลาดเคลื่อนในการทำนายจากสูตรดังกล่าวen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to evaluate factors contributing to errors of predicting parturition date using fetal biparietal diameter (BPD) measurement substituted into Luvoni and Grioni (2000) formula for small-sized bitches (1-11 kg). In a group of 95 pregnant bitches consisting of 9 breeds, 138 ultrasound scans were performed to determine if physiological factors including maternal age, body weight before mating (BW), litter size (LS) and gestational age (GA) as well as technical factors (intraobserver / interobserver reproducibility of BPD measurement and the number of BPD measurement) affected the errors of predicting parturition date. Overall, errors of predicting parturition date in this study population was small (1.22±1.37 days). The results showed that only maternal age had a positive correlation with an error of parturition prediction (r=0.225, p=0.008). No significant differences were found regarding intraobserver (p=0.542) and interobserver reproducibility (p=0.591) of BPD measurement, suggesting that ultrasound measurement of BPD is highly reliable. The number of BPD measurement (1 or a mean number) substituted into the formula had no effect on an error of predicting parturition date (p=0.521). Multiple regression analysis revealed that BPD (p<0.0001), BW (p<0.0001) and GA (p<0.0001) effected the number of days before parturition (DBP) but not LS (p=0.15) and maternal age (p=0.08). In conclusion, BPD was highly effective in predicting parturition date in small-sized dogs and the formula used in this study provided satisfactory prediction of parturition, the effect of maternal age should be taken into consideration.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1123-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสุนัข--ครรภ์
dc.subjectการดูภาพด้วยคลื่นเหนือเสียง
dc.subjectDogs -- Pregnancy
dc.subjectUltrasonic imaging
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความแม่นยำในการทำนายวันคลอดโดยการวัดขนาดกะโหลกลูกสุนัขด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงen_US
dc.title.alternativeFACTORS AFFECTING THE ACCURACY OF PARTURITION DATE PREDICTION BY CANINE FETAL BIPARIETAL DIAMETER MEASUREMENT USING ULTRASONOGRAPHYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuppawiwat.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1123-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5675311531.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.