Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46285
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลวรรณ ตังธนกานนท์en_US
dc.contributor.authorมาฆพันธุ์ อ่ำนาคิลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:45Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:45Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46285
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อยในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ (2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อยในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ (3) เพื่อเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน ภายใต้จำนวนเหตุการณ์ที่ต่างกันโดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และวิธีการตรวจให้คะแนน 3 วิธี คือ 1. วิธีการตรวจให้คะแนนตามแบบของ Knox 2. วิธีการตรวจให้คะแนนตามแบบของ Feletti และ 3. วิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย (analytic method) สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ Cronbach’s alpha, Pearson’s Product Moment Correlation และ G-Coefficient ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) วิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อยในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมี 3 องค์ประกอบ คือ ความถูกต้องของเนื้อหา การเข้าใจในสิ่งที่ต้องการวัด และการจัดเรียบเรียงความคิด (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย พบว่า วิธีการให้คะแนนตามแบบวิเคราะห์ย่อยที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อคำถามและแนวคำตอบ intra rater reliability และ inter rater reliability มีค่าสูง (3) ผลเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน ภายใต้จำนวนเหตุการณ์ที่ต่างกัน พบว่า แบบสอบที่พัฒนาขึ้น โดยมีจำนวนเหตุการณ์ 5 เหตุการณ์นั้น แบบสอบที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเชิงตัดสินใจสัมพันธ์ (Relative Coefficient) และค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเชิงตัดสินใจสัมบูรณ์ (Absolute Coefficient) สูงที่สุด (r 2Rel = 0.7709, r 2Abs = 0.7239 ตามลำดับ) รองลงมาคือแบบสอบที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนตามแบบของ Knox (r 2Rel = 0.7271, r 2Abs = 0.6511 ตามลำดับ) และสุดท้ายคือ แบบสอบที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนตามแบบของ Feletti (r 2Rel = 0.5751, r 2Abs = 0.5020 ตามลำดับ) และการศึกษาเพื่อการตัดสินใจการสรุปอ้างอิง โดยมีเงื่อนไขในการวัดคือ จำนวนเหตุการณ์ ซึ่งแบบสอบในแต่ละฉบับจะมีจำนวนเหตุการณ์ ดังนี้ คือ 7, 9, 11, 13 และ 15 เหตุการณ์ พบว่า ความเที่ยงของวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย มีค่าความเที่ยงสูงสุดในทุกเงื่อนไขจำนวนเหตุการณ์ และมีค่าความเที่ยงสูงขึ้นเมื่อจำนวนเหตุการณ์เพิ่มขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to develop an analytic scoring method of modified essay question test for measuring scientific problem solving ability, 2) to study the quality of the analytic scoring method of modified essay question test for measuring scientific problem solving ability, and 3) to compare the reliability of the modified essay question test for measuring scientific problem solving ability using difference scoring methods under difference numbers of event by an application of Generalizability Theory. Sample were 91 students in the eighth grade. Research instruments were modified essay question test for measuring scientific problem solving ability and 3 scoring methods, i.e., Knox scoring method, Feletti scoring method, and analytic scoring method. Cronbach’s alpha, Pearson’s Product Moment Correlation and G–Coefficient were used to analyze the data. It was found that 1) The developed analytic scoring methods of modified essay question test for measuring scientific problem solving ability comprised of 3 elements, i.e., accuracy of the content, comprehension of the measured content, and organizing ideas. 2) Analytic scoring method developed are consistent with the questions and the answers. Intra rater reliability and inter rater reliability were high indicating that the developed scoring method had an objectivity, 3) Result of the comparisons of reliability of modified essay question test for measuring scientific problem solving ability using difference scoring methods under difference numbers of event revealed the test was developed on 5 events, the test was corrected by the analytic scoring method had highly on relative coefficient and absolute coefficient. (r 2Rel =0.7709, r 2Abs = 0.7239) The second was corrected by the Knox scoring method (r 2Rel =0.7271, r 2Abs = 0.6511) and the last one was corrected by the Feletti scoring method. (r 2Rel =0.5751, r 2Abs = 0.5020) The study of D-study was condition corrected on numbers of event. Each paper had numbers of event like these : 5, 7, 9, 11, 13 and 15 revealed reliability of the analytic scoring method was highest in all of the conditions and the reliability was higher when numbers of event increased.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1152-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectข้อสอบอัตนัย
dc.subjectการแก้ปัญหา
dc.subjectความสามารถทางวิทยาศาสตร์
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษา
dc.subjectEssay test
dc.subjectProblem solving
dc.subjectScientific ability
dc.titleการเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน ภายใต้จำนวนเหตุการณ์ที่ต่างกัน:การประยุกต์ใช้ทฤษฏีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดen_US
dc.title.alternativeCOMPARISON OF RELIABILITY OF MODIFIED ESSAY QUESTION TEST FOR MEASURING SCIENTIFIC PROBLEM SOLVING ABILITY USING DIFFERENT SCORING METHODS UNDER DIFFERENT NUMBERS OF EVENT: AN APPLICATION OF GENERALIZABILITY THEORYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKamonwan.T@Chula.ac.th,tkamonwan@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1152-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683866827.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.