Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46435
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์en_US
dc.contributor.advisorวิฑูรย์ โล่ห์สุนทรen_US
dc.contributor.advisorณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรมen_US
dc.contributor.authorกัญญาลักษณ์ ณ รังษีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:39:11Z
dc.date.available2015-09-19T03:39:11Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46435
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นของหญิงตั้งครรภ์ต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ และการคลอดก่อนกำหนด ความชุกของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ภาวะง่วงมากกว่าปกติในเวลากลางวัน และคุณภาพการนอนหลับของหญิงตั้งครรภ์ ใช้การศึกษารูปแบบ Prospective cohort study ในอาสาสมัครจำนวน 1,485 คน เป็นหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีอายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์ เข้ารับบริการดูแลการตั้งครรภ์ ณ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลในเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5 แห่ง อาสาสมัครจะตอบแบบประเมินด้วยตนเอง ในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสที่ 1-3 โดยประเมินความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ภาวะง่วงมากกว่าปกติในเวลากลางวัน และคุณภาพการนอนหลับ ด้วยแบบประเมิน Berlin แบบประเมิน Epworth Sleepiness Scale และแบบประเมิน Pittsburgh Sleep Quality Index ตามลำดับ ใช้สถิติถดถอยโลจิสติกส์ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์และควบคุมตัวแปรกวน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นและควบคุมตัวแปรกวนแล้ว หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นซึ่งใช้ผลการประเมินในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสที่ 2 มีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ 2.72 เท่า (95% confidence interval [CI]: 1.33, 5.57) และคลอดก่อนกำหนด 2.00 เท่า (95% CI: 1.20, 3.34) ตามลำดับ ในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสที่ 1-3 หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร้อยละ 8.6, 10.2 และ 18.1 มีภาวะง่วงมากกว่าปกติในเวลากลางวันร้อยละ 25.2, 32.7 และร้อยละ 38.0 และมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีร้อยละ 39.7, 40.0 และ 61.1 ตามลำดับ สรุป ผลการศึกษาครั้งนี้น่าจะสร้างความตระหนักต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ทั้งนี้ไม่เฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ แต่รวมทั้งในบุคลากรทางการแพทย์ การเฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษและการคลอดก่อนกำหนดen_US
dc.description.abstractalternativeThis study sought to evaluate the risk of obstructive sleep apnea (OSA) of pregnancy to pre-eclampsia (PE), and preterm delivery (PTD); and to determine the prevalence of high risk for OSA (HR-OSA), excessive daytime sleepiness (EDS), and sleep quality (SQ) across three trimesters of pregnancy. Methods: A prospective cohort study was conducted among 1,485 women presenting to the routine five antenatal care clinics affiliated with Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Women who initiated antenatal care prior to 20 weeks were invited to participate in the study, completing a set of questionnaires in each of the three trimesters of pregnancy, including Berlin Questionnaire, Epworth Sleepiness Scale, and Pittsburgh Sleep Quality Index, and followed up until delivery. Multivariate models were applied in controlling for potential confounders. Results: Compared with pregnant women with low risk for OSA (LR-OSA), adjusted odds ratios for PE, and PTD in pregnant women with HR-OSA screening during the second trimester were, 2.72 (95% confidence interval [CI]: 1.33, 5.57), and 2.00 (95% CI: 1.20, 3.34), respectively. The frequency of the HR-OSA, EDS, and poor SQ were reported by 8.6%, 10.2%, and 18.1%; 25.2%, 32.7% and 38.0%; and 39.7%, 40.0%, and 61.1% of pregnant women during the three trimesters, respectively. Conclusion: The result of this study, given the relevance of OSA, it is important to increase awareness among not only the pregnant, but also the medical personnel. Monitoring of pregnant women with HR-OSA would decrease the risk of PE, and PTD.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1228-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
dc.subjectการนอนหลับ
dc.subjectสตรีมีครรภ์
dc.subjectความง่วง
dc.subjectความเครียด (สรีรวิทยา)
dc.subjectครรภ์เป็นพิษ
dc.subjectความดันเลือดสูงขณะมีครรภ์
dc.subjectSleep apnea syndromes
dc.subjectSleep
dc.subjectPregnant women
dc.subjectDrowsiness
dc.subjectStress (Physiology)
dc.subjectToxemia of pregnancy
dc.subjectHypertension in pregnancy
dc.titleผลของความผิดปกติของการหายใจขณะหลับต่อผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ในการตั้งครรภ์en_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF SLEEP-DISORDERED BREATHING ON ADVERSE PREGNANCY OUTCOMESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomrat.L@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorVitool.L@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorNattapong.J@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1228-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474902030.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.