Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50092
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Effect of organizing learning activities by using the model method and cognitively guided instruction on mathematical problem solving ability of eighth grade students
Authors: ธีรพล พากเพียรกิจ
Advisors: จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jinnadit.L@Chula.ac.th,ljinnadit@hotmail.com,ljinnadit@hotmail.com
Subjects: กิจกรรมการเรียนการสอน
การเรียนรู้จากการรู้คิด
ความสามารถทางคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Activity programs in education
Cognitive learning
Mathematical ability
Mathematics -- Study and teaching (Secondary)
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิด ซึ่งประกอบด้วย 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิด ในช่วงก่อนเรียนและหลังเรียน โดยพิจารณาตามรายองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 2) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิด ในช่วงระหว่างเรียน 3 ระยะ โดยพิจารณาตามรายองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสถาพรวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 24 คน โดยนักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดเพื่อดูพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ชุด คือ ฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.60 และ 0.78 ตามลำดับ เครื่องมือในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (t – test for dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิด มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในช่วงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยพิจารณาตามรายองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทุกองค์ประกอบ ในช่วงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิด มีพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทุกองค์ประกอบดีขึ้นเป็นลำดับ โดยสามารถเรียงลำดับพัฒนาการจากมากไปหาน้อย ได้เป็น ด้านการแปลงข้อมูลของสถานการณ์ปัญหา ด้านการดำเนินการแก้สถานการณ์ปัญหา ด้านการตรวจสอบการแก้สถานการณ์ปัญหา และด้านการทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหา
Other Abstract: The purpose of this research was to study mathematical problem solving ability of the eighth grade students who were taught by using the model method and cognitively guided instruction which composed of 1) compare mathematical problem solving ability of students who were taught by using the model method and cognitively guided instruction between before and after being taught by considering mathematical problem solving ability of the students for each aspects, and 2) study mathematical problem solving ability development of students who were taught by using the model method and cognitively guided instruction during three periods. The target group was consisted of 24 eighth grade students of Sathapornwittaya School in the first semester of the 2015 academic year. They were taught by using the model method and cognitively guided instruction. The instruments for data collection were the test for study mathematical problem solving ability development, interview form and mathematical problem solving ability pre-test and post-test with the reliabilities of 0.6 and 0.78, respectively. The experimental materials, which constructed by the researcher, were lesson plans using the model method and cognitively guided instruction. The data were analyzed by using arithmetic means, standard deviation and t – test for dependent samples. The results of study revealed that : 1. The mathematical problem solving ability after being taught of the students who were taught by using the model method and cognitively guided instruction was better than before the instruction at the significant level of .05. When comparing the mathematical problem solving ability of the students in each aspects, we found that the students had better mathematical problem solving ability after the instruction in all aspects at the significant level of .05. 2. The mathematical problem solving ability of the students studying in the the model method and cognitively guided instruction gradually developed in all aspects, ranging from high to low as follows : problem formulation, problem solving, problem evaluation and problem understanding.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50092
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1112
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1112
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683343927.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.