Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50322
Title: การพัฒนาเครื่องมือบน Quantum GIS สำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลวิดีโอกับเส้นทางการบินของ UAV
Other Titles: A development of Quantum GIS tool for linking video data with trajectory of UAV
Authors: สุชาวดี ศิลปรัตน์
Advisors: สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sanphet.C@Chula.ac.th,sanphet.c@chula.ac.th
Subjects: การบันทึกวีดิทัศน์
การสำรวจด้วยภาพถ่าย
พิกัดภูมิศาสตร์
Video recording
Photogrammetry
Geographical positions
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบบันทึกภาพวิดีโอร่วมกับยานพาหนะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น กล้องติดอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก กล้องติดรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งกล้องวิดีโอส่วนใหญ่มีการติดตั้ง GPS ร่วมอยู่ด้วย ทำให้ข้อมูลวิดีโอถูกเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูล GPS หากสามารถกำหนดตำแหน่งให้กับวิดีโอจะสามารถนำมาซึ่งข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ นับว่าเป็นประโยชน์มากในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่และการปรับปรุงข้อมูล GIS ให้เป็นปัจจุบัน งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องมือสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลวิดีโอกับข้อมูลเส้นทางการบินจาก Logging data ซึ่งปรับแต่งและพัฒนาจากปลั๊กอินที่มีอยู่เดิมคือ Video UAV Tracker ที่เป็นปลั๊กอินซึ่งใช้การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเวลาของวิดีโอกับค่าเวลาจาก Logging data ในกระบวนการเชื่อมโยงเฟรมภาพวิดีโอกับตำแหน่งการบันทึกภาพ แต่หาก Logging data ไม่ได้บันทึกข้อมูลค่าเวลาก็จะไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลวิดีโอกับเส้นทางการบินได้โดยตรง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสร้างสมมติฐานให้ทุก Logging data สามารถเชื่อมโยงเข้ากับวิดีโอได้ โดยใช้ค่าออฟเซตเวลาสำหรับการเชื่อมโยงเฟรมภาพวิดีโอกับตำแหน่งเส้นทางการบันทึกภาพซึ่งสามารถคำนวณได้จากค่าเวลา (Timestamp) การประมาณค่าจากค่าระยะทาง (Distance Interpolation) และการประมาณค่าจากค่าเวลา (Time interpolation) ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการเชื่อมโยงข้อมูลตำแหน่งกับเฟรมภาพวิดีโอด้วยการประมาณค่าระยะทางมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากมีข้อจำกัดของยานพาหนะที่ไม่ได้เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการประมาณค่าจากค่าเวลาซึ่งคำนวณได้จากเวลาทั้งหมดของการบันทึกข้อมูลและจำนวนข้อมูลของ Logging data โดยมีสมมติฐานว่า Logging data จะบันทึกข้อมูลในช่วงเวลาที่เท่ากันเสมอ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมาณค่าจากเวลาเพื่อจากคำนวณค่าออฟเซตเวลามีความถูกต้อง โดยเฟรมภาพวิดีโอและตำแหน่งเส้นทางการบันทึกภาพมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันเช่นเดียวกับการใช้ค่าเวลา นอกจากโปรแกรมจะสามารถแสดงผลการเชื่อมโยงข้อมูลวิดีโอกับข้อมูลเส้นทางการบินแล้วนั้นยังสามารถสร้างหรือปรับปรุงชั้นข้อมูลโดยการกำหนดตำแหน่งที่สนใจพร้อมกับดึงเฟรมภาพวิดีโอในตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการกำหนดตำแหน่งสามารถนำมาจัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล GIS เพื่อสามารถนำข้อมูลมาใช้อ้างอิงหรือตรวจสอบพื้นที่ในรูปแบบของ GIS ได้ในภายหลัง
Other Abstract: In recent years, vehicle camcorder video system is widely used to capture events for various purpose e.g. drone camera and car camera. Most of them are integrated with GPS data and enabled the linkage between video and GPS. If video can be captured with its location and can be visualized with its tracking on GIS, this will be very useful for spatial analysis and updating GIS data. The objective of this research is to apply Quantum GIS to display the linkage of video and its position in GIS using logging data. This development adapted and extended the plugin “Video UAV Tracker”, which uses timestamp in linkage process. However, sometimes logging data does not record timestamp data. Therefore, it is not able to link video with tracking data straightforwardly. This research is based on the assumption that every logging data can be used to link with video. Time offset is used to link the video frame and location. It can be calculated from timestamp, distance interpolation or time interpolation. Distance interpolation have some limitation due to the vehicle does not move continuously. Time interpolation can be derived from total time of recording data and number of logging data on the assumption of logging data is captured in the same time interval. Time interpolation for calculating time offset give a good result as same as using timestamp. A tool to capture the location and image from video along the path is also developed and tested. The output of captured location and image is able to be exported into various GIS format including CSV, Shape file, SQLite and KML.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50322
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1420
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1420
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670431221.pdf7.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.