Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48305
Title: การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
Other Titles: Cancellation of trademark registration
Authors: วรนุช เซียงพุดซา
Advisors: ธัชชัย ศุภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เครื่องหมายการค้า -- การเพิกถอน
อนุสัญญากรุงแมดริด
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
สนธิสัญญาการจดทะเบียบเครื่องหมายการค้า
อนุสัญญากรุงปารีสสำหรับคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม พ.ศ. 2510
เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สิทธิในเครื่องหมายการค้า
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงหลักกฎหมาย การใช้บังคับและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นที่สำคัญอันเกี่ยวกับเหตุผลในการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พัฒนาการของการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และศึกษาถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ เช่น ความเหมาะสมของกำหนดเวลา 5 ปี เพื่อฟ้องคดีเพิกถอนทะเบียนโดยอ้างสิทธิดีกว่าตามมาตรา 67 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 การพิสูจน์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8(11) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ความสำคัญของพยานหลักฐานเกี่ยวกับการใช้และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยในกรณีพิสูจน์สิทธิดีกว่า ภาระในการพิสูจน์การใช้เครื่องหมายการค้าในคดีฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยอ้างเหตุแห่งการไม่ใช้เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 63 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยหลักกฎหมายตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และพระราชบัญญัติลักษณะเครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้าขาย พ.ศ. 2457 และศึกษาเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า หลักและการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โดยมุ่งให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประกอบการค้าสุจริตที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อน โดยถือว่าสิทธิที่เกิดจากการใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน โดยเฉพาะใช้กับสินค้าในประเทศไทยย่อมเป็นสิทธิดีกว่าเหนือสิทธิที่เกิดจากการจดทะเบียน สำหรับพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญแก่การพัฒนาทางด้านธุรกิจการค้ามากยิ่งขึ้น มีการรับเอกหลักการเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปเข้ามาไว้ในกฎหมาย กำหนดเวลา 5 ปี ตามมาตรา 67 เหมาะสมเฉพาะในกรณีที่ผู้จดทะเบียนก่อนสุจริต มิได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น กำหนดเวลา 5 ปีนี้ไม่เหมาะสมกับกรณีผู้จดทะเบียนก่อนไม่สุจริต ลอกเลียนนำเอาเครื่องหมายการค้าของ้ผุอื่นมาจดทะเบียนไว้เพราะก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอันไม่เป็นธรรม และกำหนดเวลา 5 ปีนี้ก็ไม่ควรใช้กับกรณีเครื่องหมายการค้าที่พิพาทเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เพราะผู้ประกอบการค้าที่มีความสามารถและสุจริต การได้รับการคุ้มครองในกรณีฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนอ้างเหตุการไม่ใช้ภาระการพิสูจน์ถึงการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวควรอยู่ที่ผู้จดทะเบียนในฐานะที่เป็นผู้ทราบข้อเท็จจริง และมีพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว
Other Abstract: This dissertation has the objective of making a study of the principles of law, their enforcement and practice with respect to the cancellation of trademark registration. The dissertation focuses on the important issues concerning the reason for the cancellation of trademark registration and the development of trademark registration cancellation in Thailand. The dissertation also studies other related issues such as the appropriateness of the five year period for cancellation action against trademark registration on the ground of better title under Section 67 of Trademark Act B.E. 2534, proof of a well-known trademark under Section 8(11) of said Act, the requirement of evidence of trademark use and registration in Thailand for proof of better right, and the burden of proof for trademark use in a court cancellation action against trademark registration on the ground of non-use under Section 63 of said Act. A study is also made of the principles of law under the Trademark Act B.E. 2534 in comparison with those in Trademark Act B.E. 2474 and the Law on trade Marks and Trade Names of B.E. 2457, as well as international laws and foreign laws. As a result of the research and study, it is found that the principles and enforcement of law concerning the cancellation of trademark registration in Thailand have developed considerably under the Trademark Act B.E. 2474 with the purpose of granting protection to bona-fide business operators who have used their trademarks prior to others. Thus the right resulting from the prior trademark use, especially with goods in Thailand, prevails over the right resulting from registration. The trend under the Trademark Act B.E2534 is to emphasize more on trade development by adopting the legal principles of a well-known trademark. The five year period under Section 67 is appropriate only in the case of the prior registrant which acts in good faith without imitating another person’s trademark. This five year period is not appropriate where the prior registrant acts in bad faith and imitates and registers another person’s trademark thereby causing unfair trade competition. This five year period should also not apply in the case of a well-known trademark because business operators with ability and good faith should be protected. In case of a cancellation action for non-use the burden of proof of trademark use should be with the registrant because he is well aware of the related facts and evidence.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48305
ISBN: 9745817724
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Woranuch_si_front.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Woranuch_si_ch1.pdf891.81 kBAdobe PDFView/Open
Woranuch_si_ch2.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open
Woranuch_si_ch3.pdf8.42 MBAdobe PDFView/Open
Woranuch_si_ch4.pdf8.54 MBAdobe PDFView/Open
Woranuch_si_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Woranuch_si_back.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.