Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46303
Title: การสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ของหน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Other Titles: EXPERIENTIAL MARKETING COMMUNICATIONS OF CREATIVE ECONOMY PROMOTION ORGANIZATION
Authors: วรงรอง เลื่อนลอย
Advisors: นภวรรณ ตันติเวชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Napawan.T@Chula.ac.th,napawan.t@gmail.com
Subjects: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
การสื่อสารทางการตลาด
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
การรับรู้
พฤติกรรมผู้บริโภค
Thailand Knowledge Park (TK Park)
Thailand Creative & Design Center (TCDC)
Communication in marketing
Instructional materials centers
Perception
Consumer behavior
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ของหน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์และศึกษาการรับรู้ต่อการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ของหน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งผู้วิจัยศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ของหน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2 หน่วยงาน คือ สำนักอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) และ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จำนวน 5 คน และผู้ใช้บริการหน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ดังกล่าว จำนวน 19 คน ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า หน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง 2 แห่งมีการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ โดยการสร้างประสบการณ์แบบผสมผสานผ่านแนวทางการสร้างประสบการณ์ 4 มิติ ประกอบด้วย มิติทางความรู้สึก (Sensual dimension) ซึ่งหน่วยงานสร้างประสบการณ์ด้วยการใช้สิ่งเร้าที่หน่วยงานออกแบบไว้ผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสหลักๆ ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส ในด้านมิติทางความคิด (Cognitive dimension) หน่วยงานสร้างประสบการณ์ผ่านสื่อการเรียนรู้ การนำเสนอนิทรรศการและกิจกรรม ในด้านมิติทางสังคม (Social dimension) หน่วยงานสร้างประสบการณ์ผ่านการสร้างการรวมกลุ่มและชุมชนของผู้ใช้บริการ และมิติทางความสัมพันธ์ (Relation dimension) หน่วยงานสร้างประสบการณ์ผ่านบุคลากรและการให้ข้อมูลต่างๆของหน่วยงานผ่านสื่อที่หลากหลาย โดยอุทยานการเรียนรู้เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ผู้ใช้บริการจะได้สัมผัสแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวาในบรรยากาศผ่อนคลายและกระตือรือร้น ในขณะที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่าย เลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจ ด้วยการนำเสนอความรู้เฉพาะทาง คือ ด้านการออกแบบ ผู้ใช้บริการของหน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง 2 แห่งมีการรับรู้ต่อการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ทั้ง 4 มิติ ผ่านเครื่องมือในการสร้างประสบการณ์ (Experience provider-Expros) ที่สำคัญ คือ การออกแบบสภาพแวดล้อม (Spatial environment) การนำเสนอนิทรรศการและกิจกรรม (Product presence) และบุคลากร (People) ซึ่งเป็นการรับรู้ที่เกิดจากการผสมผสาน เชื่อมโยงและต่อยอดมิติประสบการณ์ทั้งสี่มิติเข้าด้วยกัน
Other Abstract: This research aims to study the experiential marketing communications of Creative Economy Promotion Organizations and the consumers’ perception towards the organizations’ experiential marketing communications. The research employs qualitative methods using documentary research and observation. In-depth interview of five directors from the Creative Economy Promotion Organizations; Thailand Knowledge Park (TK Park) and Thailand Creative & Design Center (TCDC), and nineteen consumers who are the organizations’ current users are used. The result reveals that both Creative Economy Promotion Organizations use the experiential marketing communications to create an integrated consumer experience through their designated stimulus of four dimensions; firstly, the sensual dimension by creating atmospheric experience through human senses, mainly sight, hearing, touching, secondly cognitive dimension by providing learning materials, presenting exhibitions and events, thirdly social dimension by building the gathering group and learning community of users, lastly relation dimension by emphasizing the service quality of the organizations’ staff, and providing the organizations’ information through various media. TK Park focuses on creating users learning experience through lively, relaxing, and energetic atmosphere while TCDC emphasizes the learning experience through its easy access to knowledge, users’ active learning and its expertise of being the design-related learning hub. The users gain their learning experience through the association and integration of the four dimensions of experiential marketing communications through spatial environment design, exhibitions and events, and personnel of both TK Park and TCDC.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46303
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1164
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1164
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684688628.pdf11.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.