Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49804
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณศิลป์ พีรพันธุ์en_US
dc.contributor.advisorเวชพงศ์ ชุติชูเดชen_US
dc.contributor.authorศศิธร ศรีเฟื่องฟุ้งen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:37:02Z-
dc.date.available2016-11-30T05:37:02Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49804-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้ต้องการค้นหาความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะเชิงสัณฐานของเมืองต่อการระบายอากาศระดับตัวบุคคล (pedestrian level) ในพื้นที่พัฒนาหนาแน่นของกรุงเทพมหานครชั้นใน แม้ว่าจะมีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องสัณฐานเมืองส่งผลต่อการระบายอากาศเมืองมา ช้านานแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถระบุชัดเจนและประเมินเป็นค่าได้ว่าปัจจัยใดส่งเสริมให้มีการระบายอากาศเมืองสูงสุดได้โดยเฉพาะการศึกษาในพื้นที่ขนาดใหญ่ ระดับเขต (District scale) จากข้อจำกัดของเครื่องมือในการศึกษาและข้อจำกัดที่ไม่สามารถควบคุมตัวแปรใน สถานที่จริง จึงต้องใช้แบบจำลองในการศึกษา วิทยานิพนธ์นี้มีสมมุติฐานว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบายอากาศเมือง มี 3 ประการ คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขนาดอณูเมือง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทิศทางการวางตัวของอาคาร พื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่พัฒนาหนาแน่นที่มีกลุ่มอาคารที่มีความสูงมากเป็นพิเศษ คือเขตบางรัก ประกอบด้วยพื้นที่ที่มีลักษณะเชิงสัณฐานเมืองเด่นชัด 2 แห่ง ได้แก่ ย่านศูนย์กลางธุรกิจใหม่ ที่มีลักษณะ "สูงแน่น" เช่น ถนนสีลม สาทร และย่านศูนย์กลางธุรกิจเก่า ที่มีลักษณะ "เตี้ยแน่น" เช่น ถนนสี่พระยา ถนนสุรวงศ์ หน่วยวิเคราะห์ในการศึกษาคือ บล็อกของเมือง (Urban block) จำนวน 98 พื้นที่ จำลองการไหลของอากาศโดยวิธีพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (Computational Fluid Dynamics) ลงบนแผนที่ฐาน (Digital Base Map) จริงของพื้นที่ศึกษา ใช้หลักพื้นฐานกลศาสตร์การไหลของของไหล (Fundamental fluid Dynamics) นำผลค่าการระบายอากาศเมืองที่ได้จากการจำลองการไหลนำไปหาค่านัยยะสำคัญด้วย ระเบียบวิธีทางสถิติระบุค่าปัจจัยลักษณะเชิงสัณฐานเมืองที่ส่งผลต่อการระบายอากาศเมืองสูงที่สุด ส่วนของการศึกษานี้ใช้การเปรียบเทียบผลการวัดค่าความเร็วลมจากสนามจริงและ ค่าที่วัดความเร็วลมเฉลี่ยพื้นที่ทุก 1 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (คณะผศ.ดร. เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์, 2553)en_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims at exploring the relationships between city morphology and air ventilation at pedestrian level occurring in a high density of downtown Bangkok. Despite the current state of scholarships which generally argue that the city morphology has an impact upon city air ventilation, attempts in identifying the factors of the air ventilation enhancement—to a maximum level, particularly for ones that conducted on a vast area such as a city district scale—are still marginal. Due to a limitation in study tools (apparatus) as well as a limitation in the uncontrollable variables on the studied site, this research employed a (mocked-up) model methodology. This dissertation adopted a hypothesis that there were 3 factors that caused city ventilation: (1) height, (2) urban grain, (3) orientation. This research investigated high rise dense area at “Bang Rak” Bangkok CBD. The Bang Rak morphology has 2 specific characters (1) the new CBD of “tall and dense,” e.g. Silom and Sathorn and (2) the old CBD of “low and dense,” e.g. Siphraya and Surawaong. The research methodology is dividing Bang Rak area into 98 city blocks, as study units, using air flow modeling which was carried on through a method of computational fluid dynamics on a digital base map and using statistic method to make an urban ventilation equation as a thesis finding. This research compared the results of wind velocity measurements taken from the real site and/against the average wind velocity measurements of every 1 sq.km. within the studied area (Joint Graduate School of Energy and Environment (JGSEE) University of Technology Thonburi) ( Asst. Dr. Kasemsan Manomaiphiboon, 2553)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเชิงสัณฐานและการระบายอากาศเมืองในพื้นที่พัฒนาหนาแน่นของกรุงเทพมหานครชั้นในen_US
dc.title.alternativeRELATIONSHIP BETWEEN URBAN MORPHOLOGICAL PROPERTIES AND VENTILATION IN THE INTENSELY DEVELOPED AREAS OF INNER BANGKOKen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWannasilpa.P@Chula.ac.th,ajbank@gmail.comen_US
dc.email.advisorfengvej@ku.ac.then_US
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5274404725.pdf26.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.