Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47689
Title: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 : รายงานการวิจัย
Other Titles: Problem-based instructional management to improve the academic achievement, daily life mathematical problem solving skills and attitude toward mathematical learning of Protom Suksa Two students
Authors: นภสร เรือนโรจน์รุ่ง
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
คณิตศาสตร์ -- แผนการสอน
การแก้ปัญหา
Issue Date: 2558
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อ (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (3) เจตคติต่อการ เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 34 คน ใช้เวลาดำเนินการวิจัย 9 สัปดาห์ เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นแบบสอบ ปรนัยชนิดเติมคำตอบ ถ้าตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดให้ 0 คะแนน มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.38 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.75 และค่าความเที่ยงเฉลี่ยรวม 0.72 (2) แบบวัด ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นแบบสอบปรนัย ชนิดเติมคำตอบ แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ให้คะแนนตามเกณฑ์ (Rubric) (3) แบบทดสอบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ลักษณะ ของข้อคำถามเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) โดยเป็นคำถามเชิงบวกและเชิงลบ ถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านสติปัญญา ด้านความรู้สึก และด้านการปฏิบัติ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติบรรยาย หาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มทดลองและ นักเรียนกลุ่มควบคุมด้วยการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (independent sample t-test) สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และใช้ข้อมูลจาก บันทึกหลังสอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า 1. นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยทั้งสองกลุ่มมีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ทั้งก่อนและหลัง เรียนอยู่ในระดับปานกลาง
Other Abstract: The purposes of this research are to investigate the effects of problem-based learning on 1) students’ achievement 2) skills of mathematical problem solving in daily life 3) attitude toward Mathematics learning of students in Prathom Suksa two. The research sample is 68 students in Prathom Suksa two of Chulalongkorn University Demonstration Elementary School, divided into 2 groups: 34 students in the experimental group and 34 students in control group. This research was conducted for 9 weeks. The instruments used in this research are following. 1) The achievement test of Mathematics learning is fill-in-the-blank objective test scoring 1 point for correct answer and 0 point for incorrect answer. The test difficulty index and discrimination index ranges 0.38 to 0.75 and 0.25 to 0.75 respectively, with its average reliability index is 0.72. 2) The test of mathematical problem solving skill in daily life is fill-in-the-blank objective test divided in 6 parts and scores according to the provided rubric. And, 3) the test of attitude toward Mathematics learning in daily life is a 5-rating scale composed of positive and negative questions about intelligence, feeling, and behavior with 0.80 of average reliability index. The data were analyzed by using descriptive statistics with mean standard Deviation and independent sample t-test of experimental and control group. The qualitative data were collected with classroom observation and analyzed with content analysis. The results of the effects of problem-based learning on the students’ achievement, and skills of mathematical problem solving in daily life, as well as attitude toward Mathematics learning of students in Prathom Suksa two were concluded as following: 1. The mean scores of the students’ achievement and the skills of mathematical problem solving in daily life of both experimental and control group were statistically significant differences as p < 0.05. 2. The mean scores of the attitude toward Mathematics were on average level but no statistically significant difference between experimental and control group.
Discipline Code: 0804
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47689
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppasorn_Ru.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.