Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46665
Title: การประเมินภาระงานของการแบกกระเป๋านักเรียนของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตามแนวทางชีวกลศาสตร์
Other Titles: Work load evaluation of the school bag carrying of primary students based on biomechanical approach
Authors: สุธาริน สุวรรณโห
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: phairoat@hotmial.com
Subjects: ชีวกลศาสตร์
กำลังกล้ามเนื้อ
นักเรียนประถมศึกษา
น้ำหนักตัว
ดัชนีมวลกาย
Biomechanics
Muscle strength
School children
Body weight
Body mass index
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันปัญหาที่เกิดกับนักเรียนประถมศึกษาคือ การแบกกระเป๋านักเรียนหนักเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว การแบกกระเป๋านักเรียนถือเป็นภาระงานอย่างหนึ่ง การประเมินภาระงานของการแบกกระเป๋านักเรียนของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาในงานวิจัยนี้ ใช้เกณฑ์ตามแนวทางชีวกลศาสตร์ในภาวะสถิต ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 341 คน เป็นนักเรียนชาย 178 คนและนักเรียนหญิง 163 คน อายุระหว่าง 6-12 ปี ที่ได้รับการยินยอมให้เข้าร่วมการวิจัยจากผู้ปกครองเท่านั้น จากการทดสอบกำลังสถิตกล้ามเนื้อพบว่ากำลังสถิตกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เป็นท่าที่ให้ค่ากำลังสถิตสูงที่สุด รองลงมาคือกำลังสถิตกล้ามเนื้อมือ กำลังสถิตกล้ามเนื้อแขนและกำลังสถิตกล้ามเนื้อไหล่ตามลำดับ ผลการทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พบว่า กำลังสถิตกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยกับน้ำหนักตัวหรือภาวะโภชนาการ อย่างมีนัยสำคัญในนักเรียนแต่ละอายุ ดังนั้นน้ำหนักตัวหรือดัชนีมวลกายตามอายุและเพศ ไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดน้ำหนักกระเป๋านักเรียนที่เหมาะสมได้ในนักเรียนอายุเดียวกัน น้ำหนักกระเป๋านักเรียนมีค่าเฉลี่ยที่ 11.14% ของน้ำหนักตัว ซึ่งแรงกดอัดที่กระดูกสันหลังส่วนล่างคำนวณจากการสะพายกระเป๋านักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 18% ของแรงกดอัดที่กระดูกสันหลังส่วนล่างคำนวณจาก 100% ของกำลังสถิตกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ และภาระงานของการแบกกระเป๋านักเรียนอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของแรงกดอัดที่กระดูกสันหลังส่วนล่างคำนวณจาก 15% ของกำลังสถิตกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ (กำหนดให้เป็นระดับความปลอดภัย) ดังนั้นภาระงานของการแบกกระเป๋านักเรียนนี้อาจเป็นภาระงานเบา โดยการพิจารณาจากแรงกดอัดที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง
Other Abstract: Nowadays, a problem of Thai primary students is to carry a heavy school bag relatively to their student weight. The school bag carrying task can be classified as a carrying workload. This workload was evaluated based on a biomechanical static model. 341 primary students (178 boys and 163 girls) aged between 6 to 12 years old were recruited voluntarily for the research. Composite static strength presented the highest values followed by Grip static strength, Arm static strength and Shoulder static strength, respectively. The statistic results showed that the body weight is not significantly relate to the body strength. Therefore student weight should not be used as an indicator to evaluate the safe weight school bag. The compressive force on the lower back while carrying the school bag was about 18% of maximum voluntary compressive force on the lower back calculated from the composite strength test. In this research, the school bag carrying task with weight at 11.14% of body weight was evaluated at about one-third of the safe level. Therefore, this task might be low based on the biomechanical task assignment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46665
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2029
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2029
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutharin_su.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.