Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48363
Title: การศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: A study of folklore in institutions of higher education
Authors: สุจริต บัวพิมพ์
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คติชาวบ้าน -- การศึกษาและการสอน
สถาบันอุดมศึกษา -- หลักสูตร
culture
educational systems
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาหลักสูตรและสำรวจรายวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในเอกสารหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบจำนวนรายวิชาและหน่วยกิจของวิชาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในหลักสูตร ในส่วนที่เป็นวิชาพื้นฐานและวิชาเอก 3. เพื่อสำรวจการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านและความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาต่อการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านในสถาบันอุดมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงบรรยาย โดยใช้แหล่งข้อมูลจากเอกสารหลักสูตร และการตอบแบบสอบถามของนิสิตนักศึกษา ปีสุดท้ายในปีการศึกษา 2528 จากสถาบันอุดมศึกษาจำกัดรับ 11 สถาบัน ข้อมูล 3,388 คน แบบสอบถามประกอบด้วย 2 ตอน ได้แก่ 1. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน 2. ความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน ผลการวิจัย สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนทางสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จะมีรายวิชาพื้นฐานทางวัฒนธรรมมากกว่า สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนทางสายวิทยาศาสตร์อย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนผลการเปรียบเทียบระหว่างสถาบันในเรื่องรายวิชาเอกนั้นพบความแตกต่างกันอย่างมากกล่าวคือ สถาบันที่สอนสายวิทยาศาสตร์เพียงด้านเดียวไม่มีวิชาเอกที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน ส่วนสถาบันที่เปิดสอนทางสายสังคมศาสตร์เพียงด้านเดียวจะมีวิชาเอกที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านมาก และสถาบันที่เปิดสอนทั้งสองสายในสถาบันเดียวกัน คณะที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ มีวิชาเอกที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านและมีเนื้อหาครบทั้ง 3 ประเภทของวัฒนธรรมพื้นบ้าน สำหรับข้อเท็จจริงของการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นบ้านนั้น สถาบันสอนทางสายวิทยาศาสตร์ มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นบ้านน้อยกว่าสถาบันที่เปิดสอนทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะสถาบันที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคและมีวิทยาเขตมากกว่า 1 แห่ง มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นบ้านมากกว่าสถาบันที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นบ้านนั้นทุกสถาบันมีความเป็นพ้องต้องกันหมด ได้แก่กิจกรรมทางวัฒนธรรมทั้งหลาย สร้างให้คนรักหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมและร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป นิสิตนักศึกษาจึงนิยมการจัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณีตามเทศกาลอยู่เป็นประจำ แต่ยังเห็นว่ากิจกรรมต่างๆ นั้น ยังไม่สมบูรณ์เหมาะสมตามวัฒนธรรมประเพณี ควรให้มีการปรับปรุง ในขณะเดียวกันเมื่อมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีจะมีนิสิตนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมกันเป็นจำนวนมากทุกสถาบัน ซึ่งกิจกรรมต่างๆ นั้นจะมีอาจารย์ผู้สอนร่วมกับนิสิตนักศึกษาเป็นดำเนินการ โดยมีสื่อมวลชนในท้องถิ่นเผยแพร่ข่าวให้ แต่ผู้บริหารของสถาบันนิสิตนักศึกษามีความเห็นว่ายังให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนในกิจกรรมทางด้านนี้น้อย งบประมาณที่ผู้บริหารแบ่งให้กับชุมนุมหรือชมรมเพื่อใช้ในกิจกรรมจึงน้อยตามไปด้วย ความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาต่อการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน พบว่า ก.ทุกสถาบันนิยมการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน มาบรรยายและสาธิต ข.นิสิตนักศึกษาสนใจการสื่อประเภทต่างๆในการเรียนการสอน ค. นิสิตนักศึกษาประสงค์ที่จะได้ไปชมการแสดงหรือการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีการจัดขึ้นนอกสถาบันทั้งที่ดำเนินการโดย ภาครัฐบาล หรือภาคเอกชน ง. นิสิตนักศึกษามีความเห็นว่า ผู้ที่สอนวิชาวัฒนธรรมพื้นบ้านควรจบการศึกษาทางด้านคติชนวิทยา หรือไทยคดีศึกษามาโดยตรง จ. นิสิตนักศึกษา ประสงค์ที่จะให้สถาบันสนับสนุนและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านให้ออกสู่ชุมชนในขั้นของการปฏิบัติ ฉ.นิสิตนักศึกษาประสงค์ที่จะได้รับประสพการณ์ตรงจากการออกปฏิบัติการในการเก็บข้อมูลภาคสนาม ช. นิสิตนักศึกษาประสงค์ที่จะให้สถาบัน จัดวิชาวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นวิชาบังคับพื้นฐานและเปิดสอนวิชาเอกให้เพิ่มมากขึ้น ซ. เมื่อมีการจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน นิสิตนักศึกษาประสงค์ ที่จะได้เข้าร่วมฟัง หรือได้รับทราบผลของการประชุมสัมมนา ข้อเสนอแนะ 1. สถาบันอุดมศึกษาที่จะผลิตบัณฑิตออกมารับใช้สังคม ไม่ว่าจะทางสายวิทยาศาสตร์ หรือสายสังคมศาสตร์ ควรให้ทุกคนได้เรียนวิชาพื้นฐานทางวัฒนธรรมพื้นบ้านทุกคณะวิชา 2. ควรจัดรายวิชาเอกวิชาโท ทางวัฒนธรรมพื้นบ้านให้ชัดเจนในสาระ เนื้อหาและปรากฏอยู่ในคณะวิชาที่เหมาะสม 3. ควรจัดรายวิชาวัฒนธรรมพื้นบ้านให้เป็นวิชาเลือกทั่วไปด้วย 4. ควรให้ผู้บริหารในสถาบันสนใจและสนับสนุน การจัดกิจกรรม ตลอดจนงบประมาณและการส่งเสริมให้จัดตั้งชุมนุมหรือชมรม ทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน 5. ควรให้นิสิตนักศึกษาที่เรียนวิชาวัฒนธรรมพื้นบ้านได้มีโอกาสพบกับประสพการณ์ตรงในการออกปฏิบัติการภาคสนามเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล 6. ควรให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนวิชาวัฒนธรรมพื้นบ้านจากอาจารย์ที่จบวิชาด้านนี้โดยตรง 7. ควรส่งเสริม ประสานและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันระหว่างสถาบันและภาคเอกชน 8. ควรส่งเสริมและจัดให้มีหอวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา 9. ควรเปิดโอกาสและสร้างโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้ร่วมกันทำงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ให้เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านตามโอกาสอันควร
Other Abstract: Purpose of the study 1. To survey and examine the colleges' curricula regarding folklore courses. 2. To compare the numbers and credits of folklore courses as basic courses on general education area and major courses. 3. To survey the folklore aetivity operations in the colleges including the college students' opinions toward folklore courses offering and folklore activities provided by the colleges. Procedure For this research, the descriptive research method was implemented. The data were collected from the colleges' curriculum documents and the 3,338 senior students of 1985 from 11 universities. The respondent were asked to answer to the questionnaires which were composed of (1) general information of folklore activity operations in the colleges, (2) the opinions toward the folklore courses offering and the folklore activities provided by the colleges. Research Findings This study found that the Institutions of Higher Education offering courses in Social Sciences and Humanities have more core course relating to Folklore than institutions teaching only in the field of Sciences. Comparatively, the single field program in Science did not offer courses on folklore as major courses, but the single field program in Humanities offered many major courses in folklore. However, the Faculty of Social Science or Humanities of a double field program offered major courses in folklore which consisted of three types of folklore. As for the folklore activity operations, the research found that the single field program in Science provided less folklore activities than the single field program in Humanities. The multicampus Universities up-country operated more folklore activities than the colleges or universities in the metropolis. The respondents of all universities perceived that all folklore activities generated an affection in cultural inheritance; therefore, the folklore activities during the national festivals are very popular among the college students. Nevertheless, the folklore activities need to be improved. Generally, college professors and local mass media support the student activities. But the college administrators revealed the negligence of folklore activities; consequently, the moral support and budget allocation to any college folklore clubs were small. The respondents' opinions toward folklore courses offering and folklore activities are as follows; a. The folklore specialist invitation for lectures or demonstrations in very popular on every campus. b. The college students are interested in teaching aids and audio-visual aids. c. Attending the folklore performance outside the campus are expected by the college students. d. The folklore instructor should earn his degree with major in folklore. e. The college students expect that the college should bring the folklore activities to the community. f. The college students need to get their direct experience in a field study g. More majors and basic requirements in folklore area are needed. h. The college students need attending seminars or studying reports on folklore. Recommendation 1. The folklore subjects should be basic required courses for all students in both Science and Humanities areas. 2. The courses for a major and minor in folklore should be well-organized in a suitable faculty. 3. The folklore courses should be also offered as general electives. 4. The college administrators should pay more attention and money for folklore activities including folklore club establishment. 5. Direct experience and field study should be provided for one who takes folklore courses. 6. A folklore instructor should earn his degree with major in folklore area. 7. The cooperation between the colleges and private sectors for supporting folklore activities should be promoted. 8. The cultural displaying center should be installed in every college and university. 9. Providing an opportunity for the college students to conduct a research or attend a seminar on folklore area is needed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48363
ISBN: 9745674176
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujarit_bo_front.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Sujarit_bo_ch1.pdf881.43 kBAdobe PDFView/Open
Sujarit_bo_ch2.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Sujarit_bo_ch3.pdf974.14 kBAdobe PDFView/Open
Sujarit_bo_ch4.pdf4.7 MBAdobe PDFView/Open
Sujarit_bo_ch5.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Sujarit_bo_back.pdf19.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.