Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48097
Title: ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงต่อหน้าที่ ของสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาประเทศ : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง จากโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์
Other Titles: The opinions of radio programme producers on the functions of radio broadcasting in national development: a case study of on-the-job trainees from the school of public relations, the public relations department
Authors: วัชรี จันทาโภ
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: วิทยุ -- การจัดรายการ
วิทยุกระจายเสียง
สื่อมวลชน -- แง่สังคม
รายการวิทยุ
เจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
การพัฒนาประเทศ
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อมวลชนที่มีหน้าที่เช่นเดียวกับสื่อมวลชนอื่นๆ คือ การให้ข่าวสาร ให้ความรู้ ให้ความคิดเห็นและความบันเทิงแก่ประชาชน และปัจจุบันก็เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า วิทยุกระจายเสียงเป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลในการช่วยให้เกิดขบวนการในการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างมีแบบแผน จึงทำให้เป็นที่สงสัยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่มากมายถึง 200 กว่าสถานี และทุกสถานีเป็นของทางราชการทั้งสิ้นนั้น ได้มีส่วนช่วยเหลือนโยบายการพัฒนาประเทศบ้างหรือไม่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของสื่อมวลชนในการพัฒนาประเทศของ Wilbure Schramm มาเป็นแนวทางในการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ .- 1. เพื่อทราบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงต่อหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาประเทศ 2.เพื่อทราบการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน เพื่อการพัฒนาประเทศของเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง 3.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อหน้าที่ของสื่อมวลชน เพื่อการพัฒนาประเทศกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาประเทศของเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง 4.เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นต่อหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาประเทศ การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาประเทศทัศนคติต่อสื่อมวลชนและค่านิยมสมัยใหม่ของเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง 5. เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตรเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงของโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศในส่วนที่ใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการพัฒนา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี ดังนั้นประชากรตัวอย่างจึงเน้นเฉพาะเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง จากโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นที่ 28 โดยการเลือกตัวอย่างตามจุดมุ่งหมาย (purposive sampling) ของการวิจัย โดยถือหลักว่า กลุ่มตัวอย่าง จะต้องเป็นผู้ที่ยังทำหน้าที่จัดรายการวิทยุกระจายเสียงด้วยตนเองโดยตรงในปัจจุบัน หรือผู้ที่แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่ได้ทำหน้าที่จัดรายการวิทยุฯ ด้วยตนเองโดยตรงแล้วก็ตาม แต่ยังคงทำงานเกี่ยวข้องกับงานวิทยุกระจายเสียงเช่นเป็นผู้บริหารสถานีผู้ควบคุมรายการหรือผู้ตรวจสอบรายการเป็นต้น ในการรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล กระทำโดยการคำนวณด้วยเครื่องสมองกลซึ่ง ในการวิจัยนี้สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ (Percentage) ไค-สแควร์ (Chi-Square) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coeficient)ทำให้สรุปผลของการทดสอบสมมุติฐานได้ดังต่อไปนี้ 1.เจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเห็นด้วยกับหน้าที่ของสื่อมวลชนในการพัฒนาประเทศสมมติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยัน 2.เจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงได้ปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัมนาประเทศสมมติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน 3.ไม่มีความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นต่อหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาประเทศ กับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน เพื่อการพัฒนาประเทศของเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงสมมติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน 4.ความคิดเห็นต่อหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัมนาประเทศการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาประเทศ ทัศนคติต่อสื่อมวลชนและค่านิยมสมัยใหม่ของเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง มีความสัมพันธ์กัน และสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน สมมติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน 5.ความมากน้อยของการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาประเทศของเจ้าหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของเพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ ระยะเวลาที่จบการอบรม รูปแบบของรายการที่จัดสมมติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะว่า 1.รัฐควรกำหนดนโยบายอย่างชัดแจ้งในการนำวิทยุกระจายเสียงมาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยกำหนดให้สถานีวิทยุทุกแห่งมีรายการข่าวสารความรู้และความบันเทิงในสัดส่วนที่เหมาะสมตามความจำเป็นและตามข้อจำกัดของแต่ละสถานี 2.จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ เพื่อแจกจ่ายให้กับสถานีวิทยุทุกแห่ง เพื่อให้ผู้จัดรายการใช้เป็นข้อมูลในการจัดรายการเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนข้อมูล 3.รัฐควรให้การสนับสนุนแก่โรงเรียนการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ บุคลากรและงบประมาณ เพื่อให้สามารถจัดการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ หลักสูตร
Other Abstract: Radio Functions the same duties as other media in informing, educating, visualizing concept and entertaining the public. At present, it is generally accepted that radio as influential medium to help evoke the process in national development, as Thailand has been a formal developing country. It is suspected that Thailand, so far has get up more than 200 official radio stations. Such suspicion lies on the fact that whether or not these stations have participated in national development. Therefor, the researcher follows Wilbur Schramm’s concept concerning duties of mass media in national development as guidelines in the study. The objectives are five folds as follows :- 1. To learn about radio programme producer’s points of views towards duties of mass media in nation development. 2. To examine functions provided by mass media in national development performed by radio programme producers. 3. To compare radio programme producers’ opinions between duties of mass media in national development and functions of mass media in national development. 4. To study the correlation of duties of mass media in national development, functions of mass media in national development, attitudes toward mass media, and modern values, given by radio programme producers. 5. To propose suggestions for the improvement of the actual Radio Production Course, conducted by the School of Public Relations of the Public Relations Department, related to the policy of national development implementing radio broadcasting for development. The study was operated on the basis of case study. Consequently, the target group samples were specifically selected from graduates of Radio Production Course ranging from course no.1-28, conducted by the School of Public Relations of the Public Relations Department. The purposive sampling technique was employed. The determination of the target group was those who actually produce radio programmes, or if they are the programme producers, the must involve in the broadcasting line such as, being station managers, programme-controller or programme-examiner. Questionnaires were mailed to 209 radio programme producers. The data analysis was computerized using statistical Percentage, Chi-Square test and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The hypothesis could be concluded as the following findings:- 1. Radio programme producers accepted that radio should be able to play the roles in national development; this hypothesis was confirmed. 2. Radio programme producers had performed the role of mass media in national development; There was no confirmation. 3. There was no significant difference between opinions towards duties of mass media in national development and the real functions of mass media in national development performed by radio programme producers; the hypothesis indicated no sign of acceptation. 4. Radio programme producers’ point of views towards duties of mass media in national development, their performances, their attitudes towards mass media and their modern values were not significantly correlated in the same direction. The hypothesis was not confirmed. 5. The amount of functions of mass media in national Development performed by radio programme producers, depended on differences of sex, age, education, experiences, period of graduation and programme-formats utilized. This hypothesis was not confirmed. Considering the results of the data analysis, the researcher proposed the following suggestions : 1. The government should formulate clearer policies in the utilization of radio for the national development. The allocation of informational, educational and entertaining programmes should be provided in proper proportion up to the necessity and condition of each radio station. 2. The responsible unit should be set up in collecting data and information involved in national development in order to distribute to all radio stations; where as producers could employ as materials in producing programmes to solve the problem of lack of programme materials. 3. The School of Public Relations pertaining to Public Relations Department, should be strongly supported on the aspects of equipment, personnel and budget to bring about the efficiency of training for all coures conducted.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48097
ISBN: 9745624519
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharee_ja_front.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_ja_ch1.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_ja_ch2.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_ja_ch3.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_ja_ch4.pdf5.84 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_ja_ch5.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Watcharee_ja_back.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.