Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48321
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมรตรี วิถีพร-
dc.contributor.advisorวิทยา ยงเจริญ-
dc.contributor.authorรัชดาภรณ์ ศรีมานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T08:29:28Z-
dc.date.available2016-06-08T08:29:28Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745816752-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48321-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาการกระจายของความเค้นซึ่งเกิดจากการกดฟันหน้าล่างด้วยกลไก 2 ประเภท : เบอร์สโตน อินทรูชีฟ อาร์ช และ ริกเก็ตส์ ยูทิลิตี อาร์ช และเปรียบเทียบความแตกต่างของรูปแบบความเค้นซึ่งเกิดจากกลไกทั้งสอง การทดลองกระทำในแบบจำลองฟันซึ่งจำลองลักษณะการเรียงตัวของฟันในขากรรไกรล่างที่มีลักษณะเคิร์ฟ ออฟ สปี ชัน พันหน้าทั้งสี่ซี่ถูกกดด้วย 0.018" x 0.022" เบอร์สโตน อินทรูชีฟ อาร์ช และ 0.016" x 0.016" ริกเก็ตส์ ยูทิลิตี อาร์ช การกระจายของความเค้นที่เกิดขึ้นในแบบจำลองดังกล่าวข้างต้น ศึกษาโดยวิธีโฟโตอีลาสติก ผลการวิจัยสรุปดังต่อไปนี้ 1 การกระจายของความเค้นซึ่งเกิดจากลวดกดฟันหน้าแต่ละชนิดตามขนาดของแรงที่แนะนำให้ใช้ ( 50 กรัม สำหรับเบอร์สโตน อินทรูชีฟ อาร์ช และ 75 กรัม สำหรับริกเก็ตส์ ยูทิลิตี อาร์ช ) ปรากฏดังนี้ 1.1 เบอร์สโตน อินทรูชีฟ อาร์ช ทำให้เกิดความเค้นรอบปลายรากฟันหน้าทุกซี่ ความเค้นกระจายจากปลายรากฟันขึ้นไปสู่บริเวณคอฟันเป็นระยะทางประมาณ 1/3 – 2/3 ของความยาวรากฟัน ในบริเวณฟันหลัง ความเค้นกระจายสู่บริเวณปลายรากของฟันหลังทุกซี่ และพื้นที่ระหว่างรากฟัน ความแปรปรวนของการกระจายของความเค้นบริเวณฟันหลังด้านซ้ายและขวา พบได้บริเวณคอฟันระหว่างฟันกรามซี่ที่หนึ่งและฟันกรามน้อยซี่ที่สอง 1.2 ริกเก็ตส์ ยูทิลิตี อาร์ช ทำให้เกิดการะกระจายของความเค้นไม่สม่ำเสมอ ความเค้นมากที่สุด พบได้บริเวณด้านใกล้กลางของฟันตัดซี่ข้างขวา ส่วนในบริเวณอื่นๆ พบความเค้นกระจายระหว่างปลายรากฟันหน้าทั้งสามซี่ และบริเวณคอฟันพบความเค้นกระจายประมาณ 2/3 ของความยาวรากฟันเมื่อวัดจากระดับคอฟันมาทางด้านล่าง ในบริเวณฟันหลัง การกระจายของความเค้นมีความแปรปรวน กล่าวคือ ทางด้านซ้าย พบความเค้นบริเวณคอฟัน และทางด้านใกล้กลางของรากใกล้กลางของฟันกรามซี่ที่หนึ่งกระจายเข้าหาด้านไกลกลางของฟันกรามน้องซี่ที่สอง ทางด้านขวา ความเค้นกระจายจากปลายรากของฟันกรามไปจนถึงฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งและบริเวณคอฟันระหว่างฟันกรามน้อยทั้งสองซี่ 2 การกระจายของความเค้นซึ่งเกิดจากลวดกดฟันหน้าล่างทั้งสองเทคนิคแตกต่างกันทั้งบริเวณฟันหน้าและฟันหลัง แม้ในขนาดแรงเท่ากัน กล่าวคือ บริเวณฟันหน้า เบอร์สโตน อินทรูชีฟ อาร์ช ซึ่งกดฟันด้วยแรง 50 กรัม ทำให้เกิดความเค้นรอบรากประมาณ 2/3 ของความยาวรากฟันและกระจายขึ้นสู่บริเวณคอฟัน เมื่อขนาดแรงเพิ่มขึ้น จะเกิดความเค้นสองบริเวณ คือ บริเวณรอบปลายรากฟัน และบริเวณคอฟัน ในขณะที่ริกเก็ตส์ ยูทิลิตี อาร์ช ซึ่งกดฟันหน้าด้วยแรงขนาดเดียวกัน ทำให้เกิดความเค้นบริเวณปลายรากและบริเวณคอฟัน เมื่อขนาดแรงเพิ่มขึ้นความเค้นค่อนข้างคงเดิม บริเวณฟันหลังเบอร์สโตน อินทรูชีฟ อาร์ช ทำให้เกิดความเค้นกระจายรอบปลายรากของฟันหลังทุกซี่ในขณะที่ริกเก็ตส์ ยูทิลิตีอาร์ช มีผลต่อผันกรามซี่ที่หนึ่งมากที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were to scrutinize stress distribution following the intrusion of mandibular incisors by 2 mechanics : Burstone intrusive arch, Ricketts utility arch ; and to compare the different of stress pattern created by the 2 mechanics. The experiment was undertaken on abirefringent model which represented the mandibular arch with excessive curve of spee. The four incisors were intruded by 0.018" x 0.022" Burstone intrusive arch and 0.016" x 0.016" Ricketts utility arch, respectively. The stress distribution in the aforementioned model was evaluated by the Photoelastic technique. The results were as follows : 1 With the appropriate force magnitude as recommended by each technique (50 gram forces for Burstone intrusive arch, 75 gram forces for Ricketts utility arch ) : 1.1 Burstone intrusive arch created the stress which distributed around the apices of the four incisors and extended upward around 1/3 - 2/3 of the root length. At the posterior teeth the stress distributed around the apices of all the posterior teeth and at the interradicular areas. Variations of the stress distribution at the left and right posterior teeth could be found at the cervical area between the first molar and the second premolar. 1.2 Ricketts utility arch created nonhomogeneous stress distribution. Maximum stress could be found at the mesial aspect of the right lateral incisor. At the other areas the stress distributed around the apex of the other three incisors. At the cervical area of these teeth the stress was also found around 2/3 of the root length. At the posterior teeth the distribution of stress was varied. At the left side the stress was found at the cervical areas, and the mesial aspect of the first molar. This stress extended toward the distal surface of the second premolar. On the right side the stress extended not only from the apical area of the first molar to the first premolar but also from the cervical area between the two bicuspids. 2 At the same force magnitude the two mechanics created the different stress pattern in both anterior and posterior teeth. At the anterior teeth, Burstone intrusive arch with 50 gram forces created the stress around 2/3 of the incisal root. When the force was increased the stress distributed into two directions : cervical and radicular areas. Meanwhile Rickette utility arch with the same force magnitude created the stress at both radicular and cervical areas. When the force was increased the stress pattern was rather the same. At the posterior teeth Burstone intrusive arch produced the stress which distributed around the apex of all the posterior teeth meanwhile Ricketts utility arch produced major effect on the first molar.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการกระจายของความเค้นจากการกดฟันหน้าล่าง ด้วยเบอร์สโตน อินทรูซีฟ อาร์ช และริกเก็ตส์ ยูทิลิตี อาร์ช โดยวิธีโฟโตอีลาสติกen_US
dc.title.alternativeA comparative study of stress distribution due to mandibular incisor intrusion between burstone intrusive arch and ricketts utility arch by photoelastic techniqueen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineทันตกรรมจัดฟันen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSmorntree.V@Chula.ac.th-
dc.email.advisorfmewyc@eng.chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rachadaporn_sr_front.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Rachadaporn_sr_ch1.pdf750.3 kBAdobe PDFView/Open
Rachadaporn_sr_ch2.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Rachadaporn_sr_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Rachadaporn_sr_ch4.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Rachadaporn_sr_ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Rachadaporn_sr_back.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.