Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47305
Title: สภาพการรู้หนังสือของผู้ที่จบชั้นประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Literacy of Prathom Suksa graduates in the Northeastern region
Authors: วีรศักดิ์ สังสนา
Advisors: แรมสมร อยู่สมพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรู้หนังสือ -- ไทย ( (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การศึกษาขั้นประถม -- ไทย ( (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Literacy -- Thailand, Northeastern
Education, Elementary -- Thailand, Northeastern
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการรู้หนังสือของผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพการรู้หนังสือ ตามช่วงเวลาหลังเรียนจบ อาชีพ และสภาพเศรษฐกิจที่ต่างกันของผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมมุติฐานในการวิจัย สภาพการรู้หนังสือของผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาที่มีช่วงเวลาหลังเรียนจบ อาชีพ และสภาพเศรษฐกิจที่ต่างกัน จะแตกต่างกัน วิธีการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้จบชั้นประถมปีที่ 6 หรือ 7 ซึ่งจบออกไปแล้วเป็นระยะเวลา 1-8 ปี จากโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดอุดรธานี ร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ จำนวน 270 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ แบบสอบถามสถานภาพภูมิหลังของผู้ตอบแบบทดสอบสำหรับวัดความรู้ทางด้านวิชาคณิตศาสตร์ขั้นมูลฐาน จำนวน 20 ข้อ และแบบทดสอบวัดความรู้ทางด้านวิชาภาษาไทย จำนวน 40 ข้อ ซึ่งอำนาจจำแนก และความยากง่ายของข้อสอบแต่ละข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.2-0.8 ค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งสอง คือ 0.81 และ 0.89 ตามลำดับ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าซี (Z-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of Variance) ส่วนเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดและประเมินสภาพการรู้หนังสือ คือ การที่ผู้ตอบสามารถทำแบบทดสอบที่กำหนดให้ได้คะแนนรวมคิดเป็นร้อยละ 50 ขึ้นไป ตามเกณฑ์การวัดและประเมินผลของกระทรวงศึกษาธิการ ปีพุทธศักราช 2503 ผลการวิจัย 1. ผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้ว เป็นระยะเวลา 1-8 ปี ที่มีสภาพการรู้หนังสืออยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด มีจำนวน 164 คน จากจำนวนตัวอย่างประชากร 270 คน คิดเป็นร้อยละ 60.74 2. ผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้ว เป็นระยะเวลา 5-8 ปี ที่มีสภาพรู้หนังสือในเกณฑ์กำหนด มีจำนวน 85 คน จากจำนวนตัวอย่างประชากร 135 คน คิดเป็นร้อยละ 62.96 ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้ว เป็นระยะเวลา 1-4 ปี 3. ผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้ว ในประเภทอาชีพค้าขาย มีสภาพการรู้หนังสือในเกณฑ์กำหนด 43 คน จากจำนวนตัวอย่างประชากร 54 คน คิดเป็นร้อยละ 70.63 รองลงมาคือ ประเภทที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ ซึ่งมีมากกว่า ประเภทอาชีพอื่นๆ รับจ้าง และเกษตรกรรม 4. ผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้ว ในกลุ่มที่มีรายได้ 8,001 บาทขึ้นไป มีสภาพการรู้หนังสืออยู่ในเกณฑ์กำหนด 17 คน คิดเป็นร้อยละ 85.00 ซึ่งเป็นอัตราส่วนร้อยละที่มากกว่ากลุ่มรายได้อื่นๆ ทุกกลุ่มรายได้ 5. ค่าเฉลี่ยของคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ ของผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้วเป็นระยะเวลา 5-8 ปี สูงกว่าพวกที่จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้ว 1-4 ปี ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนวิชาภาษาไทย และผลจากคะแนนรวมเฉลี่ยของทั้ง 2 วิชา ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 6. ค่าเฉลี่ยของคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย และผลจากคะแนนรวมเฉลี่ยของทั้ง 2 วิชา ของผู้จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้ว ในประเภทอาชีพ เกษตรกรรม รับจ้าง ค้าขาย อื่นๆ และไม่ได้ประกอบอาชีพ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 7. ค่าเฉลี่ยของคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย และผลจากคะแนนรวมเฉลี่ยของทั้ง 2 วิชา ของผู้จบชั้นประถมศึกษาออกไปแล้ว ที่มีสภาพเศรษฐกิจรายได้ 5 กลุ่มรายได้ ได้แก่ กลุ่มรายได้ 8,001 บาทขึ้นไป กลุ่มรายได้ 4,001-8,000 บาท กลุ่มรายได้ 2,001-4,000 บาท กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาท และกลุ่มไม่มีรายได้ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
Other Abstract: Purposes 1. To study Literacy of Prathom Suksa graduates in the northeastern region. 2. To compare Literacy of Prathom Suksa graduates according to graduation time, occupations and different incomes. Hypothesis Literacy of Prathom suksa graduates according to graduation time, occupations and different incomes was different. Procedures The subjects of this study were 270 Prathom Suksa graduates after graduating from one to eight years in Udornthanee, Srisaket and Roit-et elementary schools. These subjects were selected by using the multi-stage random sampling technique. The research instruments were a Family Background Questionnare and a Thai Literacy Test composing of 40 items and a Basic Mathematics Test composing of 20 items. The reliability coefficient of Thai Literacy and Basic Mathematics test were 0.89 and 0.80 respectively. The data were statistically analyzed by using percentage, mean, standard deviation, z-test and one-way analysis of variance. The criterion for measuring and evaluating the Literacy was 50 percent. Results 1. The number of Prathom Suksa gradudtes after 1-8 years whose literacy was at the stipulated level was 164 or 60.74 percent, 2. The number of Prathom Suksa graduates after 5-8 years whose literacy was at the stipulated level was 85 or 62.96 percent, which was more than the number of Prathom Suksa graduates after 1-4 years. 3. The number of Prathom Suksa graduates among various occupations, the commerce occupation subjects whose literacy was at the stated criteria was 43 from 54 subjects or 70.63 percent, and the next were the ones who did not take any occupations which were more than the number of Prathom Suksa graduates in other careers, employments and agricultural occupation. 4. The number of Prathom Suksa graduates whose incomes were more than 8,001 baht and whose Literacy was at the stated criteria was 17 or 85.00 percent, which was more than the number of the other groups. 5. The Mathematics mean of Prathom Suksa graduates after 5-8 years was higher than the Prathom Suksa graduatea after 1-4 years at the level of .05. The mean of Thai Language scores and both subjects was not significantly different at the .05. level. 6. The Mathematics mean of Thai language scores and both subjects of Prathom Suksa graduates according to occupations was not significantly different at the .05 level. 7. The Mathematics mean of Thai language scores and both subjects of Prathom Suksa graduates according to their incomes was not significantly different at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47305
ISBN: 9745646164
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerasak_sa_front.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Weerasak_sa_ch1.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Weerasak_sa_ch2.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open
Weerasak_sa_ch3.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Weerasak_sa_ch4.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open
Weerasak_sa_ch5.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Weerasak_sa_back.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.