Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46961
Title: ความสอดคล้องระหว่างการเรียนการสอนงานเลือก ในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 กับความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียน ในจังหวัดชลบุรี
Other Titles: The relevancy of elective subject instruction of prathom suksa five and six work-oriented experiences area and student guardians'expectation in Changwat Chon Buri
Authors: สมลักษณ์ พิมสกุล
Advisors: นิรมล สวัสดิบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ -- การศึกษาและการสอน
การวางแผนหลักสูตร -- ไทย -- ชลบุรี
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวุตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างการเรียนการสอนงานเลือกในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 กับความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนในจังหวัดชลบุรี ตัวอย่างประชากร คือ ครูผู้สอนงานเลือกในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จำนวน 153 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 307 คน ผลการวิจัยสรุปว่า : 1. การเลือกสอนงานเลือก 5 แขนงงานของครู คือ งานบ้าน งานเกษตร งานช่างประดิษฐ์ งานช่าง และงานอาชีพอื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองทุกแขนงงาน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ยกเว้นแขนงงานเกษตร 2. ในจำนวนวิชาโรงเรียนในกลุ่มตัวอย่างเปิดสอนเหมือนกัน 5 วิชา คือ การประกอบอาหารสำหรับครอบครัว การประกอบอาหารจานเดียว การทำสวนผัก การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และการประดิษฐ์เศษวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นเป็นของเล่น ของใช้ และประดับตกแต่งนั้น ครูให้ความสำคัญในการสอนวิชาต่าง ๆ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองทุกวิชา ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. ความเห็นของครูเรื่องการสอนให้เด็กนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนงานเลือกไปใช้และนำไปถ่ายทอดต่อให้บุคคลอื่นที่บ้าน ไม่สอดคล้องกับความเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการปฏิบัติจริงของเด็กทุกงาน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 4. ครูและผู้ปกครองเสนอแนะตรงกันให้มีการสอนงานเลือกเกี่ยวกับการประกอบอาหารต่างประเทศ การปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การประดิษฐ์ของใช้และประดับตกแต่งเพื่อการค้า งานเชื่อมโลหะ การทำครกหิน และการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
Other Abstract: This research aimed to study the relevancy of elective subject instruction of prathom suksa five and six work oriented experiences area and student guardians’ expectation in Changwat Chon Buri. The samples were 153 teachers teaching elective subjects in work oriented experiences area in prathom suksa five and six and 307 student guardians. Findings: 1. Teachers’ choices in teaching 5 elective areas namely housework, agriculture, handicraft, mechanics and other vocational works were not relevant to the expectation of the student guardians at the significant level of .05 in all areas except agriculture. 2. Among 5 subjects which were taught similarly in every school samples namely : family cooking, cooking one-plate food, vegetable growing, ornamental plant gardening and handicrafts from local waste materials, teachers’ emphasis in teaching was not relevant to the expectation of the student guardians in every subjects at the significant level of .05. 3. The teachers’ opinion in teaching children to utilize and transfer their knowledge at home was not relevant to the student guardians’ opinion on students’ practices at home at the significant level of .50. 4. Teachers and students guardians gave the same suggestion on elective subjects that should be taught in schools namely: foreign food cooking, plant and animal farming for commercial purpose, handicrafts for commercial purpose, welding, stone mortar making and factory work.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46961
ISBN: 9745775827
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somlux_pi_front.pdf11.51 MBAdobe PDFView/Open
Somlux_pi_ch1.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open
Somlux_pi_ch2.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Somlux_pi_ch3.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open
Somlux_pi_ch4.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open
Somlux_pi_ch5.pdf12.36 MBAdobe PDFView/Open
Somlux_pi_back.pdf8.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.