Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49136
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ พ่วงพิศ-
dc.contributor.advisorธิดา สาระยา-
dc.contributor.authorสันติ บัณฑิตพรหมชาติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-13T00:03:17Z-
dc.date.available2016-06-13T00:03:17Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745643734-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49136-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันสงฆ์ต่างกันก็มีความสัมพันธ์ระหว่างกันมาตลอดเวลาในสังคมไทย เพื่อสร้างความยอมรับในสถานภาพของแต่ละฝ่ายจากกลุ่มชนต่าง ๆ ในสังคมด้วยวิธีการต่าง ๆ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ยังดำเนินอยู่ แต่พระองค์ทรงมีวิธีในการสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันสงฆ์ให้มีลักษณะเฉพาะบางประการที่แต่งต่างจากพระมหากษัตริย์องค์อื่น ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระองค์ทรงมีพื้นฐานความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย ที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นระหว่างทรงผนวชอยู่นานถึง ๒๗ พรรษา ดังนั้น เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงทรงต้องใช้พระราชกุศโลบายในการสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันสงฆ์ที่มีอยู่หลายนิกายนี้ โดยไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างธรรมยุตินิกาย และมหานิกายจนเกิดผลกระทบต่อสถานภาพของพระองค์เอง พระราชกุศโลบายที่มีลักษณะเฉพาะในการสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันสงฆ์ของพระองค์นี้ ที่สำคัญ ๆ มี ๓ ประการคือ ประการแรกทรงให้ความสำคัญและทำการสนับสนุนธรรมยุตินิกายจนมีบทบาทเพิ่มขึ้นในสังคมตามลำดับ และสามารถสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันพระสงฆ์ได้เป็นอย่างดี โดยผ่านธรรมยุตินิกาย ประการที่สองทรงทำการอุปถัมภ์และสนับสนุนคณะสงฆ์มหานิกาย เพราะคณะสงฆ์มหานิกายเป็นคณะสงฆ์มหานิกายเป็นคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางและมีจำนวนทั้งวัดและภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมาก คณะสงฆ์มหานิกายจึงมีอิทธิพลอย่างสูงในสังคมไทยจนทำให้พระองค์ทรงไม่อาจจะละเลยในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคณะสงฆ์มหานิกาย ประการที่สามทรงพยายามแสดงบทบาทในฐานะผู้นำทางศาสนาที่เหนือทั้งฝ่ายธรรมยุตินิกายและมหานิกาย เพื่อสร้างความยอมรับในพระองค์ให้เกิดขึ้นในคณะสงฆ์ และทำการควบคุมคณะสงฆ์ให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติ พระราชกุศโลบายทั้ง ๓ ประการดังกล่าวได้เป็นปัจจัย ที่ช่วยให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยของพระองค์และรัชสมัยต่อมามีเสถียรภาพที่มั่นคง และยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสถาบันสงฆ์อีกหลายประการในช่วงเวลาต่อมา โดยเฉพาะบทบาทของธรรมยุตินิกายในสถาบันสงฆ์และการมีส่วนร่วมในกิจการบ้านเมืองต่าง ๆen_US
dc.description.abstractalternativeKingship and sangha Institutions have maintained a continued good mutual relationship in Thai society in order to foster the acceptance in their status by various social groups in several different ways. By the reign of king Mongkut such a relationship still existed, but heeatablished his relationship with Sangha Instutions in a way characteristically different from previous kings in certain respects. This was because he had a fundamental relationship with the Dhammayutika which he had previously established during the period he had been staying in monkhood for 27 years. Therefore, when he acceded to the throne, he had to adopt certain strategies in building favourable relations with the various sects of Sangha Institutions so as not to cause any rift between the Dhammayukita and the Mahanikaya to the extent that would affect his status. His strategies which were of a special nature in building working relationship with Sangha Institutions contained three important points. First, he gave importance and provided support to the Dhammayutika so much that the Sect gradually increased its roles in the society ; and he could maintain favourable relation with Sangha Institutions through the Dhammayutika. Second, he continued to give full support and patronage to the Mahanikaya because it was a large, well-known and widely respected Sect and had a large number of Wats (temples), Monks and Novices. The Mahanikaya had so much influence over the Thai society that he could not fail to establish a good relationship role in the sect. Third, he tried to play a leading role in the religion that was above both the Dhammayutika and the Mahanikaya in order to foster acceptance of his role from both Sects and to facilitate their normal co-existence. These three strategies were instrumental in helping the Kingship during his reign as well as later reigns to maintain firm stability and to bring about many changes in Sangha Institutions subsequently, especially the role of the Dhammayukita in Sangha Institutions and its participation in the affairs of the country.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411en_US
dc.subjectreligionen_US
dc.subjectroyal familyen_US
dc.subjectสงฆ์en_US
dc.subjectธรรมยุติกนิกายen_US
dc.subjectไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 4en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันสงฆ์ : ศึกษากรณีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวen_US
dc.title.alternativeInter-relations between Kingship and Sangha : the case of Kingmongkuten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santi_ba_front.pdf15.72 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ba_ch1.pdf7.22 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ba_ch2.pdf8.58 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ba_ch3.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ba_ch4.pdf8.92 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ba_ch5.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ba_back.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.