Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47655
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรชัย พัฒนจิตวิไล-
dc.contributor.authorลัดดาวัลย์ พงศ์ทิพย์สุคนธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-05-27T01:43:05Z-
dc.date.available2016-05-27T01:43:05Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745643963-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47655-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractเงินทุนจากต่างประเทศไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อประเทศผู้นำเงินทุนเข้าเพิ่มขึ้นเท่านั้นแต่ยงมีความสำคัญต่อประเทศผู้ส่งเงินทุนออกด้วย สำหรับประเทศผู้ส่งเงินทุนออกการลงทุนโดยตรงในประเทศด้อยพัฒนาเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ในฐานะที่ประเทศกำลังพัฒนาเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมในตลาดส่งออกของโลกมาขึ้นส่วนประเทศที่นำเงินทุนเข้านั้นเงินทุนจากต่างประเทศถือว่าเป็นทรัพยากรพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับประเทศไทยซึ่งยังคงถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเป็นเศรษฐกิจแบบเปิดประกอบกับมีปัญหาทางการค้าและการเงินระหว่างประเทศมากขึ้นโดยลำดับอีกด้วยการหาทรัพยากรเงินทุนจากภายนอกประเทศเพื่อชดเชยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นไปในระดับสูงและขยายตัวอย่างรวดเร็วจนอาจจะก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ด้านภาระหนี้ต่างประเทศได้ในที่สุดดังนั้นในการศึกษานี้จึงพยายามที่จะศึกษาถึงปัญหาการค้าระหว่างประเทศของไทยที่ทำให้ประเทศไทยมีรายได้เงินตราต่างประเทศอันจำกัดสำหรับในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อทราบถึงบทบาทและขนาดความต้องการทรัพยากรทุนจากต่างประเทศประกอบกับระดับการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศและประสิทธิภาพของการใช้ทุนจากต่างประเทศเป็นอย่างไรโดยอาศัยข้อมูลอนุกรมเวลาในระหว่างปี 2509 – 2526 โดยวิธี Ordinary Least Squases (OLS) นอกจากนี้จะได้อาศัยแบบจำลองทางเศรษฐมิติทำการประมาณการขนาดของความต้องการเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อชดเชยปัญหาการค้าอันเป็นผลก่อให้เกิดภาระหนี้อย่างไรและจากการประมาณการดังกล่าวทำให้สามารถศึกษาถึงระดับการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศประสิทธิภาพของการใช้ทุนจากต่างประเทศและความสามารถในการชำระหนี้เมื่อเทียบกับรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกและผลิตภัณฑ์ประชาชาติในอนาคตได้ในการศึกษาพบว่าในระหว่างปี 2509-2526 ขนาดของปัญหาการค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดจาก 1.0 พันล้านบาทในปี 2510 เป็น 66.1 พันล้านบาทในปี 2526 ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยต้องพึ่งพาต่างประเทศทั้งในแง่ของสินค้าเข้าที่จำเป็นเช่นสินค้าทุน วัตถุดิบและพลังงานและในแง่ของความไม่สามารถขยายตลาดสินค้าของไทย เป็นผลให้เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะในรูปเงินกู้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเช่นกัน สำหรับแนวโน้มในอนาคตปรากฏว่าขนาดของปัญหาการค้า ในช่วงปี 2527-2530 มีอัตราเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.0 ต่อปีภาระหนี้ต่างประเทศทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยในช่วงปี 2525-2528 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ต่อปีทำให้ความสามารถในการชำระหนี้เมื่อเทียบกับรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกและผลิตภัณฑ์ประชาชาติจะสูงขึ้นจากร้อยละ 18.5 และ 4.0 ในปี 2526 ตามลำดับเป็นร้อยละ 19.0 และ 4.2 ในปี 2528 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าประเทศไทยมีระดับการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศอยู่ในระดับปานกลาง (0.35) และมีประสิทธิภาพของการใช้ทุนค่อนข้างต่ำ (0.64) เมื่อวัดในรูปของราคาปัจจุบันซึ่งตามสภาพความเป็นจริงของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยนับตั้งแต่เริ่มพัฒนาเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบันจะพบว่าทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและในปริมาณที่ขยายตัวขึ้นโดยตลอดส่วนการวัดในรูปของราคาคงที่ปรากฏว่าระดับการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ (0.05) และประสิทธิภาพในการใช้ทุนจากต่างประเทศสูง (0.83) ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทั้งนี้อาจเนื่องจากมีความบกพร่องในการใช้ดัชนีราคาในการปรับข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณแตกต่างกัน ดังนั้นจากผลการศึกษาทั้งหมดนี้จึงชี้ให้เห็นว่าปัญหาการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยคงเป็นปัญหาอยู่ซึ่งเป็นผลให้ประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งทุนจากต่างประเทศในขณะเดียวกันมีประสิทธิภาพในการใช้ทุนจากต่างประเทศค่อนข้างต่ำดังนั้นจึงควรจะได้มีการแก้ไขอย่างรีบด่วนและต่อเนื่องโดยทั้งพัฒนาการผลิตและส่งเสริมการส่งออกประกอบกับลดการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศและหันมาใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeForeign capital is a matter of increasing importance not only for capital-importing countries but also for capital-exporting countries as well. For the latter, foreign investment in developing countries must be deliberated with discernment, as developing countries continue to grow and have increased participation in world export markets. For the former, foreign capital is the primary source of economic development and modern technology. As for Thailand, one of those developing countries and as an open economy, her problems on trade and international finance made the foreign capital needs for financing the rapidly expanded trade deficit a serious and urgent matter which may lead the country into the situation of the so-called “foreign debt crisis” The purpose of this study is to unveil the trade gap problems which limit the revenue needed for Thailand economic development. The emphasis of the study is on the role and the magnitude of the demand for foreign resources and also the degree of Thailand’s dependency on and the productivity of such resources. Based on the time-series data covering the period 1966-1983, the econometric model of Thailand’s trade gap was estimated by the ordinary least squares method. The estimated model was then used to make the out-of-sample forecast of the foreign resource demand to finance the trade deficit for the period 1984-1987. The degree of dependency and the productivity of foreign resources were analyzed using Shoichi Yamashita techniques. The main findings of this study can be summarized as follow: The magnitude of Thailand’s trade problem remarkedly developed from 1.0 billion baht in 1967 to 66.1 billion baht in 1983. This is due primarily to two major factors which are her dependence on foreign products import such as capital goods, raw materials and fuel, and her incapability to expand export markets. Capital-inflow reflected from that matters, particularly in the form of loans, showed a skyrocket increase. From the predictions results, the trend of trande deficit for 1984-1987 will continue to increase at an average rate of 4.8 per cent per annum. Foreign debts (including principal and its interests) for the same period will tend to grow at an average rate of 7.7 per cent per annum, and hence, debt service ratio based on export earning as well as based on GNP will rise sharply from 18, 5 per cent and 4.0 per cent in 1983 to 19.2 per cent and 4.2 per cent in 1985, respectively. Moreover, it was also found that the measurement of the degree of Thailand’s dependency on foreign resources and the productivity of foreign resources gave inconclusive result. This is due perhaps to the kind of price index, measuring methods and the rigidity of the structural model employed in the study. In conclusion, the study points out that trade problems of Thailand will still remain and await the immediate and effective corrective measures. Such measures should include, inter alia, the product development and export promotion together with the measure to reduce expenditure as well as to switch expenditure to domestic products.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการค้าระหว่างประเทศen_US
dc.subjectการเงินระหว่างประเทศen_US
dc.subjectเงินทุนen_US
dc.subjectไทย -- การค้ากับต่างประเทศen_US
dc.titleความต้องการเงิน จากต่างประเทศเพื่อชดเชยปัญหาทางการค้าen_US
dc.title.alternativeThe foreign capital needs for financing trade deficiten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Laddawan_po_front.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_po_ch1.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_po_ch2.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_po_ch3.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_po_ch4.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_po_ch5.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_po_ch6.pdf718.4 kBAdobe PDFView/Open
Laddawan_po_back.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.