Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48507
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมุรธา วัฒนะชีวะกุล-
dc.contributor.authorวรวิทย์ ฤทธิทิศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-09T07:24:05Z-
dc.date.available2016-06-09T07:24:05Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745698482-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48507-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en_US
dc.description.abstractในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เป็นที่ยอมรับกันว่าประชาชนมีสิทธิขั้นพื้นฐานประการหนึ่งคือสิทธิที่จะรับรู้ รับทราบเรื่องราวต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์ของสาธารณะในส่วนที่เป็นการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยถือเป็นหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องให้ข่าวสารคดีอาญาให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิที่จะรับรู้ข่าวสารของประชาชน ไม่ว่าการให้ข่าวสารคดีอาญานั้น จะเป็นการให้ข่าวโดยตรงแก่ประชาชนหรือโดยผ่านสื่อมวลชน อย่างไรก็ดี การให้ข่าวสารคดีอาญาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ถึงแม้จะเป็นไปเพื่อสนองตอบสิทธิที่จะรับรู้ข่าวสารของประชาชน แต่ขณะเดียวกันก็ได้นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น และอาจส่งผลกระทบต่อการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาของรัฐโดยส่วนรวมได้ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยนี้พบว่า การให้ข่าวหรือเสนอข่าวคดีอาญาทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมและสื่อมวลชนนั้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งได้แก่สิทธิในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้ทรงไว้ซึ่งชื่อเสียง เกียรติคุณ สิทธิซึ่งได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรม นอกจากนี้ ในบางกรณียังได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในชื่อเสียง เกียรติคุณของโจทก์หรือผู้เสียหาย สิทธิหรือประโยชน์ของรัฐในด้านการรักษาความลับอันเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ และยังอาจส่งผลกระทบไปถึงความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรคดีได้ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนี้ ล้วนแต่จะเป็นผลให้ประชาชนขาดความศรัทธา เชื่อมั่นในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาของรัฐ การป้องกัน และแก้ไขปัญหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการให้หรือเสนอข่าวคดีอาญานั้น พบว่าประเทศไทยยังไม่ได้รับการเอาใจใส่หรือแสวงหาแนวทางป้องกันหรือแก้ไขเท่าที่ควร ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ากระทรวงมหาดไทยสมควรจะได้มีการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการให้ข่าวคดีอาญาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นที่ชัดเจน และสื่อมวลชนก็ควรที่จะได้ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติในการเสนอ เผยแพร่ข่าวสารคดีอาญาเป็นการเฉพาะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบของข่าวสารคดีอาญาที่จะมีต่อสิทธิของผู้เกี่ยวข้องในคดีอาญา และการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาของรัฐ และถือเป็นแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeIt is widely accepted that in democratic countries, the right of the general public know must be supported and be well protected. This is particularly. The case when the public interest is involved and when it concerns the practice of government officers in criminal justice. There is thus a duty of the state to serve the public by ensuring the right to be informed of the news. [Although] the state’s duty to inform serves the public’s right to know, state services can lead to serious problem when they affect the right of others and when they have on the administration of justice. This research show that in many reported criminal cases, the same of government officers in criminal justice, has impact on the accused’s right: such as the right to respect and dignity. The right to be presumed innocent till prove guilty and the fair trial. Reporting can also affect another person’s right to reputation and honour, the state’s right to keep secrets which are vital to National Security, and also the independence of judges in cutting fairly and impartially. To prevent and solve the problems that may arise from reports concerning criminal cases released by government officers or by the mass media, one showed recognize that many problems are still overlooked and [there] is no serious remedy in the form of a court action to respond to the victim’s grievous. Thus the writer of this thesis thinks that it is very important to establish principles or regulations concerning the reporting of criminal cases by both government officers and the mass media. These principles or regulations have both preventive and remedial roles.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเสนอข่าวคดีอาญาen_US
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมทางอาญาen_US
dc.titleผลกระทบทางกฏหมายจากการเสนอข่าวคดีอาญา ต่อการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาen_US
dc.title.alternativeLegal impact of crime news on the administration of justiceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawit_ri_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_ri_ch1.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_ri_ch2.pdf7.49 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_ri_ch3.pdf11.65 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_ri_ch4.pdf8.11 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_ri_ch5.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_ri_back.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.