Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47791
Title: แนวทางการออกแบบต่อเติมอาคารพักอาศัยของผู้มีรายได้ปานกลางของรัฐ กรณีศึกษาอาคารเดี่ยว 2 ชั้น โครงการประชานิเวศน์ 3 ส่วนที่ 3
Other Titles: House expansion design for middle income housing : case study two stories single house, Prachanivase 3 phase 3 housing project
Authors: วรวิทย์ อังสุหัสต์
Advisors: ชวลิต นิตยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: cnitaya@hotmail.com
Subjects: โครงการประชานิเวศน์ 3
การออกแบบสถาปัตยกรรม
ที่อยู่อาศัย -- ไทย
อาคารสงเคราะห์ -- ความพอใจของผู้อยู่อาศัย
ระวาง (สถาปัตยกรรม)
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเคหะแห่งชาติมีนโยบายจัดสร้างอาคารพักอาศัย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย จัดทำโครงการเคหะชุมชน โดยทำการจัดสรรที่ดิน และสร้างอาคารพักอาศัยในรูปแบบต่างๆ ขึ้น รูปแบบหนึ่งคือการจัดสร้างอาคารพักอาศัย ประเภทอาคารเดี่ยวสองชั้น สำหรับผู้มีรายได้สูงกว่า 5,000 ต่อเดือน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางของรัฐ อาคารพักอาศัยดังกล่าวเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างโล่งไม่มีการกั้นผนัง นอกจากเตรียมพื้น และห้องน้ำเอาไว้ให้ ชั้นบนกั้นเป็นห้อง 2 ห้องนอน กำหนดประตู หน้าต่างให้ไว้เรียบร้อย ตัวอาคารทั้งหมดเป็นลักษณะที่ต้องทำการปรับปรุงต่อเติมห้องน้ำขึ้นอีก จากการสำรวจพบว่าผู้อยู่อาศัยจะทำการปรับปรุงต่อเติมอาคารก่อนที่จะเข้าอยู่อาศัย สาเหตุที่ผู้อยู่อาศัยได้ทำการปรับปรุงต่อเติมอาคารนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นสำคัญ 4 ประการคือ 1. ชั้นล่างเปิดโล่ง ไม่มีการกั้นผนัง และกำหนดประตู หน้าต่าง ทำให้ขาดความมิดชิด ความเป็นส่วนตัว ใช้อยู่อาศัยในชั้นนี้ไม่ได้ 2. ห้องหรือส่วนใช้สอยไม่ครบตามความต้องการในการดำรงชีวิต เช่น ขาดห้องครัว 3. เนื้อที่ห้องหรือส่วนใช้สอยไม่พอเพียงต่อจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4. ต้องการความครบถ้วน สมบูรณ์ และความสวยงามของตัวอาคาร เป็นที่น่าสังเกตว่า การปรับปรุงต่อเติมนั้นมีลักษณะเป็นอิสระตามสภาพทางฐานะ และความต้องการของผู้อยู่อาศัย ผลจากการสำรวจพบว่าผู้อยู่อาศัยที่ออกแบบปรับปรุงและต่อเติมอาคารด้วยตนเอง มีจำนวนมากถึงร้อยละ 67.5 มีความพอใจต่อสภาพของอาคารหลังจากที่ได้ปรับปรุง และต่อเติมไปแล้วเพียงร้อยละ 17.5 ส่วนที่ไม่พอใจอีกร้อยละ 50 นั้น ยังมีความต้องการที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ต่อเติม ห้องนอนเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 44.12 ปรับปรุงห้องครัว ห้องน้ำ และโรงรถ รวมกันอีกร้อยละ 23.53 ปรับปรุงห้องคนใช้ ห้องเก็บของและห้องอื่นๆ รวมทั้งตัวบ้านภายในและภายนอกให้สวยงามขึ้นอีกร้อยละ 32.35 ความต้องการดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าผู้อยู่อาศัยยังไม่ประสบผลสำเร็จในการปรับปรุง ต่อเติมอาคารของตน ในขั้นแรก ประกอบกับอาคารประเภทอาคารเดี่ยว 2 ชั้น ของการเคหะแห่งชาตินี้เป็นอาคารที่ปลูกสร้างสำหรับการปรับปรุงและต่อเติมเพิ่มขึ้น หากผู้อยู่อาศัยขาดความรู้ ความเข้าใจหรือขาดการเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงและต่อเติมให้ได้ประสิทธิภาพพอเพียงต่อการดำรงชีวิตและความต้องการของผู้อยู่อาศัยแล้ว ก็เท่ากับว่า โครงการดังกล่าวขาดการควบคุม ขาดการเสนอแนะแนวทางและการประสานงานในการปรับปรุงและต่อเติมอาคารจากการเคหะแห่งชาติ การศึกษาถึงสาเหตุของการต่อเติม และการเสนอแนะแนวทางการออกแบบต่อเติมอาคารจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกรณีนี้ จากการศึกษาพบว่า ผู้อยู่อาศัยจะทำการปรับปรุงอาคารเดิมให้สมบูรณ์และทำการต่อเติมเพิ่มห้องในส่วนหลังของตัวอาคารเป็นประการแรก และยังทำการต่อหลังคาออกมาด้านข้างเป็นโรงรถ ทำระเบียง ทำกันสาดด้านหน้าอาคาร นอกจากนี้จะปรับปรุงห้องนอนเดิมและต่อเติมห้องนอนเพิ่มขึ้นอีก จากการสรุปเนื้อที่ใช้สอยสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 5-6 คน ซึ่งเป็นจำนวนครอบครัวส่วนใหญ่ในโครงการนี้ ยังมีเนื้อที่ใช้สอยรวมน้อยกว่ามาตรฐานที่ได้กำหนดการศึกษา การวางแนวทางต่อเติม จึงต้องทำการศึกษาถึงการใช้เนื้อที่ต่างๆ ภายในอาคารดังกล่าวด้วย การศึกษาแนวทางการต่อเติม ได้กำหนดหลักการด้วยการจัดเขตของส่วนใช้สอยต่างๆ ออกไปตามหลักการ ที่มีการศึกษาและสรุปเอาไว้เป็นทฤษฎีแล้ว ในกรณีนี้ ส่วนใช้สอยที่อยู่ในเขตสาธารณะ ก็ได้แก่ ระเบียงหน้าบ้านและโรงรถ เขตห้องสาธารณะ ก็ได้แก่ ห้องรับแขก ห้องพักผ่อนและอยู่อาศัย เขตกึ่งส่วนตัว ได้แก่ ห้องนอน(ชั้นล่าง) ห้องทำงาน เขตดำเนินงานหรือเขตบริการ ได้แก่ ห้องครัว ห้องอาหาร ห้องคนใช้ และห้องเก็บของ เขตส่วนตัว คือห้องนอน และห้องน้ำ-ส้วม การวางแนวทางได้กำหนดขั้นตอนตามสภาพความจำเป็นของการใช้สอย เช่นการต่อเติมห้องนอน ห้องครัว ตามสภาพกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น เช่น การต่อเติมห้องเก็บของ ห้องทำงาน การวางแนวทางตามสภาพความต้องการที่เพิ่มขึ้น เช่นการต่อเติมห้องรับแขก ห้องพักผ่อนให้กว้างขวางขึ้น แนวทางการออกแบบต่อเติมดังกล่าว เป็นแนวทางรวมที่เป็นกลางสำหรับผู้อยู่อาศัย หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในโครงสร้าง จะได้นำไปใช้หรือเสนอแนะในการปรับปรุงต่อเติม โดยสามารถปรับปรุง หรือ ขยายแนวทางในขั้นรายละเอียดในทางปฏิบัติได้ต่อไป พร้อมกันนี้ ได้เสนอแนะถึงการจัดเตรียมโครงสร้างและวัสดุพื้นผิวต่างๆ เอาไว้ในเชิงของโปรแกรม ความต้องการของการปรับปรุงต่อเติม เพื่อเป็นแนวทางหรือข้อพิจารณาในการจัดทำอาคารพักอาศัยประเภทอาคารเดี่ยว 2 ชั้น ในโครงการเคหะชุมชนของรัฐต่อไป
Other Abstract: The National Housing Authority of Thailand (NHA) has laid down its policy to construct the residential housing in order to solve the problem of housing shortage. In implementation to this policy, the community housing proje[c]t has, thus been initiated. The land was allocated and various types of residential housing were designed. One of the types of residential housing was the two-storey single house scheme, designed for those who are classified as the middle income group with an earning of more than Bath 5,000 per month. The house comprises of two adjacent levels, the ground is an open space without partitions except the bath room and columns. The upper floor is already provided with two completed bedrooms. [However] there are 4 main reasons for the expansions: 1. Due to the lack of cladding on the ground floor, which derived with neither enclosure nor privacy, thus, it is not suitable to use as living space. 2. Rooms and facilities are not adequately provided to maintain necessary daily life, e.g. no kitchen, no living room, etc. 3. The area of rooms and facilities are insufficient to all household members. 4. The building lacks both the good proportion and the aesthetic sense according to the architectural design. Consequently, house expansion is essentially needed. It is found from study that the occupants have in the first place to remodel the original building to be more adequate as well as to expand some more rooms at the rear of the house Roofs are constructed to stretch out from the sideways of the building to form a garage. Terrace and canopy will be built at the front of the house. Additionally, the original bedrooms will be remodelled and extra bedrooms will be added downstairs. This study identifies the total facility area of families with 5-6 household members, which is the majority number of family member in this project, is below standard. In examining the house expansion design, each facility is categorized along the conclude theory. In this case, the facility area in the public zone comprises [of] terrace and ga[r]age; the semi-public zone includes living room, waiting room and living area; the semi-private zone covers bedrooms and study room; and operative or service room consist of kitchen, dining room, servant’s room and storeroom; and private zone contains the bedroom and bathroom. Steps for guideline planning will be developed along the necessary condition for its utilization, e.g. the expansion of bedroom and kitchen, as well as the expansion of storeroom and study room. It is recognized that house remodelling and expansion depends upon the status and requirement of each occupant. The survey showed that only 67.5 percent are those who designed their own house expansion and remodelling, and who reside on site. Out of this 67.5 percent, only 17.5 percent are satisfied with their changes. The remaining 50 percent are dissatisfied and want to remodel further. This finding indicate that the occupants failed to meet with their intention in their preliminary expansion. Also this NHA house plan is not appropriate for those who lack such knowledge in house planning. The occupants would obviously need more guidance and coordination from the NHA in order to accomplish their expansion design. The specified guideline design is the neutral guideline formulated for the occupants and those involved in this housing scheme, to put into use or recommend for house expansion and remodelling. This guideline can be modified or elaborated in its detail for further practical purpose. Subsequently, this very guideline design also supplies the method for preparing the structure and foundation materials in terms of its programming to implement to the expansion and remodelling requirement which can be employed further as the guideline or consideration for the construction of two-storey single house project of the [NHA’s] future housing scheme.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47791
ISBN: 9745677817
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawit_an_front.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_an_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_an_ch2.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_an_ch3.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_an_ch4.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_an_ch5.pdf13.15 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_an_ch6.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_an_ch7.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_an_back.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.