Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47959
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์-
dc.contributor.authorวรรณี ศิรินพกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-06T09:15:16Z-
dc.date.available2016-06-06T09:15:16Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745674982-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47959-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่นแบบเอกนัยและอเนกนัยที่มีต่อการแก้ปัญหา[แบบ]เอกนัยและอเนกนัยของเด็กอนุบาล โดยมีสมมติฐานว่าการเล่นแบบเอกนัยจะทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบเอกนัยเพิ่มขึ้น และไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศในการแก้ปัญหาทั้งสองประเภทนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 จากโรงเรียนอนุบาลเสริมมิตร อายุ 4-5 ปี จำนวน 103 คน ได้รับการทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบเอกนัยและอเนกนัยด้วยแบบทดสอบความคิดเอกนัย และ[แบบ]ทดสอบความคิดอเนกนัยที่สร้างขึ้น เป็นคะแนนก่อนทดลอง หลังจากนั้นผู้วิจัยได้แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม โดยที่ให้เด็กในแต่ละกลุ่มมีเด็กชายและเด็กหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน และมีคะแนนก่อนทดลองของแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกัน กลุ่มที่ 1 เป็นเด็กชาย 13 คน เด็กหญิง 13 คน ให้เล่นแบบเอกนัย กลุ่มที่ 2 เป็นเด็กชาย 13 คน เด็กหญิง 13 คน ให้เล่นแบบ[อเนกนัย] กลุ่มที่ 3 เป็นเด็กชาย 14 คน เด็กหญิง 12 คน ให้เล่นแบบเอกนัยและอเนกนัย กลุ่มที่ 4 เป็นเด็กชาย 14 คน เด็กหญิง 11 คน ให้อยู่ในสภาพการเรียนการสอนแบบปกติ จัดให้เด็กกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 ได้รับการฝึกการเล่นวันละ 15 นาที เป็นเวลา 10 วัน ติดต่อกัน ด้วยของเล่น 10 ชุด ที่สามารถเล่นได้ 2 วิธี คือ เล่นแบบเอกนัยและเล่นแบบอเนกนัย หลังจากนั้นทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบเอกนัยและอเนกนัยของเด็กทั้ง 4 กลุ่ม ด้วยแบบทดสอบชุดเดิมได้เป็นคะแนนหลังทดลอง หาความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนทดลองและหลังทดลอง (Gain Score) เพื่อดูผลของการเล่นที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็ก [การ]วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง แล้ว ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1.ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบอเนกนัยของกลุ่มที่ได้รับการเล่นแบบอเนกนัยเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้เล่นแบบเอกนัยและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบอเนกนัยของกลุ่มที่ได้รับการเล่นทั้งสองแบบเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสามารถในการแก้ปัญหาแบบเอกนัยเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ ทั้ง 3 กลุ่ม 3. ความสามารถในกาแก้ปัญหาแบบเอกนัยของกลุ่มที่ได้รับการเล่นแบบเอกนัยเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างจากกลุ่มอื่น ทั้ง 3 กลุ่ม 4. เด็กชายและเด็กหญิงมีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบเอกนัยและอเนกนัยไม่แตกต่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the effects of play on convergent and divergent problem solving of kindergarten children. The hypotheses were that convergent play would increase convergent-problem-solving ability and divergent play would increase divergent-problem-solving ability and sex would have no effect on children’s performance. One hundred and three children from [Sermmitr] Kindergarten aged between 4-5 years old were individually tested on their abilities to solve convergent and divergent problems. The subjects were then assigned to one of the four following condition:- 1) playing with convergent materials 2) playing with divergent materials 3) playing with convergent and divergent materials 4) control group, attending regular classes. Each group consisted of 11-13 girls and 13-14 boys. There was no difference in convergent and divergent problem solving scores among the four groups. Each child from the play groups played with ten sets of materials, 15 minutes every day, for ten days. Posttest scores were obtained from the experiment. The Gain Scores were analyzed by two-way analysis of variance and Scheffe’s method of multiple comparison. Results are as follows:- 1) The divergent group performed better than the convergent group and controlled group on divergent problem solving at the significance level of .05. 2) The convergent and divergent group performed better than the controlled group on divergent problem solving at the significance level of .05 but they were no better than the other 3 groups on convergent problem solving. 3) The convergent group was found to perform at the same level as the other three groups. 4) The finding indicated that there was no difference between boys and girls in their convergent and divergent-problem-solving abilities.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการละเล่นen_US
dc.subjectความคิดและการคิดen_US
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียนen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาen_US
dc.titleผลของการเล่นที่มีต่อการแก้ปัญหาแบบเอกนัยและแบบอเนกนัย ของเด็กอนุบาลen_US
dc.title.alternativeEffects of play on convergent and divergent problem solving of kindergarten childrenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPenpilai.R@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannee_si_front.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_si_ch1.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_si_ch2.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_si_ch3.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_si_ch4.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_si_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_si_back.pdf8.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.