Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48554
Title: การสกัดอะซาดิแรคตินจากเมล็ดสะเดา Azadirachta indica ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์
Other Titles: Azadira chtin extraction from neem seed, Azadirachta indica with carbon dioxide
Authors: สุวรรณดี ตั้งนิธิบุญ
Advisors: เพียรพรรค ทัศคร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: pienpak.T@chula.ac.th
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทดลองสกัดอะซาดิแรคตินจากเนื้อในเมล็ดสะเดา Azadirachta indica var. siamensisValeton ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ในการทดลองได้ศึกษวิธีสกัดอะซาดิแรคตินโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพของไหลเหนือจุดวิกฤต ตัวแปรที่ศึกษาคือความดันและอุณหภูมิ และการสกัดโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผสมกับตำทำละลายร่วม ในกรณีนี้ตัวแปรที่ศึกษาเพิ่มคือ ชนิดของตัวทำละลายร่วมและอัตราส่วนของตัวทำละลายร่วม การสกัดอะซาดิแรคตินโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่ความดัน 340 บาร์ อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการสกัดทั้งหมด 7 ชั่วโมง สามารถสกัดอะซาดิแรคตินได้ร้อยละ 17 ของปริมาณที่สกัดได้แบบซอกส์เล็ตซึ่งสกัดได้ร้อยละ 0.1 ของเนื้อในเมล็ดสะเดา สำหรับการสกัดโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผสมกับตัวทำละลายร่วมนั้น การผสมกับเมทานอลจะให้ปริมาณอะซาดิแรคตินมากที่สุด เมื่อใช้อัตราส่วนเนื้อในเมล็ดสะเดาต่อเมทานอลต่อคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ต่อ 4 ต่อ 11 โดยน้ำหนักในถังกวน ความดัน 80 บาร์ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ทำการสกัด 2 ชั่วโมงได้อะซาดิแรคตินร้อยละ 83 ของปริมาณที่สกัดได้แบบซอกส์เล็ต สรุปได้ว่าการสกัดอะซาดิแรคตินออกจากเนื้อในเมล็ดสะเดาโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผสมกับเมทานอล เป็นวิธีการสกัดที่ให้ปริมาณอะซาดิแรคตินสูงกว่าการสกัดโดยใช้ตัวทำละลายชนิดเดียว อะซาดิแรคตินที่สกัดได้อยู่ในรูปสารละลายเมทานอลและดูดซับไว้ในถ่านกัมมันต์ จากนั้นจึงศึกษาการชะละลายอะซาดิแรคตินออกจากถ่านกัมมันต์ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพของไหลเหนือจุดวิกฤต ที่ความดัน 340 บาร์ อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เวลาในการชะละลาย 7 ชั่วโมง ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด 79 กิโลกรัม ชะละลายอะซาดิแรคตินออกจากถ่านกัมมันต์ 1 กิโลกรัม บรรจุในคอลัมน์ด้วยความเร็วปริภูมิ 3.0 ต่อชั่วโมง สามารถชะละลายอะซาดิแรคตินที่ดูดซับไว้ออกมาได้ร้อยละ 51 ความสัมพันธ์เบื้องต้นของปริมาณอะซาดิแรคตินที่ชะละลายออกจากถ่านกัมมันต์แสดงได้ดังนี้ In S-S0 = 0.1exp(-t/2T) โดยที่ S คือ ปริมาณอะซาดิแรคตินที่เวลาใดๆ (ไมโครกรัม) S0 คือ ปริมาณอะซาดิแรคตินเริ่มต้น (ไมโครกรัม) t คือ เวลาในการชะละลาย (ชั่วโมง) T คือ อุณหภูมิ (องศาเคลวิน)
Other Abstract: In this study, azadirachtin was extracted from neem seed kernel Azadirachta indica var. siamensisValeton with carbon dioxide. In the experiment, azadirachtin was extracted by supercritical carbon dioxide. The variables investigated were pressure and temperature, and extraction using carbon dioxide with co-solvent. In the latter case, the additional variables were types of the co-solvent and ratio used. Azadirachtin extracted with carbon dioxide at pressure 340 bar, temperature 35 degree Celcius for 7 hours, yields 17 % of the total content determined by Soxhlet method, which was 0.1 % of neem seed kernel. For extraction with co-solvent, a mixture with methanol gave the highest quantity of azadirachtin extracted. When using neem seed kernel : methanol : carbon dioxide at 1: 4: 11 by weight, extraction in an agitated vessel at pressure 80 bar, temperature 30 degree Celcius for 2 hours, azadirachtin extracted was 83 % of the content determined by Soxhlet method. It can be concluded that extraction using carbon dioxide with methanol yield higher azadirachtin than extraction with single solvent. Azadirachtin extracted was kept in methanol solution and later adsorbed on activated carbon. Leaching of the adsorbed azadirachtin from the activated carbon by supercritical carbon dioxide was subsequently investigated. Operating at pressure 340 bar, temperature 35 degree Celcius, 79 kilogram of carbon dioxide was used to leach out azadirachtin from 1 kilogram of activated carbon in a packed bed for 7 hours with a space velocity of 3.0 per hour, adsorbed azadirachtin recovered was 51 %. The empirical correlation for the quantity of azadirachtin leached can be represented by In S-S0 = 0.1exp(-t/2T) where S is the quantity of azadirachtin in activated carbon (microgram) S0 is the intital quantity of azadirachtin in activated carbon (microgram) t is the time for desorption (hour) T is the degree Kelvin
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48554
ISBN: 9746336282
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawandee_ta_front.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Sawandee_ta_ch1.pdf332.54 kBAdobe PDFView/Open
Sawandee_ta_ch2.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Sawandee_ta_ch3.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Sawandee_ta_ch4.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Sawandee_ta_ch5.pdf496.39 kBAdobe PDFView/Open
Sawandee_ta_back.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.