Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49106
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิตยานนท์-
dc.contributor.authorสุภา นวกรรมิก-
dc.contributor.authorสวนา พรพัฒน์กุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-12T14:47:03Z-
dc.date.available2016-06-12T14:47:03Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745662283-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49106-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อสำรวจเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่พระสงฆ์กระทำอยู่ในด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ซึ่งมีภูมิหลังต่างกันที่มีต่องานการศึกษานอกระบบโรงเรียน 4. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างขนาด ประเภท รายได้ และที่ตั้งของวัดกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นวัดที่อยู่ในภาคคณะสงฆ์ 2 จำนวน 328 วัด ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 5 ตอน คือ 1) ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปของวัดและข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางการศึกษา 2) การมีส่วนร่วมของพระภิกษุในกิจกรรมทางการศึกษาที่ทางวัดจัดขึ้น 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนตัวของพระภิกษุและลักษณะทั่วไปของวัดกับการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน 5) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระภิกษุในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบไคสแคว์ การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนสองทาง และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่โดยใช้วีของเชฟเฟ่ สรุปผลการวิจัย 1. กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ทางวัดมีการจัดมากที่สุด เรียงลำดับได้ดังนี้คือ การจัดให้มีการบรรยายธรรม ร้อยละ 84.5 เปิดสอนปริยัติธรรมแผนกธรรม ร้อยละ 73.8 กรจัดปาฐกถาธรรม ร้อยละ 62.8 จัดอบรมประชาชนประจำตำบล ร้อยละ 57.9 ช่วยสอนศีลธรรมในโรงเรียน ร้อยละ 54.9 และจัดอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ร้อยละ 45.1 ส่วนกิจกรรมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ทางวัดจัดน้อยที่สุด คือ การเปิดโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่สายสามัญมีเพียงร้อยละ 1.5 2. การมีส่วนร่วมของพระภิกษุในกิจกรรมทางการศึกษาที่ทางวัดจัดขึ้น ส่วนใหญ่พระภิกษุทำหน้าที่เป็นผู้บรรยาย หรือเป็นผู้ให้ความรู้ การมีส่วนร่วมอันดับรองลงมาคือ เป็นผู้ประสานงานระหว่างวัดกับหน่วยงานต่างๆ 3. พระภิกษุผู้มีความแตกต่างกันด้านระยะเวลาการอุปสมบทและระดับการศึกษาส่วนมากมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กิจกรรมที่พระภิกษุทุกกลุ่มมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกันคือ 1) การอบรมวิชาชีพ 2) การมีส่วนร่วมในโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่สายสามัญ 4. วัดที่มีความแตกต่างกันด้านขนาด ประเภท รายได้ ที่ตั้ง และการได้รับเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างจากกรมการศาสนานั้น ส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และกิจกรรมซึ่งทางวัดได้จัดขึ้นโดยไม่แตกต่างกัน คือ 1) การเปิดสอนโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ 2) การเปิดโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่สายสามัญ 3) การสอนพระอภิธรรม 4) การอบรมศีลธรรมให้นักโทษ 5) การสอนธรรมศึกษาให้นักโทษ 5. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ผลการวิจัยปรากฏว่าปัญหาที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขาดทุนทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการจัดการศึกษาขาดบุคลากรเข้ามาช่วยทำงานและขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน 6. ความคิดเห็นเกี่ยวกับงานการศึกษานอกระบบโรงเรียน ผลการวิจัยปรากฏว่าพระสงฆ์มีความเห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องครูผู้สอนในสถานศึกษาควรมีความรู้พิเศษ เช่น สามารถแนะแนวการเรียนต่อให้กับผู้เรียนได้จะเป็นส่วนดึงดูดให้ผู้เรียนกระตือรือร้นมากขึ้น นอกจากนั้นเกือบทั้งหมดมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วย 7. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของพระภิกษุผู้มีความแตกต่างกันด้านระยะเวลาการอุปสมบทและระดับการศึกษาทั้งสายสามัญลายปริยัติธรรม ปรากฏว่า 7.1 พระภิกษุกลุ่มที่มีอายุพรรษามากมีความคิดเห็นในเรื่อง 1) การขาดทุนทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการจัดการศึกษา 2) ขาดบุคลากรเข้ามาช่วยทำงาน 3) ขาดอุปกรณ์การเรียน การสอน ว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนพระภิกษุกลุ่มที่มีอายุพรรษาน้อย มีความเห็นว่า เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาในระดับน้อย 7.2 พระภิกษุผู้มีระดับการศึกษาสายสามัญต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เรื่อง ขาดบุคลากรเข้ามาช่วยทำงาน 7.3 พระภิกษุกลุ่มที่มีการศึกษาสายปริยัติธรรมในระดับสูง มีความคิดเห็นเรื่อง 1) พระผู้ใหญ่ไม่ให้ความร่วมมือสนับสนุนเท่าที่ควร 2) ชาวบ้านไม่ค่อยให้ความสนใจ 3) สถานที่ไม่เหมาะสมต่อการจัดการศึกษา 4) ผู้เรียนมีพื้นฐานการศึกษาต่างกันว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนพระภิกษุกลุ่มที่ศึกษาพระปริยัติธรรมระดับต้นนั้นเห็นว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาในระดับน้อย 8. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับงานการศึกษานอกระบบโรงเรียนของพระภิกษุผู้มีความแตกต่างกันด้านระยะเวลาการอุปสมบท และระดับการศึกษาทั้งสายสามัญลายพระปริยัติธรรม ปรากฏว่า 8.1 พระภิกษุผู้มีอายุพรรษามากจะมีความเป็นด้วยเกี่ยวกับงานการศึกษาเกือบทุกเรื่องอยู่ในระดับมาก ส่วนพระภิกษุผู้มีอายุพรรษาน้อย มีความเห็นด้วยในระดับที่น้อย 8.2 พระภิกษุกลุ่มที่มีการศึกษาสายสามัญระดับมัธยมศึกษา มีความเห็นด้วยในเรื่องควรมีการอบรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานการศึกษานอกโรงเรียนให้แก่พระสงฆ์ สูงกว่าพระภิกษุกลุ่มที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา 8.3 พระภิกษุกลุ่มที่มีการศึกษาสายพระปริยัติธรรมในระดับสูงมีความเห็นด้วยในระดับสูงเรื่อง 1) วัดทั้งอยู่ในเมืองมีโอกาสที่จะพัฒนาทางด้านการศึกษาได้มากกว่าวัดในเขตชนบท 2) การศึกษานอกระบบโรงเรียนจำเป็นต้องทำควบคู่กันไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียน 3) หน่วยงานของรัฐควรเปิดโอกาสให้พระสงฆ์เข้าไปมีส่วนช่วยเหลือในงาน การศึกษานอกระบบโรงเรียนด้วย 4) การจัดการศึกษาในวัดเป็นผลมาจากความคิดริเริ่มของพระสงฆ์ที่มีการศึกษาระดับสูง ส่วนพระภิกษุกลุ่มที่ศึกษาพระปริยัติธรรมระดับต้นนั้นเห็นด้วยในระดับน้อยen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were, first, to survey monks' non-formal educational activities, second, to study and compare problems and obstacles in non-formal education operation, third, to study and compare opinions toward non-formal education of the monks with different backgrounds and fourth, to compare differences among temples sizes, types, incomes and location with non-formal education operation. The research samples, selected by stratified random sampling included 328 Wats in the Ecclesiastical Region 2. Research instruments were questionnaires developed by the researcher devided into 5 parts consisted of 1) samples' personal information, temples' general information and information about educational activities 2) monks' participation in educational activities operated by the temples 3) relation study between monks' personal information as well as temples' general information with non-formal educational activity operation 4) the study of problems and obstacles in non-formal education operation and the study of opinions about non-formal education task 5) the comparative study of monks' opinions in non-formal education operation. Data were analyzed by the Statistical Packages for the Social Sciences through the use of percentages, means standard deviation, chi-square, two – way analysis of variance. Differences between the pairs of groups were tested by the Scheffe's – Method. Findings : 1. The activities in non-formal education which the most temples had held were orderly Dhamma sermon on Wan Phra Days 84.5% ecclesiastical Dhamma study 73.8% special sermon on The Buddha's teaching 62.8%, community Dhamma training 57.9%, teaching morality in local schools 54.9%, insight meditation training 45.1% and the least, elementary and secondary education for adult 1.5% 2. Due to the monks' participation in educational activities, the most monks were instructors and the others were the coordinators between temples and organizations. 3. Significant differences at .05 were found in comparison among different education activities of monks who had different ordination period and education level except the activities of vocational training and about education. 4. Significant differences at .05 were found in comparison among non-formal educational activities of temples which were different in size, type, income, location and being selected as the models of developed temples except the activities of 1) the ecclesiastical secondary schools 2) the adult education 3) Abhidhamma teaching 4) morality teaching for prisoners and 5) Dhamma teaching for prisoners. 5. Problems and obstacles in non-formal education operation which were at high levl were lacking of money for education operation lacking of man power and lacking of educational accessories. 6. Opinions about non-formal education operation were in highest agreement regarding that school teachers should have special knowledge such as ability in counseling and quidance in order to encourage students in studying. Almost all of the other opinions were at agreement level. 7. In comparison of opinions about problems and obstacles in non-formal education operation of monks who were different in ordination period and education level both in formal and in ecclesiastical Dhamma study, the results were 7.1 The monks who had long period of ordination thought that there were problems and obstacles in education operation at the high level in 1) lacking of money for education operation 2) lacking of man power 3) lacking of educational accessories but the monks with short ordination period regarded these problems and obstacles at the law level. 7.2 Significant differences at .05 were found in comparison among opinions of the monks with different education levels on lacking of man power in non-formal education operation 7.3 The monks who had high ecclesiastical Dhamma study though that then were problems and obstacles in education operation at the high level in 1) senior monks' little cooperation and support 2) local people's little interest 3) unappropriate places for education and 4) student's different educational basic but the monks with the primary ecclesiastical Dhamma study regarded these problems and obstacles at the low level. 8. In comparison of opinions about non-formal education activities of monks who were different in ordination period and education level both in formal and in ecclesiastical Dhamma study, the results were 8.1 The monks with long period of ordination had high agreement regarding almost all educational activities but those with short period had the low agreement 8.2 The monks with secondary education had higher agreement in distributing knowledge of non formal educational activities to monks than those with the elementary education 8.3 The monks with high ecclesiastical Dhamma study agreed at the high level in the opinions that 1) in-town temples had more chances in developing educational activities than rural temples 2) non-formal and formal education had to be run in parallel. 3) governmental organization should allow monks to help in non-formal education operation. 4) education operation in temples had come from creative ideas the monks who had high education while those with primary ecclesiastical Dhamma study had only little agreement in it.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสงฆ์ -- ไทยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.subjectวัดกับการศึกษาen_US
dc.subjecteducational systemsen_US
dc.subjectreligionen_US
dc.titleการสำรวจกิจกรรมของพระสงฆ์ในภาคคณะสงฆ์ 2 เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.title.alternativeA survey of the Buddhist monks activities in ecclesiastical region 2 concerning the non-formal educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supha_wa_front.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Supha_wa_ch1.pdf847.6 kBAdobe PDFView/Open
Supha_wa_ch2.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Supha_wa_ch3.pdf775.73 kBAdobe PDFView/Open
Supha_wa_ch4.pdf14 MBAdobe PDFView/Open
Supha_wa_ch5.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Supha_wa_back.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.