Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48635
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิวา ศุภจรรยา-
dc.contributor.authorรัชวดี สังขดุลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T02:16:20Z-
dc.date.available2016-06-10T02:16:20Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745637327-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48635-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาแนวทางเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างซึ่งประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และพิษณุโลก เหตุผลที่เลือกพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ตัวอย่างเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชาติมาตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศักราชที่ 17 เรื่องราวต่างๆ ของเมืองโบราณในพื้นที่ส่วนนี้ จะปรากฏอยู่ในเอกสารหรือพงศาวดาร หรือแม้กระทั่งในนิทานพื้นบ้าน ตามประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยในฐานะที่เป็นอาณาจักรแรกของไทยมีอารยธรรมเป็นของตัวเอง อาทิ ศิลปกรรม เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการค้า และเป็นศูนย์กลางของการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลงเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังมีการพัฒนาอย่างรีบด่วน การขยายตัวของชุมชน การใช้ที่ดินการก่อสร้างแลสาธารณูปโภค ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี และจากการศึกษาสภาพปัญหาในเขตพื้นที่ศีกษา พบว่า มีโบราณสถานหลายแห่งอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมไปทั่วเนื่องจากสภาพธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์ ความสำคัญของแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีในพื้นที่บริเวณนี้ จึงมีคุณค่ามากพอที่จะได้รับอนุรักษ์ไว้อย่างรีบด่วน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการทำลายโบราณสถาน ก่อนที่ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจจะรุกล้ำเข้าไปในส่วนที่เป็นโบราณสถานเพิ่มขึ้น ผลจากการศึกษาสภาพปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางเพื่อการอนุรักษ์แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีในบริเวณพื้นที่ที่ทำการศึกษา ซึ่งจะเป็นหลักการเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์ สำหรับใช้ในการวางแผนงานและโครงการเพื่ออนุรักษ์โบราณสถาน ในบริเวณอื่นๆ ของประเทศต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis study represents an approach to the conservation of ancient monuments in the lower part of northern Thailand, covers 4 administrative provinces, namely, Kamphaeng Pheth, Sukhothai, Phichit and Phitsanulok. This geographic area has been chosen because it played, an important role in the history of Thailand as early as 17th B.E. This fact is of cause, attested to not only by historical writings and archaeological sites but also by the folk tales of the local people. Historically Sukhothai has been known not only as the site of the first real Thai kingdom in this area but also for its civilization in terms of art, technology, industry and long distance commerce. Today this area is developing very rapidly which has resulted in community expansion, land use changes, industrial development and public utility construction. These activities have caused both direct and indirect damage to archaeological and historical sites. The study of this problem has shown that many ancient monuments are decaying due to both natural conditions and human activities. The importance of these areas as a source of historical and archaeological values necessitates conservation in order to prevent their continue destruction by economic developments. The approach to the conservation of archaeological and historical sites contained in this study has been systematically formulated to be a useful preliminary guide in preparing work plans and projects for the conservation of ancient monuments in other areas of the country.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษาen_US
dc.subjectไทย (ภาคเหนือ) -- โบราณสถานen_US
dc.subjectพิจิตร -- โบราณสถานen_US
dc.subjectพิษณุโลก -- โบราณสถานen_US
dc.subjectกำแพงเพชร โบราณสถานen_US
dc.titleแนวทางเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และพิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeAn approach to the conservation of ancient monuments in the lower part of Northern Thailand : Kamphaeng Pheth, Sukhothai, Phichit and Phitsanuloken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rachavadee_sa_front.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Rachavadee_sa_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Rachavadee_sa_ch2.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Rachavadee_sa_ch3.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open
Rachavadee_sa_ch4.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open
Rachavadee_sa_ch5.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Rachavadee_sa_ch6.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Rachavadee_sa_ch7.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Rachavadee_sa_back.pdf12.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.