Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46615
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปอรรัชม์ ยอดเณรen_US
dc.contributor.authorธีรเนตร วิโรจน์สกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:41:19Z-
dc.date.available2015-09-19T03:41:19Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46615-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ละครเวที 6 มิติ สำหรับเด็กพิการทางสายตา และเพื่อประเมินการรับรู้ ทัศนคติ และสุนทรียรสของเด็กพิการทางสายตาจากการชมละครเวที 6 มิติแบบมีส่วนร่วม จากบทละครดัดแปลงเรื่อง Into the Woods โดยวิธีการวิจัยแบบสหวิธีการ (Multi-Methodology) ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงคือ 1) ขั้นเตรียมการ (Pre-Production) โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะลึก (In-depth interview) การเลือกและดัดแปลงบทละคร การคัดเลือกและฝึกซ้อมนักแสดง และการออกแบบเพื่อการแสดง 2) ขั้นการแสดง (Production) จัดการแสดงแก่เด็กพิการทางสายตา เพศชายและหญิง อายุ 10-18 ปี จำนวนทั้งสิ้น 75 คน โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ระหว่างการชมละคร และ 3) ขั้นหลังการแสดง (Post-Production) เก็บข้อมูลโดยการสำรวจทัศนคติของผู้ชม (Survey) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการพูดคุยหลังการแสดง (Post Talk) ร่วมกับผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ชมต่อการแสดง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีสำหรับเด็กพิการทางสายตา จำเป็นต้องนำเสนอละครเวทีแบบมีส่วนร่วมผ่านการรับรู้ทั้ง 6 ด้าน คือ ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรสชาติ ทางการสัมผัส ทางใจ ทางเวลาและสถานที่ เพื่อทดแทนการรับรู้ทางการมองเห็นของผู้ชม ร่วมกับการใช้ทัวร์สัมผัสก่อนการเข้าชมละคร ในส่วนของการคัดเลือกบทละครต้องมีโครงเรื่องที่สามารถสร้างความสนใจกับเด็กพิการทางสายตาระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาทั้งชายและหญิงได้ ในการดัดแปลงบทละครต้องคัดเลือกประเด็นที่เกี่ยวข้องและสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ การเห็นคุณค่าและบทบาทของตนเอง รวมถึงเรียนรู้ความหลากหลายทั้งด้านดีและไม่ดีของคนในสังคม การตัดทอนตัวละครและบทบางส่วนเพื่อควบคุมระยะเวลาของการแสดงโดยมีการลำดับเหตุการณ์เรื่องราวใหม่เพื่อความต่อเนื่องของการแสดง มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียกชื่อสิ่งของในบทละครและเพิ่มรายละเอียดการบรรยายภาพเพื่อให้ง่ายต่อการรับรู้ของเด็กพิการทางสายตา ในส่วนของการคัดเลือกนักแสดงต้องคัดเลือกจากนักแสดงที่มีความสามารถในการใช้น้ำเสียง โทนเสียง การออกเสียงคำที่ถูกต้อง และการฝึกซ้อมต้องเน้นการสร้างเทคนิคการใช้เสียงให้มีความหลากหลาย และจำเป็นต้องมีทีมงานอีกส่วนหนึ่งเพื่อสร้างบรรยากาศการรับรู้ทางสัมผัสอื่นๆเพื่อเพิ่มสุนทรียรสในการชมละครเวที ผลการรับรู้ ทัศนคติ และสุนทรียรสจากการชมละคร 6 มิติแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบองค์ประกอบการรับรู้ด้านต่างๆ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การรับรู้ทางเสียง เป็นส่วนที่ช่วยสร้างจินตภาพได้มากที่สุด 2) การรับรู้ทางการสัมผัส จากการมีส่วนร่วมในการจับสิ่งของต่างๆ 3) การรับรู้ทางใจ จากการแสดงความรู้สึกระหว่างการแสดง 4) การรับรู้ทางรสชาติ จากการร่วมชิมขนมปังและนมระหว่างแสดง 5) การรับรู้ทางกลิ่น จากการสร้างบรรยากาศด้วยกลิ่น 6) การรับรู้ทางเวลาและสถานที่ จากการจำลองสถานที่ต่างๆ ให้มีความสมจริง ผู้วิจัยพบว่าส่วนที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ละครเวที 6มิติ คือการใช้กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอในการแสดงเพื่อดึงดูดความสนใจ การมีส่วนร่วม และสมาธิในการชมการแสดงของผู้ชมen_US
dc.description.abstractalternativeThis creative research aimed to create 6-dimensional theatre for visually-impaired children and to evaluate the perception, attitude, and aesthetic of the visually-impaired children who participate the play. The adaptation of “Into the Woods” utilizes multi-methodology through the creation process; 1) Pre-Production: in-depth interview with experts, script selection and adaptation, casting and rehearsing 2) Production: the play was performed for 75 visually-impaired children, both boys and girls with age range of 10-18 years old, participant observation was applied during the performance 3) Post-Production: collect data by using questionnaire to survey the attitude toward the play, post-talk, and in-depth interview with experts. The study found that the creation of suitable play to visually-impaired children has to incorporate techniques for encouraging their participation e.g. a touching tour prior the performance, audio description, including the enhancement of auditory sense, olfactory sense, sense of taste, skin senses, mind senses and sense of time and space to replace the audience’s vision. Techniques used must be consistent throughout the play. More importantly, the selection of the play must have a structure that arouses the attention of the sample audience. The adaptation and the theme presented have to connect and correlate to the sample group. The rearrangement also plays important part for the continuity, while adding more details to the scene description, causes the performing time duration problematic. The pronouns have to be recreated to suit the blinds’ perception. The casts are chosen by their voice talent with the practice to create various different tones. The technical crews are also needed to create other forms of touching atmosphere in order to adding up the aesthetic to the sample audiences. The results of appreciation from the blind children to the play are arranged from most to least: 1) Hearing, because it is the first sense of the blinds to perceive and help most with the imagination 2) Touching, from the participation in sensing with their skin 3) Emotion, from the expression their feeling during the performance 4) Tasting, from the taste of bread and milk 5) Smelling, from the atmospheric creation with aroma 6) The perception of time and place, from the recreation of places in reality. The most important thing for the 6 dimensional creative play production process is to constantly encourage the audience to participate in the show in order to attract their interests and attention.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1356-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectละครเวที
dc.subjectเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
dc.subjectChildren with visual disabilities
dc.titleกระบวนการสร้างสรรค์ละครเวที 6 มิติ สำหรับเด็กพิการทางสายตาen_US
dc.title.alternativeCREATIVE PROCESS OF 6D THEATRE FOR VISUALLY-IMPAIRED CHILDRENen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPaonrach.Y@chula.ac.th,uhuminky@hotmail.com,Paonrach.Y@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1356-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684672528.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.