Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46449
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์en_US
dc.contributor.advisorพงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์en_US
dc.contributor.authorนิศากร ตันติวิบูลชัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:39:22Z
dc.date.available2015-09-19T03:39:22Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46449
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเต้นมวยไทยแอโรบิกร่วมกับการเสริมด้วยวิตามินดีและแคลเซียม ต่อสารชีวเคมีของกระดูก สุขสมรรถนะ และการทรงตัวในหญิงสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุเพศหญิง อายุระหว่าง 60-77 ปี ที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง ฝึกเต้นมวยไทยแอโรบิกร่วมกับการเสริมด้วยวิตามินดีและแคลเซียม (MADC) จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม ได้รับการเสริมด้วยวิตามินดีและแคลเซียม (DC) จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับวิตามิน D2 ขนาด 20,000 IU/สัปดาห์ และแคลเซียมคาร์บอเนต ขนาด 1,000 มก./วัน โดยให้รับประทานหลังอาหารมื้อเช้า กลุ่มทดลองฝึกเต้นมวยไทยแอโรบิกได้รับการฝึก 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 40 นาที เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ที่ระดับความหนัก 60-75% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด โดยใช้เครื่องรับสัญญาณชีพจรเป็นเครื่องบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย ส่วนในกลุ่มควบคุมสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ การทดสอบค่าสารชีวเคมีของกระดูก สุขสมรรถนะ และการทรงตัว ทำการทดสอบก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า: 1. การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง (MADC) และกลุ่มควบคุม (DC) หลังการทดลอง 16 สัปดาห์ พบว่า ค่าการสลายของกระดูก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก สุขสมรรถนะในด้านความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและขา ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต และการทรงตัว มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การเปรียบเทียบก่อน และหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ พบว่า ค่าการสลายของกระดูกในกลุ่ม MADC และกลุ่ม DC ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง ลดลง 27.2% และ 14.0% ตามลำดับ) ในกลุ่ม MADC พบว่า ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก สุขสมรรถนะ และการทรงตัวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก ลดลง 5.3% การนั่งงอตัว เพิ่มขึ้น 32.2% แรงบีบมือ เพิ่มขึ้น 14.5% การนั่งงอแขน เพิ่มขึ้น 20.6% การลุกนั่งเก้าอี้ เพิ่มขึ้น 36.6% สมรรถภาพการใช้ออกซิเจน เพิ่มขึ้น 16.8% การยืนขาเดียว เพิ่มขึ้น 74.2% และการลุกยืนและเดิน 3 เมตร ลดลง 20.8%) ส่วนในกลุ่ม DC พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในด้านสรีรวิทยาพื้นฐาน สุขสมรรถนะ และการทรงตัว สรุปได้ว่า: การเต้นมวยไทยแอโรบิกร่วมกับการเสริมด้วยวิตามินดีและแคลเซียมมีประสิทธิภาพในการลดการสลายของกระดูกมากกว่าการเสริมด้วยวิตามินดีและแคลเซียมอย่างเดียว รวมทั้งทำให้สุขสมรรถนะ และการทรงตัวดีขึ้น ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของการหกล้มในหญิงสูงอายุได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the effects of Muay Thai aerobic dance with vitamin D and calcium supplementation on biochemical bone markers, health-related physical fitness and body balance in elderly women. Forty elderly women who live in nursing home residents’ age 60-77 years old were voluntarily participated in the study. The subjects were divided into two groups: the experimental group performing Muay Thai aerobic dance and received supplementation (MADC, n=20) and the control group received only supplementation (DC, n=20). All subjects in the both groups took vitamin D2 20,000 IU/wk and calcium carbonate 1,000 mg/d after meal in the morning. The Muay Thai aerobic dance group wore heart rate monitor equipment during the exercise. The MADC group worked out 3 times a week, 40 minutes a day for 16 weeks with intensity of 60-75 % of maximum heart rate. The DC group engaged in routine physical activity. Biochemical bone markers, health-related physical fitness and body balance were collected before and after 16 weeks. The obtained data were analyzed in terms of mean, standard deviation, paired t test and one way analysis of covariance with the significant level of 0.05. The results were as follow: 1. After 16 weeks of training, bone resorption marker (CTx), systolic blood pressure, health-related physical fitness: flexibility, muscle strength and endurance of leg and arm, cardiorespiratory fitness and body balance had significant difference between the experimental group (MADC) and the control group (DC). 2. Before and after 16 weeks of training, bone resorption marker in the MADC and DC groups were significantly decreased (27.2% and 14.0% respectively). Health-related physical fitness and body balance in MADC group were significantly improved (systolic blood pressure = -5.3%, sit and reach = 32.2%, hand grip = 14.5%, arm curl = 20.6%, chair sit to stand = 36.6%, peak VO2 = 16.8%, single leg stand = 74.2% and time up and go = -20.8%) but there were no significant changes in the DC group. In conclusion: The Muay Thai aerobic dance with supplementation are more effective to reduce bone resorption than supplementation’s without exercise, including improve health-related physical fitness and body balance that may reduce the risk of falls in elderly women.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1238-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระดูกพรุน
dc.subjectมวยไทย
dc.subjectการเต้นแอโรบิก
dc.subjectวิตามินดี
dc.subjectแคลเซียม
dc.subjectการทรงตัว
dc.subjectสตรีสูงอายุ
dc.subjectOsteoporosis
dc.subjectMuay Thai
dc.subjectAerobic dancing
dc.subjectVitamin D
dc.subjectCalcium
dc.subjectEquilibrium (Physiology)
dc.subjectOlder women
dc.titleผลของการฝึกเต้นมวยไทยแอโรบิกร่วมกับการเสริมด้วยวิตามินดี และแคลเซียมต่อสารชีวเคมีของกระดูก สุขสมรรถนะ และการทรงตัวในหญิงสูงอายุen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF MUAY THAI AEROBIC DANCE TRAINING WITH VITAMIN D AND CALCIUM SUPPLEMENTATION ON BIOCHEMICAL BONE MARKERS, HEALTH-RELATED PHYSICAL FITNESS AND BODY BALANCE IN THE ELDERLY WOMENen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThanomwong.K@Chula.ac.th,tkritpet@yahoo.comen_US
dc.email.advisorPongsak.Y@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1238-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478608339.pdf15.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.