Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47898
Title: ขอบเขตของข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เอง
Other Titles: Scope of judicial notice
Authors: อิสรา วรรณสวาท
Advisors: มุรธา วัฒนะชีวะกุล
พรเพชร วิชิตชลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เอง
การพิจารณาและตัดสินคดี
กฎหมายกับข้อเท็จจริง
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เอง คือข้อเท็จจริงที่ศาลสามารถรับรู้เองได้โดยไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงนั้นเข้าสู่การรับรู้ของศาลด้วยพยานหลักฐานของคู่ความในคดี ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองจึงต้องเป็นเสมือนเครื่องมือเพียงสิ่งเดียวที่ให้ศาลรับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆได้อย่างกว้างขวาง แต่จะต้องมีขอบเขตที่บุคคลทุกฝ่ายในกระบวนพิจารณาทั้งศาล โจทก์ จำเลย สามารถทราบได้ว่ามีอยู่เพียงใด เพื่อให้การใช้ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เป็นไปโดยถูกต้องแน่นอน ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติอันจะส่งผลให้กระบวนพิจารณาในศาลดำเนินไปโดยรวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังทำให้กฎหมายมีความแน่นอน จากการวิจัย พบว่าบัญญัติของข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองของไทย ที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ได้บัญญัติข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองไว้สองลักษณะคือ ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปและข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีคำจำกัดความไว้ให้ทราบได้ว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีลักษณะเช่นใด เพราะต้องการให้มีการพัฒนาหลักเกณฑ์เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาศาลฎีกา แต่จากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาตั้งแต่เริ่มใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจนถึงปัจจุบันก็มิได้มีขอบเขตและความชัดเจนที่เพียงพอจะใช้เป็นหลักเกณฑ์ที่บุคคลทุกฝ่ายในกระบวนพิจารณาจะทราบได้ อีกทั้งบางครั้งยังมีความสับสบนอยู่ในบางครั้ง ทั้งในคำพิพากษาและในตำรา จึงเป็นเหตุให้การใช้ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองของไทยยังอยู่ในขอบเขตที่ค่อนข้างแคบหากจะเปรียบเทียบกับการใช้ของประเทศที่เป็นบ่อเกิดของหลักกฎหมายเรื่องข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เอง เช่น อังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกา ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรจะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้มีขอบเขตที่คู่ความทุกฝ่ายในกระบวนพิจารณาจะสามารถทราบได้เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไปยิ่งขึ้น
Other Abstract: Judicial Notice is a notice of which the court can take cognisance without adducting it by the facie evidence of the party concerned. Consequently, The Judicial Notice is the only one implement for court to take cognisance of other kinds of it. But the notice must have a limitation that every persons in the proceeding such as the judge, the plaintiff and the defendant can perceive. So that the Judicial Notice can be uses correctly both in theory and in practice and this will encorrage the proceeding of the cases in court processes rapidly by saving time and expenses, and it can also make the law accuracy (certainty). As for the research, we can find that the provision of the Judicial Notice, In Thailand, Which are prescribed in the Civil Procedure code, Section 84, compose of two kinds of Judicial Notice; General Knowledge fact and Indisputable fact. These two provision do not give any definitions of notices they intent to be developed and set up the rules by judgements of the supreme court. But until now, There are not enough limitation and clarity for being the rules that every persons in the proceeding of the case can perceive moreover, They are sometime many confusions in the judgements and in the textbooks, So that Judicial Notice, In Thailand, is still narrow in comparison with countries where it occurred like Great Britain or the United State of America. Thus the researcher thinks that we should alterate (rectify, amend, modify) the provisions to have a limitation for every persons in the proceeding of the cases can take for further developing.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47898
ISBN: 9746330586
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eisara_va_front.pdf987.54 kBAdobe PDFView/Open
Eisara_va_ch1.pdf682.17 kBAdobe PDFView/Open
Eisara_va_ch2.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open
Eisara_va_ch3.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open
Eisara_va_ch4.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open
Eisara_va_ch5.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Eisara_va_back.pdf610.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.