Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49925
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ คีลาวัฒน์en_US
dc.contributor.advisorนครินทร์ กิตกำธรen_US
dc.contributor.authorสายชนม์ จาตุรันตบุตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:39:29Z-
dc.date.available2016-11-30T05:39:29Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49925-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractบทคัดย่อ ความเป็นมา โรคโพรงจมูกอักเสบจากเชื้อราชนิดลุกลามเป็นโรคที่มีความรุนแรงโดยพบอัตราการพิการและการตายที่สูง หากไม่ได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วหรือต้องคอยผลการยืนยันชนิดของเชื้อก่อโรค อาจทำให้การเริ่มต้นรักษายืดออกไป ก่อให้เกิดการแพร่กระจายการติดเชื้อนำไปสู่การตายได้ จุดมุ่งหมาย 1) เพื่อออกแบบไพรเมอร์ที่ใช้ตรวจหาชนิดของเชื้อราที่พบบ่อยในโรคนี้ 2) เพื่อหาความชุกของเชื้อราในเนื้อเยื่อตัวอย่างผู้ป่วยด้วยโรคนี้ วิธีการทดลอง ตัวอย่างในการทดลองเป็นเนื้อเยื่อที่ผ่านการแช่ฟอร์มาลีนและฝังในพาราฟีน จากนั้นนำมาตรวจยืนยันเชื้อราที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์อีกครั้ง แล้วจึงนำตัวอย่างมาตัดและทำการสกัดดีเอ็นเอเก็บไว้เพื่อทำพีซีอาร์ เริ่มจากการทำพีซีอาร์โดยใช้ไพรเมอร์ ZP3 (housekeeping) ตามด้วยไพรเมอร์ panfungal และไพรเมอร์ที่จำเพาะกับเชื้อราที่ออกแบบมาใหม่เรียกว่าไพรเมอร์ differentiated ผลการทดลอง จากจำนวนผู้ป่วย 81 ราย พบว่ามีเนื้อเยื่อตัวอย่างที่สามารถเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอจนตรวจสอบด้วยไพรเมอร์ differentiated และทำ PCR-sequencing ได้ผลอยู่ 20 ราย ใน 20 รายนี้ 9 ราย (45%) มีการติดเชื้อ Aspergillus sp. 4 ราย (20%) ติดเชื้อ Candida sp. 4 ราย (20%) ติดเชื้อ Cladosporium sp. 1 ราย (5%) ติดเชื้อ Mucor sp. 1 ราย (5%) ติดเชื้อ Alternaria sp. และ 1 ราย (5%) ติดเชื้อ Dendryphiella sp. โดยไม่พบว่ามีการติดเชื้อ Fusarium sp.ในการทดลองนี้ สรุปผลการทดลอง โดยสรุปแล้วไพรเมอร์ที่ออกแบบมาสามารถใช้หาชนิดของเชื้อราได้อย่างจำเพาะ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับแพทย์ในการรักษาโรคได้ทันเวลา นอกจากนี้สามารถให้ยาต้านเชื้อราต่อเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดจากการศึกษานี้ได้ในช่วงตอนต้นของการเกิดโรคโดยยังไม่ต้องทราบชนิดของเชื้อราหรือในระหว่างการรอผลทางห้องปฏิบัติการen_US
dc.description.abstractalternativeAbstract Background: Invasive fungal rhinosinusitis (IFR) is a fatal disease with high morbidity and mortality rates. Without prompt diagnosis and definite fungus confirmation, specific therapy can be delayed leading to more severe infection and death.Aims: 1) To design a pair of primers for detection of common fungi causing invasive fungal rhinosinusitis 2) to evaluate the prevalence of fungal organisms.Methods: Formalin-fixed paraffin-embedded samples from eighty-one patients who were pathologically diagnosed with IFR were enrolled in this study. After confirmation of histological appearance of every sample, each sample was deparaffinized and followed by DNA extraction. Thereafter, PCRs of ZP3 (housekeeping gene), panfungal PCR and specific PCR-Sequencing (Differentiated PCR) was performed sequencially.Results: Of 81 cases 20 cases were capable for differentiated PCR-sequencing. Among 20 cases, 9(45%) were infected with Aspergillus sp., 4(20%) with Candida sp., 4(20%) with Cladosporium sp., 1(5%) with Mucor sp., 1(5%) with Alternaria sp. and 1 case(5%) with Dendryphiella sp. There was no Fusarial infection found in this study.Conclusion: Our in-house primers can specify fungal species which benefit for physicians in management of IFR on time. Moreover empirical anti-fungal drugs directed to the common types of fungi as revealed by this study can be started early in the course of disease while waiting for laboratory result.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการศึกษาโรคติดเชื้อราชนิดลุกลามในโพรงจมูกและไซนัสโดยวิธีพีซีอาร์ซีเควนซิ่งจากชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาen_US
dc.title.alternativePCR-sequencing study of invasive fungal rhinosinusitis by histopathologic samplesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomboon.Ke@Chula.ac.th,trcskl@gmail.comen_US
dc.email.advisornakarinkit@gmail.comen_US
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574170030.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.