Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50195
Title: | การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนบนฐานทุนทางสังคมเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชน |
Other Titles: | Development of a learning process using social capital-based community empowerment concept for creating community identity |
Authors: | กุลธิดา รัตนโกศล |
Advisors: | วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา ปาน กิมปี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wirathep.P@Chula.ac.th,wirathep.P@chula.ac.th peterparnk@hotmail.com |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต เอกลักษณ์ทางสังคม เอกลักษณ์ทางสังคม -- การศึกษาและการสอน การพัฒนาชุมชน การศึกษาชุมชน Group identity Group identity -- Study and teaching Community development Community education |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนบนฐานทุนทางสังคมเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์ทุนทางสังคมที่เป็นฐานการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน 2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนบนฐานทุนทางสังคมเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชน และ 3) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในชุมชนกรณีศึกษา คือ บ้านบ่อหิน หมู่ 14 ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ประกอบด้วย คณะทำงานสร้างอัตลักษณ์ชุมชน จำนวน 12 คน และประชาชนบ้านบ่อหินที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละกิจกรรม ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ทุนทางสังคมของชุมชนบ้านบ่อหินโดยภาพรวมมีระดับศักยภาพอยู่ในระดับสูง ( X = 2.62) โดยทุนทางสังคมทุกประเภทมีระดับศักยภาพในระดับสูง เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ทุนผูกพันทางสังคม และทุนพื้นฐาน ทุนทางการเงิน ทุนมนุษย์ ทุนธรรมชาติ และทุนทางวัฒนธรรม ตามลำดับ การนำทุนทางสังคมมาใช้เป็นฐานในการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน พบว่า นำมาใช้ทุกทุน ยกเว้นทุนทางการเงิน โดยทุนมนุษย์ และทุนผูกพันทางสังคมเป็นทุนทางสังคมสำคัญในการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน 2. กระบวนการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนบนฐานทุนทางสังคมเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชน ประกอบด้วย 11 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเห็นปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชน 2) การสร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักในอัตลักษณ์ชุมชน 3) การกำหนดแผนการสร้างอัตลักษณ์ชุมชน 4) การศึกษาชุมชน 5) การวิเคราะห์ทุนทางสังคม 6) การกำหนดอัตลักษณ์ชุมชน 7) การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในอัตลักษณ์ชุมชน 8) การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาชุมชนจากอัตลักษณ์ชุมชน 9) การถอดบทเรียน และประเมินผลการสร้างอัตลักษณ์ชุมชน 10) การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่อัตลักษณ์ชุมชนต่อสาธารณะ และ 11) ปฏิบัติการพัฒนาชุมชนโดยใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ชุมชน 3. ปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ 1) ปัจจัยภายในชุมชน ประกอบด้วย 9 ปัจจัย ได้แก่ 1.1) ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ 1.2) สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน 1.3) สมาชิกชุมชนมีความเชื่อมั่นในตัวผู้วิจัย ผู้นำชุมชนและแกนนำ 1.4) ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาทเป็นทั้งแกนนำและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 1.5) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 1.6) การสร้างข้อผูกพันร่วมกันในการเรียนรู้ 1.7) การนำกลยุทธ์ท้องถิ่นนิยมมาใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ 1.8) การสร้างทีมการทำงาน และ 1.9) ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 2) ปัจจัยภายนอกชุมชน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 2.1) ความคาดหวังของผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นที่มีต่อชุมชน 2.2) การเห็นกรณีตัวอย่างชุมชนอื่นที่ประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชน 2.3) การประสานงาน และการบูรณาการกิจกรรมร่วมกันของภาคีเครือข่าย และ 2.4) การเรียนรู้จากบุคคลภายนอกชุมชน 3) เงื่อนไข ประกอบด้วย 3 เงื่อนไข ได้แก่ 3.1) เงื่อนไขพื้นฐานของชุมชน 3.2) เงื่อนไขด้านเวลาในการเรียนรู้ และเวลาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3.3) เงื่อนไขการจัดการ |
Other Abstract: | This study aimed to 1) analyze and synthesize the social capital as a base in community empowerment process; 2) develop a learning process using social capital- based community empowerment concept to create community identity; and 3) analyze the factors and conditions of the learning process. The study employed participatory action research (PAR). PAR was carried out in Ban Bo Hin Community, Rayong which was selected by purposive sampling. The target of study were Ban Bo Hin Community Identity Creating Working Group total 12 persons and people who participate in learning activities. The research findings revealed as follow: 1. Social capital of Ban Bo Hin community had overall potential at high level ( X = 2.62) and all categories of social capital had potential at high level, including bonding social capital, basic capital, financial capital, human capital, natural capital and cultural capital, respectively. All categories of social capital were used as a foundation for community empowerment except financial capital. Human capital and bonding social capital were reported as significant social capital in empowerment process. 2. Learning process using social capital- based community empowerment concept for creating community identity includes 11 steps: 1) visualizing problems and needs for community development, 2) building the understanding and creating the awareness of community identity, 3) planning the realization of creating the community identity, 4) community study, 5) analyzing community capital, 6) determining the community identity, 7) communicating for strengthen the understanding of community identity, 8) determining targets of developing the community based on community identity, 9) lesson learned visualizing and evaluating the creation of community identity, 10) publicizing the community identity, and 11) organizing the activities and projects based on community identity to develop community. 3. The factors and conditions leading to the success of the learning process included 1) nine significant internal factors: community leaders,community members, local intellectuals and village authorities, community members trust, positive environment and learning climate, commitments, exploitation of localism, efficient teamwork, and efficient communication network; 2) four significant external factors: expectancy of sub-district administrative organization, leraning from other community which faced the problem on changing way of life, learning network outside the community, and learning with special outside facilitator; and 3) three significant conditions: community foundation, duration and learning management. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50195 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1232 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1232 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484485327.pdf | 16.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.