Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48241
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนวดี บุญลือ-
dc.contributor.authorรุ่งรัตน์ ศิริกิจวัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T04:20:13Z-
dc.date.available2016-06-08T04:20:13Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745665843-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48241-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับกฎหมายทะเบียนราษฎรของกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาก่อนและหลังการเผยแพร่ 2. เพื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่างการมีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับกฎหมายทะเบียนราษฎร กับตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคม และการเปิดรับสื่อของกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา โดยทำการศึกษาประสิทธิผลของการเผยแพร่ความรู้กฎหมายทะเบียนราษฎรในโครงการเผยแพร่กฎหมายแก่ประชาชนในชนบท ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 คน ในเขตอำเภอพนมสารคาม กิ่งอำเภอแปลงยาว และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ในรูปแบบการวิจัย Quasi-experimentation ด้วยวิธี One-group Pretest Posttest Design และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ การทดสอบ X² การทดสอบ t-test การหาค่าสหสัมพันธ์ แบบ Pearson และการหาค่าสหสัมพันธ์ แบบ Point-Biserial ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ คือ ผู้เข้ารับการเผยแพร่ความรู้กฎหมายทะเบียนราษฎรในโครงการเผยแพร่กฎหมายแก่ประชาชนในชนบท มีความรู้เพิ่มขึ้น และระดับทัศนคติต่อกฎหมายทะเบียนราษฎรในทางที่ดีขึ้นภายหลังที่ได้รับการอบรม ตัวแปรทางเศรษฐกิจ และสังคม ได้แก่ ศาสนา อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพหลัก มีความสัมพันธ์กับการมีความรู้ กฎหมายทะเบียนราษฎรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เพศ สถานภาพสมรส ฐานะในครอบครัว รายได้ การให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ผู้อื่น และการเป็นสมาชิกกลุ่มสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีความรู้กฎหมายทะเบียนราษฎร ตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ลักษณะด้านเพศ ศาสนา สถานภาพสมรส ฐานะในครอบครัว อายุ รายได้ การให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ผู้อื่น ระดับการศึกษา อาชีพหลักและการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อกฎหมายทะเบียนราษฎร การเปิดรับสื่อได้แก่ การเดินทางออกไปมีประสบการณ์นอกท้องถิ่น และการเปิดรับเนื้อหากฎหมายจากสื่อสิ่งพิมพ์ มีความสัมพันธ์กับการมีความรู้กฎหมายทะเบียนราษฎรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนรวม การเปิดรับสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และการเปิดรับรายการกฎหมายจากสื่อวิทยุ ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีความรู้กฎหมายทะเบียนราษฎร การเปิดรับสื่อได้แก่ การเดินทางออกไปมีประสบการณ์นอกท้องถิ่น การเปิดรับสื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ การเปิดรับเนื้อหากฎหมายจากสื่อสิ่งพิมพ์ และการเปิดรับรายการกฎหมายจากสื่อวิทยุ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อกฎหมายทะเบียนราษฎรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนรวม และการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อกฎหมายทะเบียนราษฎรen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpoes of this study is two folds: 1. To explore some changes in knowledge and attitude after transferring knowledge about citizenship law to rural people in three districts of chachoengsao. 2. To study relations between socio-economic, communication factors and toward citizenship law The one-group pretest – posttest design is used in this research which composed of 132 samples. The data are analysed by X² - test, t-test, Pearson Product Moment and Point-Biserial Correlation. It was found that there was an increase in knowledge after exposure to training. There was some change in attitude toward citizenship law in the direction of more positive or better attitude. There was significant correlation between socio-economic variables : religion, age, level of education occupation and knowledge about citizenship law. No Significant relationship was found between the knowledge and sex, marital status, family status, income, leadership, social participation. No significant correlation was found between socio-economic variables : sex, religion, marital status, family status, age, income, leadership, low of education occupation social group membership and attitude toward to citizenship law. As for communication variable and law knowledge, it was found that cosmopoliteness, exposure to law knowledge through printed materials were correlated with differences in knowledge Degree of participation in community activities, mass media (radio, television, newspaper) exposure to law program were not correlated to the knowledge of citizenship law. For communication variables and attitude toward citizenship law, there was significant relationship between attitude and cosmopliteness, exposure to radio, newspaper in general, exposure to law knowledge for printed materials and radio. Participation to community activities and exposure to television were not correlated to the attitude per se.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสื่อสารen_US
dc.subjectโครงการเผยแพร่กฎหมายแก่ประชาชนในชนบท จังหวัดฉะเชิงเทราen_US
dc.subjectทะเบียนราษฎร์ -- การประชาสัมพันธ์en_US
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.titleประสิทธิผลของการเผยแพร่ความรู้ เรื่องกฎหมายทะเบียนราษฎรแก่ชาวชนบท จังหวัดฉะเชิงเทราen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of citizenship law diffusion in rural Chachoengsaoen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTanawadee.B@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungrat_si_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Rungrat_si_ch1.pdf815.56 kBAdobe PDFView/Open
Rungrat_si_ch2.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Rungrat_si_ch3.pdf907.66 kBAdobe PDFView/Open
Rungrat_si_ch4.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Rungrat_si_ch5.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Rungrat_si_back.pdf15.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.