Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48734
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ จันทรวงศ์-
dc.contributor.advisorชัยอนันต์ สมุทวณิช-
dc.contributor.authorสนธิ เตชานันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T07:01:28Z-
dc.date.available2016-06-10T07:01:28Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745639567-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48734-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractการศึกษาถึงแนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ผ่านมา มีข้อสรุปที่อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ทางด้วยกันคือ ฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าพระองค์ทรงมีพระราชดำริทางการเมืองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเห็นว่าทรงมีพระราชดำริทางการเมืองประชาธิปไตย ความเห็นของแต่ละฝ่ายแม้จะกอรปไปด้วยเหตุผล แต่ก็มีข้อบกพร่องบางประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่ยังไม่สามารถอธิบายพระราชกรณียกิจในหลาย ๆ ประการได้อย่างสมเหตุผล กล่าวคือฝ่ายที่เห็นว่าทรงมีพระราชดำริทางการเมืองประชาธิปไตยก็ไม่สามารถหาหลักฐานมาสนับสนุนความเห็นของตนได้อย่างชัดเจน สำหรับฝ่ายที่เห็นว่าทรงมีพระราชดำริทางการเมืองสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นก็ไม่สามารถที่จะอธิบายพระราชกรณียกิจหลาย ๆ ประการได้อย่างสมเหตุผล เป็นต้นว่าในเรื่องของเสรีภาพหนังสือพิมพ์ และพระราชดำริการปกครองท้องถิ่น ถ้าเราพิจารณาให้ดีแล้วก็จะเห็นว่าปัญหาหรือข้อบกพร่องดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ศึกษาได้สรุปหรือยืนยันว่าทรงมีพระราชดำริทางการเมืองไปในทางใดทางหนึ่งแต่ทางเดียวนั่นเอง ซึ่งอันที่จริงเป็นเรื่องยากที่จะสรุปได้เช่นนั้น โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีความคิดที่สลับซับซ้อน เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ก็คือศึกษาถึงพระราชดำริการาปกครองท้องถิ่นอันเป็นพระราชดำริทางการเมืองที่สำคัญประการหนึ่งในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ยังไม่รบการศึกษาให้พอเพียงกับความสำคัญของเรื่อง การศึกษาในเรื่องนี้นอกจากจะช่วยให้ได้ทราบถึงพระราชดำริทางการเมืองของพระองค์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้เราสามารถอธิบายพระบรมราโชบายทางการเมืองของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ได้กว้างขวางมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าพระราชดำริการปกครองท้องถิ่นนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่าความนิยมของมหาชนของโลกในขณะนั้นกำลังเดินไปในทางประชาธิปไตย ซึ่งก็ทรงเห็นว่าประเทศไทยก็คงจะต้องเป็นเช่นนั้นในอนาคต แต่การที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยทันทีเป็นเรื่องที่ไม่อาจทำได้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม พระองค์จึงได้มีพระราชดำริจะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้กระบวนการปกครองท้องถิ่น ได้ทรงเตรียมการในด้านต่าง ๆ เพื่อการนี้เป็นเวลาหลายปี ที่สำคัญมีการพัฒนาการศึกษาโดยการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาอันเป็นการศึกษาภาคบังคับและการที่โปรดฯ ให้จัดตั้งเมืองจำลองเพื่อทดลองการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น หลักฐานเอกสารที่สำคัญที่สุดที่แสดงให้เห็นว่าทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาเมือง โดยกระบวนการปกครองท้องถิ่นก็คือบันทึกความเห็นเรื่องการจัดมิวนิซิแปลิดี ของกระทรวงนครบาลซึ่งทรงโปรดฯ ให้กระทรวงนครบาลร่างขึ้น และพระราชบันทึกความเห็นประกอบความเห็นของเจ้าพระยายมราชเรื่องจัดตั้งมิวนิซีแปลิดี อย่างไรก็ตามพระราชดำริดังกล่าวก็มิได้บันลุผลสมดังพระราชปณิธาน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคหลายประการที่สำคัญมี ปัญหาความสามารถของประชาชนที่จะเสียภาษีให้กับท้องถิ่น ปัญหาชาวจีน พระราชอัธยาศัยในการบริหารราชการแผ่นดิน และปัญหาอันเกิดจากระบบราชการ ถึงแม้พระราชดำริที่จะพัฒนาการเมืองโดยกระบวนการปกครองท้องถิ่นจะไม่บันลุผล แต่การเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการนี้โดยเฉพาะการแพร่ไพศาลของการศึกษาชั้นประถมศึกษาก็นับได้ว่าเป็นการสร้างพื้นฐานอันจำเป็นของการพัฒนาในเวลาต่อมา ที่สำคัญที่สุดก็คือพระราชดำริการปกครองท้องถิ่นเป็นเครื่องยืนยันให้เห็นว่าพระองค์มิได้ทรงมีพระบรมราโชบายมุ่งที่จะรักษาพระราชอำนาจตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้คงอยู่ชั่วกาลนานแต่อย่างใดen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468en_US
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- ไทยen_US
dc.subjectpoliticsen_US
dc.subjectroyal familyen_US
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2423-2468en_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.titleแนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : ศึกษาเฉพาะกรณีการพัฒนาการเมืองโดยกระบวนการปกครองท้องถิ่น (พ.ศ.2453-2468)en_US
dc.title.alternativeThe political thought of King Rama VI : a study of political devleopment through local government t(1910-1925)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineรัฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sondhi Te_front.pdf782.38 kBAdobe PDFView/Open
Sondhi Te_ch1.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Sondhi Te_ch2.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Sondhi Te_ch3.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Sondhi Te_ch4.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open
Sondhi Te_ch5.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
Sondhi Te_ch6.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Sondhi Te_back.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.