Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48348
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงจิต พนมวัน ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorอรพิน ยิ่งยง-
dc.contributor.authorรัชนี โรจน์วิโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T14:55:50Z-
dc.date.available2016-06-08T14:55:50Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745641944-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48348-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยาเพ็นนิซิลลินจี โดยการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำได้กระทำในผู้ป่วยที่มีน้ำขังในช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยสาเหตุต่างๆ จำนวน 23 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ( จำนวนผู้ป่วย = 11 ราย) ได้รับยาเพ็นนิซิลลินจีขนาด 1 ล้านยูนิต ส่วนกลุ่มที่ 2 ( จำนวนผู้ป่วย = 12 ราย) ได้รับยาขนาด 2 ล้านยูนิต ภายหลังการให้ยาได้เก็บตัวอย่างจากเซรุ่มและน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดพร้อมกันที่ช่วงเวลาต่างๆ ตลอดระยะ 12 ชั่วโมง การตรวจวิเคราะห์ระดับยาเพ็นนิซิลลินจีในตัวอย่างใช้วิธีทางการจุลชีววิทยาที่เหมาะสม โดยใช้เชื้อ Sarcina lutea ATCC 9341 เป็นเชื่อมาตรฐานที่ใช้ทดสอบ การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบระดับของยาและค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ระหว่างขนาดยาที่ให้และระหว่างยาในเซรุ่มกับในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอด ระดับยาเฉลี่ยในเซรุ่มที่เวลาต่างๆ ภายหลังการให้ยา 2 ล้านยูนิตสูงกว่าขนาด 1 ล้านยูนิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ภายหลังการให้ยาขนาด 1 ล้านยูนิต สามารถตรวจพบระดับยาเพ็นนิซิลลินจีในเซรุ่มมีระดับที่สูงกว่าค่า MIC ของยาต่อเชื้อทั่วๆ ไปรวมทั้งเชื้อ Streptococcus pneumonia ได้นานถึงชั่วโมงที่ 4 หลังให้ยา ส่วนการให้ยาขนาด 2 ล้านยูนิต ระดับยาที่สูงกว่าค่า MIC นี้จะพบได้นานถึงชั่วโมงที่ 12 หลังให้ยา การเปลี่ยนแปลงของระดับยาเพ็นนิซิลลินจีในเซรุ่มภายหลังการให้ยาทั้งสองขนาดนั้นเหมาะที่จะสร้างเป็น 2-compartment open kinetic model 95% เมื่อเปลี่ยนขนาดยาคือค่า ∝, β, k12,k21, kel, t1/2, vd, และ CL ค่าพารามิเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงไปและเป็นสัดส่วนเดียวกันกับขนาดยาที่เปลี่ยนคือค่า A, B และ AUCs(o->∝) จากการศึกษาพบว่ายาเพ็นนิซิลลินจีซึมแทรกเข้าสู่น้ำของช่องเยื่อหุ้มปอดได้ดี และระดับยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดภายหลังการให้ยาทั้งขนาด 1 ล้านและ 2 ล้านยูนิตสูงกว่าค่า MIC ของยานี้ต่อเชื้อทั่วๆ ไปรวมทั้งเชื้อ Diplococcus pneumoniae จนถึงชั่วโมงที่ 12 หลังให้ยา ระดับยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดในกลุ่มที่ได้ยาขนาด 2 ล้านยูนิตสูงกว่ากลุ่มที่ได้ยา 1 ล้านยูนิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตลอดช่วง 10 ชั่วโมงหลังให้ยา ปรากฎว่าเมื่อเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าระดับยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดสูงขึ้นเป็น 3-4 เท่า พบว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดเหมาะที่จะสร้างเป็น 1-compartment open model พารามิเตอร์ที่พบว่ามีค่าเปลี่ยนเป็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปลี่ยนแปลงขนาดยาคือค่า A, B, Cp และ AUCp ส่วนค่าพารามิเตอร์ที่ไม่พบความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นเดียวกับข้างต้นเมื่อเปลี่ยนขนาดของยาคือค่า ka , kel , tp และ t1/2 สำหรับการศึกษาปริมาณการซึมแทรกของยาปฏิชีวนะเข้าสู่น้ำช่องเยื่อหุ้มปอดในที่นี้บ่งเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ของอัตราส่วนระหว่างค่าพื้นที่ภายใต้เส้นโค้งระดับยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอด-เวลาต่อค่าพื้นที่ภายใต้เส้นโค้งระดับยาในเซรุ่มซึ่งมีค่าเฉลี่ยเป็น 72.97% และ 66.22% ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ยาขนาด 1 ล้านและ 2 ล้นยูนิตตามลำดับ จากการศึกษานี้พบว่าระดับยาในเซรุ่มและในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดหลังจากเวลาที่ระดับยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดเลยจุดสูงสุดไปแล้วมีความสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรงพอสมควร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของสหสัมพันธ์ ( r ) = 0.7711 จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่ายาเพ็นนิซิลลินจีคงระดับอยู่ในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดได้นานกว่าในเซรุ่ม อีกทั้งค่ากึ่งชีพของยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดก็ยาวกว่าในเซรุ่มหลายเท่า ดังนั้นการให้ยาเพ็นนิซิลลินจีในโรคติดเชื้อของเยื่อหุ้มปอด หากจะยืดระยะเวลาในการให้ยาออกไปเป็นทุกชั่วโมง ก็น่าจะใหผลในการรักษาได้เท่าเทียมกับการให้ยาทุก 4-6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน นอกจากนี้ถ้าต้องการระดับยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดสูงกว่าเดิม 2 เท่า ก็อาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดยาถึง 2 เท่า เพราะจะได้ระดับยาในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดสูงขึ้นถึง 3-4 เท่าจากการเพิ่มขนาดยาขึ้น 2 เท่านี้en_US
dc.description.abstractalternativeThe pharmacokinetics of penicillin G after intravenous injection were studied in 23 patients with pleural effusion of varied etiologies. A single dose of 1 megaunit and 2 megaunits of penicillin G sodium ware given to patients group 1 (n=11) and group 2 (n=12) respectively. Penicillin G levels in plasma and pleural fluid were determined simultaneously at intervals during a period of 12 hours after dosing. The concentration of penicillin G was determined microbiologically by agar well diffusion technique, with Sarcina lutea ATCC 9341 as the test organism. Penicillin levels and the pharmacokinetics parameters ware compared between doses and between plasma and pleural fluid. After one megaunit of penicillin G, the drug gave concentration in the serum well above the MIC of common pathogens including Streptococcus pneumoniae for a period of 4 hours while the serum levels retained above those MIC values through the 12 hours period in patients receiving 2 megaunits of the drug. At all times the higher dose resulted in the higher serum levels but not in a linear proportion with the dose and the proportions were not constant with time Penicillin G levels in plasma after 1 or 2 megaunits intravenously followed a 2-compartment open kinetic model. As expected, the parameters ∝, β, k12,k21, kel, t1/2, vd, and CL obtained after either dose of penicillin G were not significantly different at 95% confidence interval and A, B And AUCs(o->∝) showed a linear increase with the increased dosage. Penicillin G peetrated well into the pleural fluid with levels exceeded the MIC of common pathogens including Streptococcus pneumoniae through the 12 hours after each dose. Pleural fludi levels after 2 megaunits of the drug were significantly higher than the 1 megaunit dosage through out the 10 hours period. Doubled the dose resulted in 3-4 folds higher drug level in the pleural fluid. Theconcentration-time course in the pleural fluid after each doses of penicillin G fitted well with a 1-compartment open kinetic model. The parameters of A, B, Cp and AUCp (o->∝) obtained from the pleural fluid levels showed a nonlinear increase with the increased dose, whilst the ka , kel , tp and t1/2 in the pleural fluid showed no significant difference at 95% confidence interval when doubled the penicillin dosage. The pleural penetration of intravenous injected penicillin G (defined as the ratio of the areas under the curves in pleural fluid and the serum x 100) had average values of 72.97 and 66.22% in group 1 and 2 respectively. There was a rough linear correlation between the serum and pleural fluid levels after the peak pleural concentration had been reached with a correlation coefficent value of 0.7711. Since the half life of penicillin G in the pleural fluid was several times longer than in the serum, it is suggested that the 12 hours interval dosage for infection of the pleural space is reason able to give eual benefit as the interval of 4 or 6 hours recently used. The result also showed that when one wants a double pleural fluid leve, it is not necessary to double the dosage since dobled the dose resulted in 3-4 folds higher drug level in the pleural fluid.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเพนนิซิลลินen_US
dc.subjectเภสัชจลนศาสตร์en_US
dc.subjectPenicillinen_US
dc.subjectPharmacokineticsen_US
dc.titleเภสัชจลนศาสตร์ของยาเพ็นนิซิลลินจีในผู้ป่วยที่มีน้ำในเยื่อหุ้มปอดen_US
dc.title.alternativePharmacokinetics of penicillin G in patients with pleural effusionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorduangch.p@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratchanee_ro_front.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ro_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ro_ch2.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ro_ch3.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ro_ch4.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ro_ch5.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ro_ch6.pdf520.19 kBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ro_back.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.