Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47442
Title: การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลในประเทศไทย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2517 ถึง 2527
Other Titles: An analysis of master theses in nursing in Thailand from academic year 1984
Authors: รัชนีภรณ์ วิชาการ
Advisors: สมคิด รักษาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วิทยานิพนธ์ -- การวิเคราะห์
การพยาบาล -- วิจัย -- ไทย
การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: n 520 จุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ เพื่อวิเคราะห์วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลในด้านปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย การแสดงแนวความคิด และ/หรือทฤษฎี ระเบียบวิธีวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและการสุ่มตัวอย่างประชากร และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ วิทยานิพนธ์ทุกฉบับในระหว่างปีการศึกษา 2517 ถึง 2527 ของนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการพยาบาล และ การพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล รวมจำนวนทั้งสิ้น 264 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจและจำแนกวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้นำไปทดลองใช้ และหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ และร้อยละ สรุปผลการวิจัย 1. สถานภาพของผู้ทำวิทยานิพนธ์ ส่วนใหญ่เป็นพยาบาลฝ่ายการศึกษา รองลงมาเป็นพยาบาลฝ่ายบริการ 2. ปัญหาการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านการปฏิบัติการพยาบาล รองลงมาเป็นปัญหาด้านการบริหารการพยาบาล และการศึกาาพยาบาล ตามลำดับ 3. เนื้อหาของวิทยานิพนธ์ในด้านการศึกษาพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การบริหารการศึกษาพยาบาล รองลงมาเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมของการเรียนการสอน 4. เนื้อหาของวิทยานิพนธ์ในด้านการบริหารการพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลากร รองลงมาเป็นเรื่อง รูปแบบและ/หรือการจัดองค์การ 5. เนื้อหาของวิทยานิพนธ์ในด้านการปฏิบัติการพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิค วิธีการพยาบาล รองลงมาเป็นเรื่อง การสอน การแนะนำ และเรื่องการปฏิบัติตน การปรับตัว และการดูแลตนเองของบุคคล 6. ประโยชน์ของการวิจัยด้านการปฏิบัติการพยายาล เมื่อพิจารณาตามขอบเขตงานด้านสุขภาพอนามัยของพยาบาล พบว่า ส่วนใหญ่เป็นประโยชน์ต่องานด้านการรักษาพยาบาล รองลงมาเป็นงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และเมื่อพิจารณาตามการพยาบาลเฉพาะสาขา พบว่า ส่วนใหญ่มีประโยชน์ต่อการพยาบาลอายุรกรรม รองลงมา เป็นการพยาบาลสูติ-นรีเวช 7. วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลทั้งหมด เป็นการวิจัยประยุกต์ ซึ่งส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริง หรือมุ่งอธิบายความเป็นเหตุเป็นผลของปรากฏการณ์ (Explanatory Research) 8. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาล ส่วนใหญ่มีการแสดงแนวความคิดและ/หรือทฤษฎี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแนวความคิดและ/หรือทฤษฎีด้านสังคมศาสตร์และ/หรือ พฤติกรรมศาสตร์ รองลงมาเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์ 9. ระเบียบวิธีวิจัย ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย และในจำนวนีส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเปรียบเทียบ 10. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นแบบสอบถาม วิธีการสร้างเครื่องมือ ส่วนใหญ่ผู้วิจัยสร้างเอง ส่วนวิธีการตรวจสอบคุณภาพ ส่วนใหญ่เป็นการหาความตรงและความเที่ยง 11. ประชากรและการสุ่มตัวอย่างประชากร ส่วนใหญ่ศึกษาประชากรและ/หรือตัวอย่างประชากรที่เป็นบุคคล และเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ส่วนวิธีการสุ่มตัวอย่างประชากรนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงมากที่สุด 12. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นสถิติในประเภทของการวิเคราะห์ ตัวแปรเดี่ยวและการวิเคราะห์ตัวแปรคู่
Other Abstract: The objective of this research is to Analyse the Master theses in Nursing in Thailand concerning research problems, research objective, explication of concepts and/or theories, research methodologies, data collection, Demography and population sampling, and tabulations used for data analysis. The total number of Master theses analysed were 264 accomplished during 1974 to 1984 by Master students in Nursing and Public Health Nursing of Mahidol University. Research tool used for data collection was the survey and classification type constructed by the researcher, pretest and content validity were confirmed. The data gathered were analysed by the methods of frequency distribution and percentage. Research Findings 1. Status of the thesis researchers was that the majority were the nurses from educational division and the subsequence were the nurses from services division. 2. The Master theses in Nursing were predominantly the research studies on nursing practice with the studies on problem of nursing administration and nursing education came next in sequence. 3. Subject contents of the Master theses in Nursing on the area of nursing education concerned successively with the nursing administration and teaching-learning environment. 4. Subject contents of the Master theses in Nursing on the area of nursing administration involved mostly with the matter of personnel ensuing with these of the patterns and/or organization management. 5. Subject contents of the Master theses in Nursing on the area of nursing practice concerned predominantly with the matter of nursing techniques following successively with these of the teaching/guidance, and the self-practice/adaptation/self-care of the persons. . 6. Regarding the benefits of the Master theses in Nursing on the area of nursing practice concerning the scope of health works of the nurses, it was found that most were beneficial for curing works with the works of health promotion came next in line, whereas it was found according to the specific field of the nursing that most were beneficial for medicine nursing with obstetric nursing came next in rank. 7. The overall Master theses in Nursing were indeed the applied research that most had specific aims for Discovering relationships among facts or Explanatory Research. 8. The majority of the Master theses in Nursing touched upon the concepts and/or theories which were chiefly the social and/or behavioral sciences following consecutively with the medical science. 9. The Master theses in Nursing utilized for the most part the descriptive research methodology which was mainly the survey and comparative study. 10. Most of the research tools employed for data collection for the Master theses in Nursing were the questionnaires self-constructed by the researchers. As for the quality inspection, most were the validity and accuracy tests. 11. The majority of the Master theses in Nursing were the studies on the population and/or samples which were the persons who for the most part possessed the status of patients in the hospitals. As regards the sampling methods, most were the specific sampling. 12. The tabulations employed for data analysis were mainly the single and double variables-oriented statistical analysis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47442
ISBN: 9745680192
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratcharneeporn_wi_front.pdf876.86 kBAdobe PDFView/Open
Ratcharneeporn_wi_ch1.pdf659.75 kBAdobe PDFView/Open
Ratcharneeporn_wi_ch2.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Ratcharneeporn_wi_ch3.pdf369.8 kBAdobe PDFView/Open
Ratcharneeporn_wi_ch4.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Ratcharneeporn_wi_ch5.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Ratcharneeporn_wi_back.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.