Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46547
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้ความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทย: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัด
Other Titles: DEVELOPMENT OF CIVIC ENGAGEMENT INDICATORS FOR THAI STUDENTS: TESTING MEASUREMENT INVARIANCE
Authors: ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.com
Subjects: นักศึกษา -- ไทย
พลเมืองไทย
หน้าที่พลเมือง
Students -- Thailand
Civics, Thai
Service learning
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทย 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทยที่มีที่ตั้งของโรงเรียนต่างกัน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก เป็นการตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ตามกรอบแนวคิดเบื้องต้นโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และระยะที่สอง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับนักเรียนจำนวน 1398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้ความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 11 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ด้านความรู้เกี่ยวกับความเป็นพลเมือง ประกอบด้วย 1 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรู้ในหลักการของระบอบประชาธิปไตย 2) ด้านทักษะเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสังคม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแก้ปัญหาของสังคม 3) ด้านเจตคติต่อความเป็นพลเมือง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความภาคภูมิใจในสังคม และจิตสำนึกความเป็นพลเมือง และ 4) ด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคม การใช้สิทธิและปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองที่มีต่อสังคม และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2. โมเดลตัวบ่งชี้ความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ = 45.97, df = 32, p = 0.06, GFI = 0.99, AGFI = 0.99 และ RMSEA = 0.02 3. โมเดลตัวบ่งชี้ความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทย มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างนักเรียนในเขตเมืองกับนักเรียนนอกเขตเมือง แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละตัวบ่งชี้ และค่าน้ำหนักขององค์ประกอบหลักทุกองค์ประกอบ
Other Abstract: This research aims to 1) develop civic engagement indicators for Thai students 2) validate model civic engagement indicators for Thai students 3) test the invariance of the model across urban and suburban settings. The research was divided into two phases. The first phase focused on factors and indicators of civic engagement for Thai students by interviewing 11 experts. The first round used structured interviews. Data analysis was done through content analysis. The second phase focused on the validation and invariance test of the civic engagement indicator model. 1,398 students participated in this research. The tool used in the second phase was a questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics (mean, SD, skewness, kurtosis and CV) and Pearson’s correlation. Second order confirmatory factor analysis and multiple group structural equation model analysis was done using LISREL. The result were as follows: 1. The indicators of civic engagement for Thai students consist of four factors: 1) civic knowledge, 2) civic skills, 3) civic attitudes and 4) civic behaviors. The first factor consisted of one indicator- knowledge of democratic principles. The second factor consisted of four indicators - accessing news and information, critical thinking, collaboration and social problem solving. The third factor consisted of three indicators - feeling a part of society, being proud of society and civic consciousness. The fourth factor consisted of three indicators -social development participation, exercising rights and carrying out civic functions, and self and social responsibilities. 2. The civic engagement indicator model for Thai students found that the model fits the empirical data (chi-square = = 45.97, df = 32, p = 0.06,GFI = 0.99, AGFI = 0.99 and RMSEA = 0.02). 3. The civic engagement indicator model for Thai students indicated invariance of the model form across urban and suburban settings, but the model indicated variance of the factor loading of each indicator and the factor loading of civic knowledge, civic skills, civic attitudes and civic behaviors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46547
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1306
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1306
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583807727.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.