Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47349
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสวัสดิ์ชัย เกรียงไกรเพชร-
dc.contributor.advisorสุทธิพงศ์ วิญญูประดิษฐ์-
dc.contributor.authorอิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-03-25T08:12:54Z-
dc.date.available2016-03-25T08:12:54Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745678384-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47349-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractการทำแผนที่ด้วยมือมีข้อจำกัดหลายประการทั้งในส่วนที่เป็นงานคำนวณ ความรวดเร็ว และความคงเส้นคงวาในการผลิตแผนที่ รวมทั้งความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ ของแผนที่ ในปัจจุบันเราสามารถนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องมืออัตโนมัติซึ่งทำงานได้ถูกต้องรวดเร็วมาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของการทำแผนที่ได้เป็นอย่างดี ซอฟท์แวร์ทางการค้าสำหรับผลิตแผนที่โดยทั่วไปมีราคาแพงและมักต้องใช้วัสดุเข้าชุดกับคอมพิวเตอร์ที่ซอฟท์แวร์นั้นถูกออกแบบให้ทำงานด้วยกัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบทำแผนที่เฉพาะกิจมาตราส่วนเล็กโดยมีคอมพิวเตอร์ช่วย โดยใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ การดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรกเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลแผนที่ซึ่งเดิมอยู่ในรูปกราฟิกให้อยู่ในรูปตัวเลขโดยใช้ Digitizer ผลลัพธ์ที่ได้คือคลังข้อมูลแผนที่ฐาน (Cartographic Data Bank) ซึ่งเป็นที่เก็บค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ขั้นตอนที่สองเป็นการจัดสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยประกอบแผนที่ฐาน โปรแกรมนี้จะดึงค่าพิกัดจากคลังข้อมูลเฉพาะส่วนที่ต้องการ คำนวณตามมาตราส่วนและการฉายแผนที่แล้ววาดออกมาเป็นแผนที่ฐาน ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดสร้างโปรแกรมช่วยประกอบข้อมูลเฉพาะกิจซึ่งทำหน้าที่ประกอบสัญลักษณ์แบบจุด (Point Symbol) และข้อความต่างๆ เข้ากับแผนที่ฐานเพื่อให้ได้แผนที่เฉพาะกิจที่สมบูรณ์ ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยนี้สามารถใช้ผลิตแผนที่เฉพาะกิจมาตราส่วนเล็กแบบต่างๆ รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาทำแผนที่ ลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งสองซึ่งเป็นโปรแกรมโครงสร้าง ทำให้สามารถพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถได้ต่อไปอีกในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeManual map making has several limitations, such as time consuming computing work, slow speed, inconsistency of production and inflexibility in changing elements and design of the map. At present, computer and automatic devices are available to use in map making. Computerized map making is more flexible and faster than manual method. Other benefits are product of better accuracy and uniform consistency. Commercial mapping software are generally very expensive and dependent on hardware, so the objective of this research project is to study and develop a software for small scale thematic mapping to run on the computer facility in the department of Survey Engineering. This research was divided into three phases. The first was to establish a small scale cartographic data bank to store geographic coordinates of the whole world. The second phase was to build a computer program for base map compilation. And the last step was to make a thematic data compilation program to compile point symbols and texts on base map in order to complete a thematic map. The developed software can be used to produce small scale thematic maps and can also be applied in cartography education. Because both programs are structured program, future development and revision to enhance capability can be done without difficulty.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการทำแผนที่en_US
dc.subjectการทำแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์en_US
dc.subjectCartographyen_US
dc.subjectDigital mappingen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการทำแผนที่เฉพาะกิจมาตราส่วนเล็ก โดยใช้คอมพิวเตอร์en_US
dc.title.alternativeDevelopment of computer assisted small scale thematic mapping systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสำรวจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSwatchai.K@chula.ac.th-
dc.email.advisorSoottipong.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Itthi_tr_front.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Itthi_tr_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Itthi_tr_ch2.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Itthi_tr_ch3.pdf7.6 MBAdobe PDFView/Open
Itthi_tr_ch4.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open
Itthi_tr_ch5.pdf845.74 kBAdobe PDFView/Open
Itthi_tr_back.pdf13.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.