Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46586
Title: การศึกษาการตรวจวัดค่าสารประกอบ (1,3) เบต้าดีกลูเคนในเลือดผู้ป่วยสำหรับใช้ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดและผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: (1,3) β-D-GLUCAN FOR DIAGNOSIS OF INVASIVE FUNGAL INFECTIONS IN HEMATOLOGIC MALIGNANCY AND HEMATOPOIETIC STEM CELLTRANSPLANTATION PATIENTS IN KING CHULALONGKORNMEMORIAL HOSPITAL (KCMH)
Authors: สุรัตน์ วรรณเลิศสกุล
Advisors: กมลวรรณ จุติวรกุล
อริยา จินดามพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: kamojuti@gmail.com
Ariya.C@Chula.ac.th
Subjects: กลูแคน
มัยโคสิส
เลือด -- โรค -- ผู้ป่วย
ไขกระดูก -- การปลูกถ่าย -- ผู้ป่วย
Glucans
Mycoses
Blood -- Diseases -- Patients
Bone marrow -- Transplantation -- Patients
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: โรคติดเชื้อราชนิดลุกลามยังคงเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน และพบว่าภาวะนี้มีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดที่กำลังอยู่ในภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลในเลือดต่ำ (neutropenia) หรือผู้ป่วยที่กำลังได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก ปัญหาสำคัญคือความล่าช้าในการวินิจฉัย และนำไปสู่การให้การรักษาที่ล่าช้าตามมา การตรวจวัดค่า (1,3) ß-D-glucan (BG) ในเลือดผู้ป่วยเป็นการทดสอบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อพยายามมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามแม้ว่าการตรวจวัดค่า BG จะเริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่สำหรับประเทศไทยนั้นยังจำกัดอยู่เฉพาะในงานวิจัยและยังขาดข้อมูลการวิเคราะห์ค่าความสามารถต่างๆ ของการทดสอบในกลุ่มผู้ป่วยไทย วัตถุประสงค์: งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาการตรวจวัดค่า BG ในแง่การวิเคราะห์ค่าความไวและความจำเพาะของการทดสอบ สำหรับใช้ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดที่กำลังมีภาวะ neutropenia และผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูก ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2557 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 โดยตรวจติดตามผู้ป่วยตลอดช่วงที่เข้ารับการรักษา เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการหรืออาการแสดงต่างๆที่ทำให้สงสัยว่าจะมีโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามเกิดขึ้นแล้ว ก็ทำการเก็บเลือดผู้ป่วยเพื่อตรวจวัดค่า BG และตรวจติดตามต่อว่ามีผู้ป่วยรายใดบ้างที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามตามเกณฑ์ของ European Organization for Research and Treatment of Cancer/Mycoses Study Group (EORTC/MSG) ปี 2008 วิธีการศึกษา: โดยเก็บรวบรวมผู้ป่วยได้ทั้งหมด 46 ราย พบว่ามีผู้ป่วย 17 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามคิดเป็นร้อยละ 37 จากผู้ป่วยทั้งหมด โดยผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นระดับ proven invasive fungal infections (IFIs) จำนวน 5 ราย และระดับ probable IFIs จำนวน 9 ราย การตรวจวัดค่า BG ในเลือดผู้ป่วยพบว่ามีค่าความไว (sensitivity), ค่าความจำเพาะ (specificity), ค่า positive predictive value (PPV), และค่า negative predictive value (NPV) ของเครื่องมือตรวจนี้อยู่ที่ร้อยละ 14.28, 96.87, 66.67, และ 72.09 ตามลำดับ และถ้าพิจารณาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามและมีผลการตรวจวัดค่า BG ในเลือดให้ผลบวกนั้น ผู้ป่วยจะให้ผลบวกค่า BG ในเลือดเร็วกว่าการตรวจวินิจฉัยโดยยึดตามเกณฑ์ของ EORTC/MSG ปี 2008 โดยเฉลี่ยประมาณ 3 วัน แต่ไม่มีความแตกต่างเชิงนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า P= 0.667 สรุปผลการศึกษา: โดยสรุปการตรวจวัดค่า BG ในเลือดผู้ป่วยเพียง 1 ครั้งอาจไม่เพียงพอ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดที่กำลังมีภาวะ neutropenia หรือกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูก เนื่องจากเครื่องมือการตรวจวัด BG ในเลือดผู้ป่วยมีค่าความไวในการตรวจที่จำกัด ดังนั้นจึงควรมีการตรวจติดตามค่า BG อีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3 ถ้าผู้ป่วยยังคงมีอาการหรืออาการแสดงที่ยังทำให้สงสัยโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามนี้อยู่
Other Abstract: Background: Diagnosis of invasive fungal infections (IFIs) is challenging. It remains a significant cause of morbidity and mortality in high risk patients, especially hematologic malignancy and hematopoietic stem cell transplants (HSCTs). The noninvasive diagnostic test, (1®3)-b-D glucan (BG) assay is a useful diagnostic test for IFIs in previous studies, but this diagnostic test is not available in Thailand. Objectives: The aim of this study is a prospective evaluation of the BG assay for diagnosis of IFIs in febrile neutropenic patients who are receiving chemotherapy for hematologic malignancy or HSCTs in KCMH. Methods: The study was prospectively preformed from July 2014 to February 2015 in adult neutropenic patients with hematologic malignancies or HSCTs. During admission, serum BG was measured using the Fungitell assay. The sensitivity and specificity of the Fungitell assay were calculated according to the proportion of patients with true, false positive and negative tests. The diagnosis of IFIs was according to the criteria of the European Organization for Research and Treatment of Cancer/Mycoses Study Group (EORTC/MSG) 2008. Results: A total of 46 patients were enrolled, 17 of the 46 patients (37%) had IFIs, which 5 patients had proven, and 9 patients had probable IFIs. The sensitivity, specificity, positive predictive value, and negative predictive value of BG cutoff values ³80 pg/ml for diagnosis of IFIs was 14.28, 96.87, 66.67, and 72.09%, respectively. The time interval average between onset of fever and BG detection was earlier than the time to diagnosis of IFIs by the EORTC/MSG 2008 average of 3 days (P= 0.667). Conclusion: The single time point of BG assay had lower sensitivity than in previous studies. The BG monitoring should be serial sampling for the usefulness of noninvasive method for early diagnosis of IFIs in high risk group patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46586
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1335
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1335
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674090630.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.