Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46474
Title: | ผลของการใช้ผังกราฟิกบนเว็บ 2.0 ในการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | EFFECTS OF USING GRAPHIC ORGANIZERS ON WEB 2.0 VIA BLENDED PROBLEM-BASED LEARNING UPON PROBLEM SOLVING ABILITY IN BIOLOGY OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | ปิยะดา ขุนเพชรวรรณ |
Advisors: | พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ptantrar@gmail.com,pornsook.t@chula.ac.th |
Subjects: | การแก้ปัญหา การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน การทำงานกลุ่มในการศึกษา การเรียนการสอนผ่านเว็บ การเรียนรู้แบบผสมผสาน ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) Problem solving Problem-based learning Group work in education Web-based instruction Blended learning Biology -- Study and teaching (Secondary) |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้ผังกราฟิกบนเว็บ 2.0 ในการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระหว่างการใช้ผังกราฟิกบนเว็บ 2.0 ในการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก กับการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ที่เรียนในรายวิชา ชีววิทยา เรื่อง มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนทั้งสิ้น 71 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนที่เรียนโดยใช้ผังกราฟิกบนเว็บ 2.0 ในการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกบนเว็บ 2.0 ในการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก 2) เว็บการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกบนเว็บ 2.0 ในการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 4) แบบสังเกตการร่วมมือในการทำงานกลุ่ม 5) แบบประเมินผังกราฟิกบนเว็บ 2.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลอง มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลอง มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนโดยส่วนใหญ่ ที่คะแนนเฉลี่ย 2.56 อยู่ในระดับพฤติกรรมการทำงานกลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ |
Other Abstract: | The purposes of research were to 1) study the effects of using graphic organizers on web 2.0 via blended problem-based learning upon problem solving ability 2) compare the problem solving ability between the students studied via blended problem-based learning with graphic organizers on web 2.0 and the students studied via blended problem-based learning 3) study the teamwork behavior of students. The samples were 71 tenth grade students of Bodindecha (Sing Singhaseni) 4 School. The students were divided into 2 groups: 34 students in experimental group studied via blended problem-based learning with graphic organizers on web 2.0 and 37 students in control group studied via blended problem-based learning. The instruments of research were 1) 6-weeks lesson plan 2) web-based learning with graphic organizers 3) the problem solving ability test 4) teamwork behavior observation form, and 5) graphic organizers on web 2.0 evaluation form. Data was analyzed by using the descriptive statistics and the t-test. The results were as follows: 1) There was a statistically significant difference in problem solving ability of students (experimental group) between pretest and posttest at the significance level of .05. 2) There wes a statistically significant difference in problem solving ability between experimental group and control group at the significance level of .05. 3) The experimental group with students who communicated regularly with team members has a mean score of teamwork behavior of 2.56. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46474 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1257 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1257 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5483387327.pdf | 14.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.